คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 4)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ยาฉีดคุมกำเนิด จะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน โดยในน้ำนมจะพบปริมาณของฮอร์โมนนี้ 0.5-13 ไมโครกรัม1 ผลในด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มที่ฉีดยาคุมกำเนิดใน 48 ชั่วโมงหลังคลอดเทียบกับการใช้ยาหลอกไม่มีความแตกต่างกันในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และในกลุ่มที่ฉีดยาคุมกำเนิดใน 6 สัปดาห์หลังคลอดไม่พบความแตกต่างระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และน้ำหนักทารกที่ 26 สัปดาห์หลังคลอดเมื่อเทียบกับวิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน2 สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาฉีดคุมกำเนิดในระยะแรกหลังคลอดก่อนให้มารดากลับบ้านกับการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังไม่ชัดเจน3,4

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Schwallie PC. The effect of depot-medroxyprogesterone acetate on the fetus and nursing infant: a review. Contraception 1981;23:375-86.

2.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

3.???????????? Brownell EA, Fernandez ID, Howard CR, et al. A systematic review of early postpartum medroxyprogesterone receipt and early breastfeeding cessation: evaluating the methodological rigor of the evidence. Breastfeed Med 2012;7:10-8.

4.???????????? Brownell EA, Fernandez ID, Fisher SG, et al. The effect of immediate postpartum depot medroxyprogesterone on early breastfeeding cessation. Contraception 2012.

 

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 3)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ยาแผ่นปิดผิวหนังคุมกำเนิด มีการศึกษาการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนแบบแผ่นปิดผิวหนังจะช่วยคุมกำเนิดขณะมารดาให้นมแม่ได้1 โดยระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดของมารดาต่ำเมื่อใช้ขณะ 6 สัปดาห์หลังคลอด

ยาคุมกำเนิดชนิดโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว (progestin-only pill) มีการศึกษาการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ใน 14 ชั่วโมงหลังคลอดเทียบกับการให้ยาหลอกไม่พบความแตกต่างในการเริ่มให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และน้ำหนักทารกที่ขึ้นในช่วงสองสัปดาห์ และหากให้ใน 6 สัปดาห์หลังคลอด ไม่พบความแตกต่างในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อเทียบกับวิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน สำหรับน้ำหนักทารกไม่พบความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ใช้ยานี้กับยาหลอกในช่วง 2 สัปดาห์หลังคลอด2

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Perheentupa A, Critchley HO, Illingworth PJ, McNeilly AS. Enhanced sensitivity to steroid-negative feedback during breast-feeding: low-dose estradiol (transdermal estradiol supplementation) suppresses gonadotropins and ovarian activity assessed by inhibin B. J Clin Endocrinol Metab 2000;85:4280-6.

2.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

 

?

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 2)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ข้อมูลของผลของการคุมกำเนิดในแต่ละวิธีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีดังนี้

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (combined contraceptive pill) จะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน โดยในน้ำนมจะพบปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนร้อยละ 0.03-0.1ของขนาดที่ยารับประทาน1 พบปริมาณของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ร้อยละ 0.1ของขนาดที่ยารับประทาน2 มีการศึกษาที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเริ่มที่ 24 ชั่วโมงหลังคลอดพบว่าต้องให้น้ำนมเสริมหลังคลอดในวันที่แปดสูงกว่าในกลุ่มที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอก ในการศึกษาที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมขณะ 6 สัปดาห์หลังคลอด ไม่พบความแตกต่างในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น้ำหนักทารก และผลเสียต่อสุขภาพทารก3 แต่ยังมีการศึกษาถึงระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับวิธีการคุมกำเนิดพบว่า การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมสัมพันธ์กับมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมผสมสูงถึง 14.5 เท่าในช่วงสามเดือนแรกหลังคลอด และ 11.7 เท่าในช่วงตั้งแต่สามเดือนถึงหกเดือน4 ดังนั้นไม่ควรให้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมในระยะแรกหลังคลอดเพราะอาจส่งผลต่อการลดปริมาณน้ำนมได้ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Hull VJ. The effects of hormonal contraceptives on lactation: current findings, methodological considerations, and future priorities. Stud Fam Plann 1981;12:134-55.

2.???????????? Johansson E, Odlind V. The passage of exogenous hormones into breast milk–possible effects. Int J Gynaecol Obstet 1987;25 Suppl:111-4.

3.???????????? Kapp N, Curtis KM. Combined oral contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:10-6.

4.???????????? van Wouwe JP, Lanting CI, van Dommelen P, Treffers PE, van Buuren S. Breastfeeding duration related to practised contraception in the Netherlands. Acta Paediatr 2009;98:86-90.

 

?

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 1)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อมารดาคลอดบุตร กระบวนการกระตุ้นการเลี้ยงลูกด้วยนมต้องเริ่มให้การสนับสนุน โดยเริ่มตั้งแต่การให้ลูกได้กระตุ้นดูดนมภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ให้ผิวสัมผัสของทารกสัมผัสหน้าอกมารดาในระยะแรกคลอด จากนั้นให้การกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้ลูกกระตุ้นดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมงจนกระทั่งมารดาสามารถเข้าเต้าและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเอง ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้รับการยอมรับและมีการสนับสนุนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังสามารถให้ต่อเนื่องได้นานตามความต้องการของมารดาและทารก ในช่วงระยะหลังคลอดนี้มารดาที่ไม่พร้อมในการมีบุตรคนต่อไปหรือต้องการไว้ระยะของการมีบุตรไว้ให้มีบุตรในช่วงเวลาที่เหมาะสมมักได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับการคุมกำเนิด

การเตรียมตัวสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด

breastfeeding3

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกระบวนการหลังคลอด จะเริ่มตั้งแต่การให้ผิวสัมผัสของทารกสัมผัสหน้าอกมารดาในระยะแรกคลอด ในกระบวนการนี้มีผลต่อการปรับตัวทางสรีรวิทยาของทารกแรกเกิด เพิ่มความสำเร็จในการดูดนมแม่ครั้งแรกและมีโอกาสที่ทารกจะได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานถึงอายุ 1-4 เดือนสูงกว่า1 มีการศึกษาในทารกที่คลอดก่อนกำหนดพบว่าการให้ผิวทารกสัมผัสกับมารดาในระยะแรกคลอดทำให้การดูดนมของทารกที่คลอดก่อนกำหนดดีขึ้น2

การดูดนมแม่ครั้งแรกมีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำนมในวันแรกมากขึ้น การถ่ายขี้เทาของทารกดีขึ้นและระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานขึ้น2 แต่หากเริ่มให้นมลูกช้ากว่า 6 ชั่วโมงแรกหลังคลอดมีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยมีโอกาสหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้น3

หลังการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาต้องพยายามนำทารกเข้าเต้าด้วยตนเองให้ได้ โดยในช่วงแรกอาจทำโดยความช่วยเหลือของบุคลากรทางการแพทย์ ในกระบวนการเข้าเต้าเริ่มตั้งแต่ สังเกตลักษณะความพร้อมของทารกในการดูดนม ได้แก่ การจ้องมอง การตื่นตัว การตอบสนองต่อการกระตุ้น การดูด การนำมือหรือนิ้วเข้าปาก ลักษณะการส่งเสียงและการร้อง การตอบสนองต่อการกระตุ้นจากเต้านมของทารกโดยการอ้าปากกว้าง ลิ้นอยู่ในลักษณะรูปถ้วย และวางอยู่บริเวณเหงือกด้านล่าง ทารกจะอมหัวนมและส่วนของลานนมยาว 2 เซนติเมตรเข้าไปในปาก จากนั้นดูด ซึ่งจะดูดและหยุดสลับเป็นจังหวะต่อเนื่องกัน ได้ยินเสียงการกลืน สังเกตเห็นนมในปากทารก ทารกอาจจะปลิ้นน้ำนมออกมาขณะเรอ มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะการดูดจาก 2 ครั้งต่อวินาทีเป็น 1 ครั้งต่อวินาที เมื่อทารกกินนมอิ่มแล้วจะปล่อยเต้านมออกมาเอง ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น หน้า แขนและมือผ่อนคลาย โดยอาจจะหลับ การจัดท่าทารกและแนวการวางตัวของทารกขณะเข้าเต้า ศีรษะทารกและลำตัวอยู่ระดับเต้านม และอยู่แนวเดียวกับลำตัว ไม่หันไปทางด้านข้าง ก้มหรือเงยจนเกินไป แนวการวางตัวของทารกที่ถูกต้องจะอยู่ในแนวของเส้นสมมุติจากหู ไปไหล่และขอบกระดูกอุ้งเชิงกราน (iliac crest) เมื่อเข้าเต้าได้เหมาะสม ควรดำเนินการให้นมตามปริมาณหรือความถี่ในแต่ละวัน4-9 ดังนี้

ปริมาณน้ำนมในวันแรกหลังคลอดบุตร ปกติเท่ากับ 3-17 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นปริมาณน้ำนมในการป้อนนมแต่ละครั้งสำหรับทารกหนัก 3 กิโลกรัมเท่ากับ 2-10 มิลลิลิตร โดยจำนวนครั้งต่อวันคือ 4-5 ครั้งต่อวัน สังเกตการขับถ่ายพบว่าปัสสาวะ 1 ครั้ง อุจจาระ 1 ครั้ง ในวันแรกหลังคลอดหลัง 1-2 ชั่วโมงแรกส่วนใหญ่ทารกจะหลับนาน10 น้ำนมแม่ยังมาน้อย จำนวนครั้งของการกินนมยังห่าง

ปริมาณน้ำนมในวันที่สองหลังคลอดบุตร ปกติเท่ากับ 10-50 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นปริมาณน้ำนมในการป้อนนมแต่ละครั้งสำหรับทารกหนัก 3 กิโลกรัมเท่ากับ 5-15 มิลลิลิตร โดยจำนวนครั้งต่อวันคือ 6-10 ครั้งต่อวัน สังเกตการขับถ่ายพบว่าปัสสาวะ 2 ครั้ง อุจจาระ 2 ครั้ง ในช่วงแรกหลังคลอดทารกจะมีน้ำหนักลดลงหากน้ำหนักลดน้อยกว่าร้อยละ 7 โดยไม่มีปัญหาเรื่องการกินนมแม่แล้วไม่จำเป็นต้องเสริมนมผสมหรืออาหารอื่น11

ปริมาณน้ำนมในวันที่สามหลังคลอดบุตร ปกติเท่ากับ 40-120 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นปริมาณน้ำนมในการป้อนนมแต่ละครั้งสำหรับทารกหนัก 3 กิโลกรัมเท่ากับ 15-30 มิลลิลิตร โดยจำนวนครั้งต่อวันคือ 8-12 ครั้งต่อวัน สังเกตการขับถ่ายพบว่าปัสสาวะ 3 ครั้ง อุจจาระ 3 ครั้ง

ปริมาณน้ำนมในวันที่สี่ถึงวันที่เจ็ดหลังคลอดบุตร ปกติเท่ากับ 80-170 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นปริมาณน้ำนมในการป้อนนมแต่ละครั้งสำหรับทารกหนัก 3 กิโลกรัมเท่ากับ 30-65 มิลลิลิตร โดยจำนวนครั้งต่อวันคือ 8-12 ครั้งต่อวัน สังเกตการขับถ่ายพบว่าปัสสาวะ 4-8 ครั้ง อุจจาระ 4-8 ครั้ง ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงของน้ำนมจากหัวน้ำนม (colostrum) จะเปลี่ยนเป็นน้ำนมปกติภายในวันที่ห้าหลังคลอดและมีปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น

การพักนอนโรงพยาบาลหลังคลอด ปัจจุบันมารดาจะพักอยู่ในโรงพยาบาลหลังคลอดประมาณ 2 วัน โดยหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ ฉะนั้นในระหว่างที่อยู่ในโรงพยาบาล มารดาควรได้รับการดูแลให้เข้าเต้าได้อย่างถูกต้องและควรทำได้ด้วยตนเอง เพื่อจะสามารถดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขณะกลับไปอยู่ที่บ้านได้ การติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แนะนำให้ติดตามในช่วง 5-7 วันหลังคลอดเพื่อสอบถามถึงปัญหา12 ให้การสนับสนุนและกำลังใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการติดตามอาจใช้โทรศัพท์ การนัดติดตามที่คลินิกนมแม่หรือการเยี่ยมบ้าน ซึ่งจะช่วยเพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่13,14

 

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Moore ER, Anderson GC, Bergman N, Dowswell T. Early skin-to-skin contact for mothers and their healthy newborn infants. Cochrane Database Syst Rev 2012;5:CD003519.

2.??????????? Raimbault C, Saliba E, Porter RH. The effect of the odour of mother’s milk on breastfeeding behaviour of premature neonates. Acta Paediatr 2007;96:368-71.

3.??????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

4.??????????? Saint L, Smith M, Hartmann PE. The yield and nutrient content of colostrum and milk of women from giving birth to 1 month post-partum. Br J Nutr 1984;52:87-95.

5.??????????? Casey CE, Neifert MR, Seacat JM, Neville MC. Nutrient intake by breast-fed infants during the first five days after birth. Am J Dis Child 1986;140:933-6.

6.??????????? Yamauchi Y, Yamanouchi I. Breast-feeding frequency during the first 24 hours after birth in full-term neonates. Pediatrics 1990;86:171-5.

7.??????????? Dollberg S, Lahav S, Mimouni FB. A comparison of intakes of breast-fed and bottle-fed infants during the first two days of life. J Am Coll Nutr 2001;20:209-11.

8.??????????? Tunc VT, Camurdan AD, Ilhan MN, Sahin F, Beyazova U. Factors associated with defecation patterns in 0-24-month-old children. Eur J Pediatr 2008;167:1357-62.

9.??????????? McNeilly AS, Robinson IC, Houston MJ, Howie PW. Release of oxytocin and prolactin in response to suckling. Br Med J (Clin Res Ed) 1983;286:257-9.

10.????????? Stern E, Parmelee AH, Akiyama Y, Schultz MA, Wenner WH. Sleep cycle characteristics in infants. Pediatrics 1969;43:65-70.

11.????????? Miracle DJ, Szucs KA, Torke AM, Helft PR. Contemporary ethical issues in human milk-banking in the United States. Pediatrics 2011;128:1186-91.

12.????????? Hospital stay for healthy term newborns. Pediatrics 2010;125:405-9.

13.????????? Tahir NM, Al-Sadat N. Does telephone lactation counselling improve breastfeeding practices?: A randomised controlled trial. Int J Nurs Stud 2013;50:16-25.

14.????????? Feldens CA, Ardenghi TM, Cruz LN, Cunha Scalco GP, Vitolo MR. Advising mothers about breastfeeding and weaning reduced pacifier use in the first year of life: a randomized trial. Community Dent Oral Epidemiol 2012.