คลังเก็บป้ายกำกับ: ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 3)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ยาแผ่นปิดผิวหนังคุมกำเนิด มีการศึกษาการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนแบบแผ่นปิดผิวหนังจะช่วยคุมกำเนิดขณะมารดาให้นมแม่ได้1 โดยระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดของมารดาต่ำเมื่อใช้ขณะ 6 สัปดาห์หลังคลอด

ยาคุมกำเนิดชนิดโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว (progestin-only pill) มีการศึกษาการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ใน 14 ชั่วโมงหลังคลอดเทียบกับการให้ยาหลอกไม่พบความแตกต่างในการเริ่มให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และน้ำหนักทารกที่ขึ้นในช่วงสองสัปดาห์ และหากให้ใน 6 สัปดาห์หลังคลอด ไม่พบความแตกต่างในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อเทียบกับวิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน สำหรับน้ำหนักทารกไม่พบความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ใช้ยานี้กับยาหลอกในช่วง 2 สัปดาห์หลังคลอด2

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Perheentupa A, Critchley HO, Illingworth PJ, McNeilly AS. Enhanced sensitivity to steroid-negative feedback during breast-feeding: low-dose estradiol (transdermal estradiol supplementation) suppresses gonadotropins and ovarian activity assessed by inhibin B. J Clin Endocrinol Metab 2000;85:4280-6.

2.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

 

?

ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน

ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน

? ? ? ? ? ??ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน ?วิธีนี้นอกจากจะคุมกำเนิดยังช่วยในสตรีที่มีประจำเดือนมาไม่เสมอให้มีประจำเดือนมาตรง ลดปริมาณเลือดประจำเดือนและอาการปวดประจำเดือนได้ด้วย แต่จะเหมาะสมหรับผู้มีวินัยในการรับประทานยาคุมกำเนิด เพราะต้องรับประทานยาทุกวัน หากผู้ใช้เลือกเวลาที่สะดวกและทำเป็นประจำ ก็จะลดปัญหาด้านการลืมรับประทานยาได้ วิธีการรับประทานยาคุมกำเนิด ปัจจุบันที่นิยมใช้จะมี? 2? ชนิด? ชนิดแรกเป็นแผงมี? 21? เม็ด? ชนิดที่สองมี? 28? เม็ด? โดยการเริ่มรับประทานจะเริ่มยาภายใน? 5? วันนับจากวันแรกของการเริ่มต้นมีประจำเดือนในรอบปกติ? จากนั้นรับประทานวันละ? 1? เม็ดทุกวัน? ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้? (เพื่อป้องกันการลืมรับประทานยาและทำให้ยามีระดับในกระแสเลือดสม่ำเสมอ)? สำหรับยาคุมกำเนิดชนิด? 21? เม็ด? หลังจากรับประทานยาจนหมดแผงแล้วเว้นช่วง? 7? วัน? จึงเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดต่อได้เลยโดยไม่ต้องรอประจำเดือน? (โดยปกติประจำเดือนจะมาในช่วงที่เว้นจากการรับประทานยาคุมกำเนิด? 3-4? วันอยู่แล้ว)? สำหรับยาคุมกำเนิดชนิด? 28? เม็ด? จะมียาบำรุงเสริมเข้ามาในช่วง? 7? เม็ด? หลัง ลักษณะสีของยาโดยมากมักจะทำสีแตกต่างกัน? การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดนี้หลังจากหมดแผงก็รับประทานยาแผงใหม่ต่อได้เลย? (โดยปกติประจำเดือนจะมาในช่วงที่รับประทานยาบำรุงในช่วง? 7? เม็ดสุดท้าย)? หากมีการลืมรับประทานยาคุมกำเนิด? 1? เม็ด? เมื่อนึกขึ้นได้ให้รับประทานยาทันที? และรับประทานยาคุมกำเนิดเม็ดต่อไปตามเวลาเดิม? หากมีการลืมรับประทานยาคุมกำเนิด? 2? เม็ด? เมื่อนึกขึ้นได้ให้รับประทานทันที? 1? เม็ด? และรับประทานยาคุมกำเนิด? 2? เม็ดในวันรุ่งขึ้น? โดยแบ่งรับประทานในช่วงเช้า ?1? เม็ด? และก่อนนอน? 1? เม็ดหากลืมรับประทานยามากกว่า? 2? เม็ด? ควรหยุดยาคุมกำเนิดแผงนั้นแล้วใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่น? เช่น? ถุงยางอนามัย? รอจนกว่าประจำเดือนจะมาจึงเริ่มยาคุมกำเนิดแผงใหม่? อย่างไรก็ตามควรจัดเวลาของการรับประทานยาคุมให้เป็นเวลา? เพราะการลืมและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาจะลดประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลงได้ สำหรับการเลือกใช้ยาคุมกำเนิดแต่ละยี่ห้อนั้นมีให้เลือกมากมาย ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักเป็นชนิดฮอร์โมนต่ำเกือบทั้งหมดซึ่งมีอาการข้างเคียงน้อย ได้แก่ การคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ซึ่งมักจะเป็นอยู่ในหนึ่งถึงสองเดือนแรกเท่านั้น จากนั้นจะหายไป นอกเหนือจากนี้ ในสตรีที่ให้นมบุตรยังสามารถเลือกรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดเฉพาะที่ให้นมบุตรได้

สำหรับยาคุมกำเนิดที่ใช้หลังมีเพศสัมพันธ์? ?ปกติไม่แนะนำให้ใช้เป็นประจำสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิด จะมีที่ใช้เฉพาะมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน?? เช่น? มีการร่วมเพศโดยไม่มีการเตรียมป้องกันมาก่อน? ถุงยางอนามัยฉีกขาดระหว่างร่วมเพศ? หรือกรณีถูกข่มขืน? การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดนี้? จำเป็นจะต้องสั่งรับประทานยาให้เร็วที่สุดหลังจากเกิดการร่วมเพศ? และควรจะไว้รับคำปรึกษาจากแพทย์สูตินรีเวช? เนื่องจากอาจพบภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานยาชนิดนี้ได้? เช่น? เลือดออกกะปริบกะปรอยและประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ? อีกประการหนึ่งประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดโดยใช้ยาคุมกำเนิดหลังมีเพศสัมพันธ์นั้น? น้อยกว่าการรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดปกติ? การเลือกใช้จึงควรระมัดระวังและอยู่ในการดูแลของแพทย์

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์