คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

10 ทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นอกจากจะต้องมีการรณรงค์ให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวแล้ว การที่ทราบเกี่ยวกับทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีอยู่จำกัดสามารถจะเลือกเข้าช่วยเหลือในกลุ่มเสี่ยงโดยหากเข้าช่วยเหลือแต่แรกเริ่ม ผลการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะดี ทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 มี 10 ข้อ ดังนี้

  1. ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ที่อายุครรภ์ 34 ถึง 36 สัปดาห์จะมีช่วงที่ตื่นหรือรู้ตัวน้อยกว่า การพัฒนาทักษะของการควบคุมกล้ามเนื้อในช่องปากยังไม่สมบูรณ์ ความแรงในการดูดนมน้อย การเข้าเต้ายากและจังหวะการดูดกลืนยังไม่สมบูรณ์
  2. ทารกที่น้ำหนักน้อยกว่า 2727 กรัมหรือ 6 ปอนด์
  3. ทารกแฝด
  4. ทารกที่มีลิ้นติด คางเล็กหรือปากแหว่งเพดานโหว่
  5. ทารกตัวเหลือง
  6. ทารกที่มีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ โรคหัวใจ ติดเชื้อ หรือจำเป็นต้องได้รับออกซิเจน
  7. ทารกที่มีความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น ทารกกลุ่มอาการดาวน์ หรือทารกที่มีความบกพร่องในการดูดนม
  8. ทารกที่เข้าเต้ายาก
  9. ทารกที่มีน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 7 หรือทารกที่ยังมีน้ำหนักลดอย่างต่อเนื่องหลังจากน้ำนมแม่มาแล้ว
  10. ทารกที่มีมารดามีการสร้างน้ำนมช้า เช่น มารดาตกเลือดหลังคลอด หรือมารดาที่เป็นเบาหวาน

การแก้ไขในกลุ่มทารกเหล่านี้ ใช้หลักการใหญ่ๆ คือ พยายามให้ลูกได้กินนมแม่ใช้วิธีให้ดูดนมจากเต้าข้างละ 5-10 นาที เสริมด้วยนมแม่ที่ได้จากการบีบหรือปั๊มนมตามความต้องการ จากนั้นปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า ปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ไปจนกระทั่งทารกสามารถดูดนมจากเต้าเองได้ดี โดยประเมินจากน้ำหนักทารกที่เพิ่มจากการชั่งน้ำหนักก่อนและหลังการกินนม ซึ่งหากขึ้นได้ดีแล้ว นั่นแสดงว่ามีความสำเร็จในระยะแรกแล้ว

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.

 

 

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 8)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????????? ถุงยางอนามัย ไม่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และใช้ข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน

การใช้ยาฆ่าอสุจิ สามารถใช้คุมกำเนิดได้ในช่วงหกสัปดาห์หลังคลอด แต่มีอัตราความล้มเหลวสูง1 และยังขาดข้อมูลความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การทำหมันหญิงหลังคลอด ในระยะแรกจะมีอาการปวดแผลจากการทำหมัน แต่ไม่รุนแรง อาจทำให้มีผลต่อการเริ่มดูดนมของทารก1 ยังไม่มีข้อมูลถึงผลนี้ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ชัดเจน ในระยะยาวไม่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Contraception during breastfeeding. Contracept Rep 1993;4:7-11.

 

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 7)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? อย่างไรก็ตาม การใช้ยาคุมชนิดที่ใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน โดยให้เริ่มเร็วในระยะหลังคลอดก่อนผู้คลอดจะกลับบ้าน อาจมีผลต่อการหยุดกระบวนการการสร้างน้ำนม โดยในภาวะปกติหลังคลอดการลดลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะกระตุ้นการเริ่มกระบวนการการสร้างน้ำนม1 ดังนั้นควรพิจารณาด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉีดยาคุมกำเนิดระดับฮอร์โมนในน้ำนมจะสูงกว่าการให้ในรูปแบบอื่นๆ และมีการอัตราการใช้สูง2

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

2.???????????? Chaovisitsaree S, Noi-um S, Kietpeerakool C. Review of postpartum contraceptive practices at Chiang Mai University Hospital: implications for improving quality of service. Med Princ Pract 2012;21:145-9.

 

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 6)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? ห่วงอนามัย เมื่อเริ่มการใส่ห่วงอนามัยในระยะ 6-8 สัปดาห์หลังคลอด ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกลุ่มที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดทองแดง สำหรับส่วนสูงและน้ำหนักของทารกที่ขึ้นคล้ายคลึงกันในทั้งสองกลุ่ม1 มารดากลุ่มที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนใน 10 นาทีแรกหลังคลอดมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้นกว่าและมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวน้อยกว่ามารดากลุ่มที่ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนในช่วง 6-8 สัปดาห์หลังคลอด

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

 

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 5)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ยาฝังคุมกำเนิด จะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน โดยในน้ำนมจะพบปริมาณของฮอร์โมนนี้ 50-110 นาโนกรัม1 เมื่อมารดามีการใช้ยาฝังในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอดพบว่า ไม่พบความแตกต่างในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อเทียบกับวิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน2 สำหรับน้ำหนักของทารก พบว่าทารกในช่วง 12 สัปดาห์ของกลุ่มมารดาที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิดมีแนวโน้มจะมีน้ำหนักขึ้นมากกว่ากลุ่มมารดาใช้ยาฉีดคุมกำเนิด3 และมีน้ำหนักมากกว่าในกลุ่มที่ใช้ห่วงอนามัยชนิดทองแดงใน 6 เดือนหลังคลอด2

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Schwallie PC. The effect of depot-medroxyprogesterone acetate on the fetus and nursing infant: a review. Contraception 1981;23:375-86.

2.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

3.???????????? Brito MB, Ferriani RA, Quintana SM, Yazlle ME, Silva de Sa MF, Vieira CS. Safety of the etonogestrel-releasing implant during the immediate postpartum period: a pilot study. Contraception 2009;80:519-26.

 

?