คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

อาหารเสริมระหว่างการตั้งครรภ์ (ตอนที่ 4)

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? โอเมก้า-3 การเสริมโอเมก้า-3 จำเป็นในสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาเนื่องจากมีโอเมก้า-3 น้อยในอาหารที่รับประทาน ซึ่งสารอาหารนี้จำเป็นในการพัฒนาการของสมองส่วนกลางและพัฒนาระบบประสาทของทารก2 มีข้อมูลว่าสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับโอเมก้า-3 จะยืดอายุครรภ์ของสตรีที่มีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดได้ ลดภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ (preeclampsia) และความผิดปกติของสมอง (cerebral palsy) ของทารก3 การเสริมโอเมก้า-3 นั้นในน้ำมันปลาชนิดแคปซูล (fish oil capsule) ที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไปจะมีโอเมก้า-3 สตรีตั้งครรภ์สามารถจะซื้อมารับประทานได้ ในประเทศไทยไม่มีข้อมูลถึงสภาวะของโอเมก้า-3 ในสตรีตั้งครรภ์และปริมาณโอเมก้า-3 ในสารอาหารที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ประโยชน์จะได้ต่อเมื่อสตรีตั้งครรภ์มีโอกาสขาดสารอาหารนี้ ดังนั้นการแนะนำขั้นต้นควรแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์รับประทานอาหารให้มีความหลากหลายและให้ความสำคัญกับอาหารที่มีโอเมก้า-3 สูง การรับประทานน้ำมันปลาแคปซูลคงจะต้องพิจาณาถึงประโยชน์ที่อาจจะได้เมื่อเทียบกับราคาด้วย

อาหารเสริมระหว่างการตั้งครรภ์ (ตอนที่ 3)

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? แคลเซียม คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าสตรีตั้งครรภ์ต้องการแคลเซียมสูงขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงความต้องการแคลเซียมในสตรีตั้งครรภ์นั้นไม่แตกต่างจากสตรีทั่วไปคือวันละ 1200 มิลลิกรัม ส่วนสตรีหลังคลอดที่ให้นมบุตรนั้นความต้องการแคลเซียมสูงขึ้นคือวันละ 1500 มิลลิกรัม ลักษณะอาหารในชาติตะวันตกส่วนใหญ่จะมีการรับประทานเนย นม และผลิตภัณฑ์จากนมค่อนข้างมากการรับประทานนมเพิ่มเล็กน้อยมักจะเพียงพอในระหว่างการตั้งครรภ์ ในประเทศไทย อาหารต่อวันจะมีปริมาณแคลเซียมประมาณ 400 มิลลิกรัม ซึ่งยังขาดปริมาณแคลเซียมอีกมาก การรับประทานนมจำเป็นต้องรับประทานมากจึงอาจขาดหรือไม่เพียงพอในสตรีตั้งครรภ์บางราย แพทย์ผู้ดูแลอาจดูจากประวัติสตรีตั้งครรภ์ สอบถามถึงการรับประทานอาหารของสตรีตั้งครรภ์เพื่อประกอบการพิจารณาการเสริมแคลเซียมและเลือกให้ปริมาณเสริมต่อวันให้เหมาะสม ปริมาณแคลเซียมที่มีขายในท้องตลาด จะมีหลายขนาดขึ้นอยู่กับชนิดสารประกอบแคลเซียม การแตกตัวและการดูดซึม ข้อมูลเหล่านี้แพทย์ผู้ดูแลต้องดูรายละเอียดในแต่ละชนิดเพื่อหากต้องการเสริมในสตรีที่ขาดจะได้เสริมได้ในขนาดที่พอเหมาะ สำหรับสตรีหลังคลอดที่ให้นมบุตรการเสริมแคลเซียมอาจจำเป็นเนื่องจากความต้องการแคลเซียมที่สูงขึ้น และจำเป็นต้องได้รับต่อเนื่องจนกระทั่งหยุดให้นมบุตร

อาหารเสริมระหว่างการตั้งครรภ์ (ตอนที่ 2)

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? ธาตุเหล็ก ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยจากการเจาะเลือดตรวจระหว่างฝากครรภ์1 ส่วนใหญ่จึงแนะนำให้เสริมแก่สตรีตั้งครรภ์ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ธาตุเหล็กที่เสริมมีอยู่ในรูปสารประกอบหลายประเภทที่จะแตกตัวและดูดซึมแตกต่างกัน แพทย์ผู้ให้คำแนะนำต้องทราบถึงปริมาณที่สตรีตั้งครรภ์จะได้รับเมื่อแตกตัวและดูดซึมแล้วเพื่อให้เสริมในขนาดที่เหมาะสม สำหรับในประเทศไทยในอดีตภาวะโลหิตจางพบได้สูง ปัจจุบันภาวะโลหิตจางในแต่ละภาคหรือแต่ละพื้นที่ มีสาเหตุที่แตกต่างกัน ส่วนหนึ่งเป็นจากธาลัสซีเมียซึ่งอุบัติการณ์ของสาเหตุของโลหิตจางในแต่ละพื้นที่ควรมีการศึกษาเพื่อให้การเสริมธาตุเหล็กอย่างเหมาะสมและด้วยความมั่นใจ หากไม่มีข้อมูล แนะนำให้รับประทานยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กเสริมวันละหนึ่งเม็ดเนื่องจากยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็กมักเสริมในขนาดที่เพียงพอวันละหนึ่งเม็ดอยู่แล้ว

อาหารเสริมระหว่างการตั้งครรภ์ (ตอนที่ 1)

PICT0031

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อสตรีทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ สามีและครอบครัวมักจะความสำคัญและใส่ใจเกี่ยวกับอาหารของสตรีตั้งครรภ์ โดยแนะนำอาหารต่างๆ ที่คาดว่าจะมีประโยชน์ให้สตรีตั้งครรภ์รับประทาน โดยอาจเป็นอาหารบำรุงหรืออาหารเสริมซึ่งข้อมูลที่เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ที่แน่ชัดแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลการตั้งครรภ์จำเป็นศึกษาถึงข้อมูลของอาหารชนิดต่างๆ เพื่อให้คำปรึกษากับสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้อย่างเหมาะสม

ความต้องการของสารอาหารต่อวันของสตรีตั้งครรภ์ต้องการพลังงานเพิ่ม 300 แคลอรี่ โปรตีน 80 กรัม แคลเซียม 1200 กรัม ธาตุเหล็ก 30 กรัม กรดโฟลิค 800 ไมโครกรัม วิตามินดี 5000 ยูนิต ไขมันโอเมก้า-3 1000 มิลลิกรัม1 จากข้อมูลพื้นฐานนี้เป็นข้อมูลที่เป็นข้อมูลจากของชาติตะวันตกซึ่งลักษณะอาหารและการใช้ชีวิตประจำวันแตกต่างจากคนไทย ดังนั้นการอธิบายข้อมูลเหล่านี้ ต้องทราบข้อจำกัด โดยอาจให้ความเห็นในกรณีที่มีความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ อาหารการกิน และลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันประกอบเพื่อให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ร่วมพิจารณาในกรณีต้องการเสริมอาหารเหล่านี้

การลดการให้นมผสมเสริมในขณะอยู่ในโรงพยาบาล (ตอนที่ 2)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? เมื่อทราบสาเหตุที่เป็นจุดเริ่มต้นการใช้นมผสม การวางแผนแก้ไขจึงดำเนินไปตามสาเหตุ ได้แก่ การให้ความรู้กับมารดาตั้งแต่ระยะฝากครรภ์โดยจัดให้มีการสอนเรื่องประโยชน์ของนมแม่ ในระยะหลังคลอด มารดาจะรู้สึกเหนื่อย การมีบุคลากรทางการแพทย์ สามีและครอบครัวให้กำลังใจ สอนให้มารดาจัดเวลาในการพักผ่อนให้เหมาะสม หากทารกนอนมารดาควรพักผ่อนด้วย ควบคุมเวลาเยี่ยมของญาติหรือเพื่อนเพื่อให้มารดาได้พักผ่อนเพียงพอ4 เรื่องน้ำนมไม่พอควรมีการให้ทารกสัมผัสกับหน้าอกมารดาตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอด กระตุ้นและให้ทารกดูดนมครั้งละ 15 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมงและให้ทารกดูดจนเกลี้ยงเต้า โดยหากดูดไม่หมดอาจใช้การบีบนมหรือปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้น้ำนมมีมาเพียงพอ เรื่องการเจ็บเต้านม ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ทารกดูดนมไม่เหมาะสม มารดาอาจตรวจสอบการเข้าเต้าให้ถูกต้องโดยปรึกษากับพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลเพื่อช่วยแก้ไข เรื่องทารกหงุดหงิดหรือง่วงนอน หากมารดาเข้าใจลักษณะทารกและจัดให้นมให้เหมาะสม หากทารกหงุดหงิดอาจให้ป้อนนมจากนมแม่ที่ปั๊มออกมาโดยวิธีป้อนด้วยถ้วยหรือใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาช่วยก่อนเมื่อทารกสงบแล้วจึงจัดป้อนนมจากเต้าอีกครั้ง ในกรณีทารกง่วงนอนอาจใช้การกระตุ้นให้ทารกดูดนมหรือป้อนนมช่วย แล้วค่อยๆ ฝึกให้ทารกดูดจากเต้าให้ได้นานขึ้นและเพียงพอ สำหรับการเข้าเต้ายากนั้น คงต้องตรวจสอบสาเหตุอาจจะเป็นจากลักษณะหัวนมหรือท่าในการให้นมซึ่งเช่นเดียวกันการปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยวินิจฉัยและแนะนำวิธีการแก้ปัญหาได้ ช่วยให้ลดการใช้ในผสมในระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลได้และช่วยให้ทารกสามารถได้รับนมแม่อย่างน้อยหกเดือนได้

หนังสืออ้างอิง

4.???????????? Morrison B, Ludington-Hoe S, Anderson GC. Interruptions to breastfeeding dyads on postpartum day 1 in a university hospital. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2006;35:709-16.