คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

ความสำคัญของการให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมง

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? บันไดขั้นที่ 7 สู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กล่าวถึง ?การให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมง? โดยหลีกเลี่ยงการแยกมารดาและทารก ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

?????????? ความสำคัญของการให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก

??????????? -ทารกจะหลับได้ดีกว่าและร้องไห้น้อยกว่า

??????????? -ก่อนการเกิดมารดาและทารกจะพัฒนาช่วงจังหวะของการนอน ซึ่งการแยกมารดาและทารกจะรบกวนกลไกนี้

??????????? -การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะทำได้ดีกว่าและต่อเนื่องนานกว่า ร่วมกับทารกน้ำหนักขึ้นเร็วกว่าด้วย

??????????? -การป้อนนมที่ตอบสนองต่อการแสดงออกของทารกจะทำได้ง่ายเมื่อทารกอยู่ใกล้ ซึ่งเป็นผลให้การสร้างน้ำนมทำได้ดี

??????????? -มารดาจะมั่นใจในการดูแลทารก

??????????? -มารดาจะมองเห็นทารกได้ดีและไม่วิตกกังวลว่าทารกที่ร้องที่ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดเป็นลูกของตนเอง

??????????? -การสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทารกจะน้อยกว่าทารกที่อยู่ในห้องอภิบาลทารกแรกเกิด

??????????? -สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก แม้ว่าจะไม่ได้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

 

สรุปการช่วยเหลือมารดาให้นมลูก

breastfeeding-protest-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ท่าสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ท่าของมารดา

??????????? สบายและมีการพยุงหรือรองหลัง เท้า และเต้านม หากจำเป็น

ท่าของทารก

??????? ลำตัวทารกอยู่ในแนวเดียวกัน

??????? ลำตัวทารกแนบชิดกับมารดา

??????? การพยุงหรือรองทารกที่ศีรษะหรือหัวไหล่ ถ้าหากทารกแรกเกิด อาจพยุงหรือรองรับทั้งลำตัว

??????? หน้าทารกหันหน้าเข้าหาเต้านม จมูกทารกอยู่ตรงกับหัวนม

ท่าของผู้ช่วย

??????????? สบาย ผ่อนคลาย และไม่ก้มตัว

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????? -การสังเกต

??????? สังเกตมารดาและทารกโดยทั่วไป

??????? สังเกตเต้านมมารดา

??????? ท่าของทารก

??????? การอ้าปากอมหัวนมและลานนมของทารก

??????? การดูดนมของทารก

??????????? -ถามมารดาว่ารู้สึกอย่างไรในการให้นมลูก

การช่วยมารดาให้เรียนรู้เกี่ยวกับท่าในการให้นมและการอ้าปากอมหัวและลานนม

??????????? จดจำจุดสำคัญเมื่อจะช่วยเหลือมารดา

??????????? สังเกตการณ์ให้นมลูกก่อนการให้การช่วยเหลือเสมอ

??????????? ให้ความช่วยเหลือเฉพาะกรณีที่มีความยากลำบาก

??????????? ให้มารดาทำด้วยตนเองมากเท่าที่เป็นไปได้

??????????? ควรมั่นใจว่ามารดาเข้าใจและสามารถทำได้ด้วยตนเอง

ทารกที่มีความยากลำบากในการเข้าเต้า

??????????? -สังเกตการนำทารกเข้าเต้านมและดูดนม ถามคำถามปลายเปิดและตัดสินถึงสาเหตุที่เป็นไปได้

??????????? -การดูแลรักษา

??????? แก้ไขหรือรักษาสาเหตุหากเป็นไปได้

??????? กระตุ้นการให้ทารกสัมผัสผิวมารดาในบรรยากาศที่สงบ

??????? ไม่บังคับให้ทารกเข้าหาเต้านม

??????? บีบน้ำนมและป้อนนมแม่ด้วยถ้วยหากมีความจำเป็น

??????????? -การป้องกัน

??????? ทำให้รู้สึกว่าการให้ทารกได้สัมผัสผิวมารดาตั้งแต่แรกจะช่วยให้ทารกรู้สึกว่าเต้านมเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย

??????? ช่วยให้มารดาได้เรียนรู้ทักษะในการจัดท่าและการอมหัวนมและลานนมในสิ่งแวดล้อมที่สงบและไม่เร่งรีบ

??????? อดทนในขณะที่ทารกเรียนรู้การกินนมแม่

??????? การดูแลทารกในลักษณะที่อ่อนโยนด้วยความมั่นใจ

การช่วยมารดาจัดท่าในการให้นมลูก

??????????? -แสดงการต้อนรับมารดาและถามมารดาเกี่ยวกับการให้นมลูก

??????????? -นั่งลงในท่าที่สะดวกสบาย

??????????? -สังเกตมารดาให้นมลูก

??????????? -สังเกตสิ่งที่มารดาทำได้ดีและให้กำลังใจและชื่นชม

??????????? -สังเกตสิ่งที่เป็นทำให้ลำบากในการให้นมแม่ เสนอวิธีที่ช่วย และถามมารดาว่าต้องการให้แสดงให้ดูหรือไม่

??????????? -ดูให้มั่นใจว่ามารดาอยู่ในท่าที่สบายและผ่อนคลาย

??????????? -อธิบายวิธีอุ้มทารกและอาจแสดงให้มารดาดูหากจำเป็น จุดที่สำคัญทั้งสี่คือ

??????? ศีรษะและลำตัวอยู่ในแนวเดียวกัน

??????? ลำตัวทารกอยู่ชิดกับมารดา

??????? มีการพยุงหรือรองรับทารกทั้งตัว

??????? ทารกหันหน้าเข้าหาเต้านม จมูกอยู่ตรงกับหัวนม

??????????? -แสดงวิธีพยุงเต้านม

??????? นิ้วจะต้องแนบกับหน้าอกและอยู่ใต้เต้านม

??????? นิ้วแรกด้านบนจะรองรับเต้านม

??????? นิ้วหัวแม่มือต้องอยู่ด้านบน

??????? นิ้วจะต้องไม่อยู่ใกล้หัวนมจนเกินไป

??????????? -สังเกตการตอบสนองของมารดาขณะทารกดูดนม และสอบถามมารดาว่าขณะทารกดูดนมรู้สึกอย่างไร?

??????????? -สังเกตลักษณะของการอ้าปากอมหัวนมและลานนมที่ดีของทารก ได้แก่

??????? เห็นลานนมเหนือริมฝีปากบนมากกว่า

??????? ปากทารกเปิดกว้าง

??????? ริมฝีปากล่างม้วนออก

??????? คางทารกอยู่ชิดกับเต้านม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

แบบสังเกตการให้นมลูก

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? แบบสังเกตการให้นมลูก เป็นแนวใทางในการให้บุคลากรทางการแพทย์หรือมารดาสังเกตการให้นมลูกเพื่อการเสนอแนวทางในการช่วยเหลือเพิ่มเติม แบบสังเกตมีตัวอย่างดังนี้

แบบสังเกตการให้นมลูก

ชื่อมารดา…………………………………………………………………………. วันที่……………………………..

ชื่อทารก…………………………………………………………………………..อายุ……………………………….

การสังเกตทั่วไป

มารดา??????????????????????????????????????????????????????????????????????? มารดา

? มารดาสุขภาพดี???????????????????????????????????????????????????????? ? มารดาป่วยหรือซึมเศร้า

? มารดาสบายและผ่อนคลาย???????????????????????????????????????? ? มารดาเครียด ไม่สบายหรือผ่อนคลาย

? มีความผูกพันระหว่างแม่ลูก???? ??????????? ??????????????????????? ? ไม่มีการสบสายตาระหว่างแม่ลูก

ทารก??????????????????????????????????????????????????????????? ทารก

? ทารกสุขภาพดี?????????????????????????????????????????????????????????? ? ทารกง่วงซึมหรือป่วย

? ทารกสงบและผ่อนคลาย???????????????????????????????????????????? ? ทารกกระวนกระวายหรือร้องไห้

? ทารกเข้าหาเต้านมหรืออ้าปากอมหัวนมถ้าหิว????????????????? ? ทารกไม่เข้าหาเต้านมหรืออ้าปากอมหัวนม

การสังเกตเต้านม

? เต้านมปกติดี????????????????????????????????????????????????????????????? ? เต้านมบวม แดงหรือปวด

? ไม่ปวดหรือรู้สึกไม่สบาย?????????????????????????????????????????????? ? เจ็บหัวนมหรือเต้านม

? มีการพยุงเต้านมโดยนิ้วห่างจากหัวนม?????????????????????????? ? เต้านมถูกพยุงโดยนิ้วมืออยู่ที่ลานนม

? หัวนมยื่นยาวออกมา??????????????????????????????????????????????????? ? หัวนมเรียบ ไม่ยื่นยาวออกมา

ท่าของทารก

? ศีรษะและลำตัวอยู่ในแนวเดียวกัน??????????????????????????????? ? คอหรือศีรษะต้องบิดเพื่อดูดนม

? ลำตัวทารกแนบชิดกับมารดา??????????????????????????????????????? ? ลำตัวทารกห่างจากมารดา

? มีการพยุงหรือรองทารกทั้งตัว??????????????????????????????????? ? มีการพยุงหรือรองทารกเฉพาะศีรษะกับคอ

? เมื่อทารกเข้าหาเต้านม จมูกอยู่ที่หัวนม? ???????????? ?เมื่อทารกเข้าหาเต้านม ริมฝีปากล่างหรือคางอยู่ที่หัวนม? ?

การอ้าปากอมหัวนมและลานนมของทารก

? เห็นลานนมเหนือริมฝีปากบนมากกว่า??????????????????????????? ? เห็นลานนมเหนือริมฝีปากล่างมากกว่า

? ทารกอ้าปากกว้าง?????????????????????????????????????????????????????? ? ทารกไม่อ้าปากกว้าง

?? ริมฝีปากล่างปลิ้นออก??????????????????????????????????????????????? ? ริมฝีปากล่างตรงหรือม้วนเข้า

? คางทารกชิดกับเต้านม??????????????????????????????????? ? คางทากไม่ชิดกับเต้านม

การดูดนมของทารก

? จังหวะช้า ดูดนานและพัก??????????????????????????????????????????? ? จังหวะเร็ว ดูดสั้นๆ

? แก้มป่องขณะดูด??????????????????????????????????????????????????????? ? แก้มบุ๋มขณะดูด

? ทารกผละจากเต้าเมื่อดูดเสร็จ?????????????????????????????????????? ? มารดานำทารกออกจากเต้า

? มารดาสังเกตเห็นกลไกออกซิโตซิน??????????????????????????????? ? ไม่พบลักษณะกลไกออกซิโตซิน

ข้อสังเกต………………………………………………………………………………………………………………

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

ประโยชน์ของท่าในการให้นมลูก

hx

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????????? ประโยชน์ของการใช้ท่าแต่ละท่าในการให้นมลูก มีดังนี้

ท่า lying down

??????? ช่วยให้มารดาได้พัก

??????? สบายหลังผ่าตัดคลอด?

??????? ดูให้จมูกทารกอยู่ที่หัวนม และทารกไม่ต้องก้มคอเพื่อเข้าหาเต้านม

ท่า cradle

??????? แขนของทารกอาจจะพับอยู่ข้างลำตัว แต่ไม่ควรอยู่ระหว่างหน้าอกทารกกับมารดา

??????? ดูแลให้ศีรษะทารกไม่อยู่ไกลเกินไปโดยลึกเข้าไปในข้อพับ ซึ่งทำให้ทารกจะต้องดูดดึงเต้านมออกมาและไม่สามารถจะคงการอมหัวนมและลานนมได้

ท่า modified cradle หรือ cross arm

??????????? มีประโยชน์ในทารกที่ตัวเล็กหรือป่วย มารดาสามารถจะจับพยุงทารกทั้งศีรษะและลำตัวได้ดี และยังเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้การให้นมลูก แต่ควรระมัดระวังไม่จับศีรษะทารกแน่นเกินไปจนกระทั่งทารกขยับไม่ได้

ท่า underarm หรือ football

??????????? มีประโยชน์ในทารกครรภ์แฝดและช่วยให้น้ำนมระบายออกได้ดีจากทุกพื้นที่ของเต้านม แต่ควรระมัดระวังไม่ให้ทารกก้มคอลงจนกระทั่งคางไปกดหน้าอก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

การป้องกันทารกไม่เต็มใจดูดนมแม่

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? สถานการณ์หลายกรณีที่ทารกปฏิเสธการดูดนม อาจแก้ไขได้โดย

??????? การให้ทารกสัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกและบ่อยๆ เพื่อให้ทารกเรียนรู้ว่าเต้านมเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยตั้งแต่ในช่วง 2-3 ชั่วโมงแรกหลังคลอด

??????? ช่วยมารดาให้เรียนรู้การจัดท่าของทารก การอมหัวนมและลานนมที่เหมาะสมในบรรยากาศที่สงบและไม่เร่งรีบ

??????? อดทนขณะที่ทารกเรียนรู้การดูดนมแม่

??????? การดูแลทารกในลักษณะที่อ่อนโยนด้วยความมั่นใจ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009