คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

รูปแบบของการทำกิจกรรมกลุ่มแม่ช่วยแม่1

28375829

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน มารดาอาสาจะเป็นผู้นำกลุ่ม เป็นผู้กระตุ้นให้มารดาในกลุ่มได้แบ่งปันประสบการณ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัญหาที่พบในระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และวิธีที่จะเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ซึ่งมารดาจะร่วมแบ่งบันข้อมูลต่างๆ ร่วมกับได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาต่างๆ จากประสบการณ์ตรงของมารดาผู้ที่เผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรค ขนาดของกลุ่มที่ทำกิจกรรมควรเป็นกลุ่มขนาดเล็กมีมารดาในกลุ่มประมาณ 6-8 คน เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้มีความใกล้ชิดและได้อภิปรายปัญหาหรือประสบการณ์อย่างทั่วถึง ในกรณีที่ต้องการข้อมูลหรือความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ มารดาอาสาอาจเชิญผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาอภิปรายร่วมกันในกิจกรรมกลุ่มบางช่วงได้

ในช่วงเดือนแรกหลังคลอด การทำกิจกรรมกลุ่มควรทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เนื่องจากมารดาจะต้องมีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลังคลอด และการกระตุ้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำเป็นต้องให้มารดาเริ่มต้นให้ได้ภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด เพราะหากพ้นสัปดาห์แรกไปแล้ว มารดาให้นมผสมหรือหยุดให้นมแม่ไปแล้วต้องการจะกลับมาให้นมแม่ใหม่ จะมีความยากลำบากกว่าการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดี หลังจากนั้นในเดือนต่อไป การทำกิจกรรมกลุ่มอาจเป็นเดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งการจัดกิจกรรมที่ช่วยให้มารดาสามารถให้นมแม่ได้อย่างเดียวหกเดือน และให้ต่อเนื่องไปร่วมกับการให้อาหารตามวัยจนถึงสองปีหรือมากกว่านั้นต้องมีความสอดคล้องกับแต่ละช่วงที่มารดาในกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เช่น การเริ่มออกจากบ้าน การกลับไปทำงานของมารดา และการย้ายที่อยู่หรือย้ายทารกไปฝากไว้กับปู่ย่าตายาย นอกจากนี้ หากมีผู้ที่เป็นดูแลทารกเป็นปู่ย่าตายายหรือพี่เลี้ยง การนำบุคคลเหล่านี้มารับฟังหรือเข้ากลุ่มร่วมกิจกรรมจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วม มีความเข้าใจ และช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

 

การเริ่มจัดตั้งกลุ่มแม่ช่วยแม่

31553183

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การเริ่มตั้งกลุ่มแม่ช่วยแม่ มักเริ่มจากกลุ่มบุคลากรทางด้านสาธารณสุขหรือโรงพยาบาล เนื่องจากมีต้นทุนในด้านความรู้ที่จะอบรมให้กับมารดาอาสา ได้แก่ วิธีการให้คำปรึกษา ประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีการแก้ปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เบื้องต้น และการส่งต่อให้กับผู้เชี่ยวชาญ? นอกจากนี้ในสถานพยาบาล ยังสามารถจัดให้มารดาอาสาได้สร้างความคุ้นเคยกับมารดาได้ตั้งแต่ระยะหลังคลอด

 

การจัดกลุ่มแม่ช่วยแม่

31553183

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การจัดตั้งกลุ่มแม่ช่วยแม่ หรือมารดาอาสาเป็นการสร้างเครือข่ายของการช่วยเหลือที่เป็นส่วนของจิตอาสา ซึ่งมารดาเหล่านี้จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ทั้งจากความไม่รู้ การขาดที่ปรึกษาที่พูดคุยด้วยภาษาที่ง่าย เป็นกันเอง ทำให้มีความสะดวกใจที่จะซักถาม ทำให้มารดามีความมั่นใจมากขึ้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

 

 

องค์กรหรือเครือข่ายที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่7

43760389

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ที่ย่อมาจาก World Health Organization เป็นองค์กรภายใต้สหประชาชาติที่มีบทบาทในการดูแลเรื่องสุขภาพโดยเป็นผู้นำในด้านการวิจัยสุขภาพ กำหนดค่าปกติและค่ามาตรฐาน ให้ความคิดเห็นเชิงนโยบายตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคกับนานาประเทศ พร้อมติดตามและประเมินแนวโน้มของสุขภาพของประชาคมโลก ซึ่งจะมีส่วนหนึ่งของพันธกิจที่ต้องการลดการเสียชีวิตของโดยการดูแลเรื่องอาหารทารกและเด็กเล็ก ในส่วนนี้จะมีข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประโยชน์ ข้อแนะนำ แนวทางการปฏิบัติในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เว็บไซต์ http://www.who.int/topics/breastfeeding/en/

 

 

องค์กรหรือเครือข่ายที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่6

cross cradle78

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา หรือ CDC ซึ่งย่อมาจาก ?Center for disease control and prevention? จะมีข้อมูลที่ทันสมัยและข้อแนะนำในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เว็บไซต์ http://www.cdc.gov/breastfeeding/

? ? ? ? ? LactMed เป็นเว็บไซด์ของห้องสมุดแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับยาและสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ระหว่างการให้นมลูก โดยมีข้อมูลจากการวิจัยและรายงานต่างๆ ซึ่งจะมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยทุกเดือน ในกรณีที่มารดาหรือบุคลากรมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยาหรือการได้รับสารเคมีระหว่างการให้นมลูกสามารถค้นคว้าข้อมูลจากเว็บไซต์ http://toxnet.nlm.nih.gov/newtoxnet/lactmed.htm