คลังเก็บป้ายกำกับ: รูปแบบของการทำกิจกรรมกลุ่มแม่ช่วยแม่1

รูปแบบของการทำกิจกรรมกลุ่มแม่ช่วยแม่2

28375829

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การจัดระบบพี่เลี้ยงนมแม่ มารดาอาสาอาจทำระบบการติดต่อเพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้แก่มารดาที่คลอดลูกใหม่หรือขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอาจใช้เบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อสื่อสาร หรือในปัจจุบันอาจผ่านสื่อสารสนเทศ ได้แก่ ไลน์ หรือ เฟสบุ๊ค ซึ่งการขอหรือให้คำปรึกษาอาจเป็นรูปแบบเดี่ยวคือรายบุคคล หรืออาจทำในรูปแบบกลุ่มก็ได้ ซึ่งในการให้คำปรึกษาแบบเดี่ยวจะมีข้อดีคือมารดาได้ข้อมูลจากบุคคลที่ต้องการขอคำปรึกษาโดยตรง แต่มีข้อเสียในกรณีที่ผู้ให้คำปรึกษาไม่สะดวก การให้คำปรึกษาอาจล่าช้าได้ ส่วนในรูปแบบกลุ่มจะมีข้อดีที่จะได้การตอบสนองรวดเร็วกว่า มีความเห็นหลากหลาย ซึ่งทำให้มารดาต้องตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับตนเองอีกครั้ง ข้อเสียคือผู้ที่ให้ความคิดเห็นในคำปรึกษาอาจไม่สนิทสนมหรือไม่ทราบข้อมูลพื้นฐานของมารดา ทำให้คำแนะนำอาจไม่เฉพาะเจาะจงหรือเป็นคำแนะนำกว้างๆ ซึ่งไม่อาจแก้ปัญหาที่มารดาต้องการได้

 

รูปแบบของการทำกิจกรรมกลุ่มแม่ช่วยแม่1

28375829

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน มารดาอาสาจะเป็นผู้นำกลุ่ม เป็นผู้กระตุ้นให้มารดาในกลุ่มได้แบ่งปันประสบการณ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัญหาที่พบในระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และวิธีที่จะเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ซึ่งมารดาจะร่วมแบ่งบันข้อมูลต่างๆ ร่วมกับได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาต่างๆ จากประสบการณ์ตรงของมารดาผู้ที่เผชิญกับปัญหาหรืออุปสรรค ขนาดของกลุ่มที่ทำกิจกรรมควรเป็นกลุ่มขนาดเล็กมีมารดาในกลุ่มประมาณ 6-8 คน เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้มีความใกล้ชิดและได้อภิปรายปัญหาหรือประสบการณ์อย่างทั่วถึง ในกรณีที่ต้องการข้อมูลหรือความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ มารดาอาสาอาจเชิญผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาอภิปรายร่วมกันในกิจกรรมกลุ่มบางช่วงได้

ในช่วงเดือนแรกหลังคลอด การทำกิจกรรมกลุ่มควรทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เนื่องจากมารดาจะต้องมีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลังคลอด และการกระตุ้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำเป็นต้องให้มารดาเริ่มต้นให้ได้ภายในสัปดาห์แรกหลังคลอด เพราะหากพ้นสัปดาห์แรกไปแล้ว มารดาให้นมผสมหรือหยุดให้นมแม่ไปแล้วต้องการจะกลับมาให้นมแม่ใหม่ จะมีความยากลำบากกว่าการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดี หลังจากนั้นในเดือนต่อไป การทำกิจกรรมกลุ่มอาจเป็นเดือนละ 2 ครั้ง ซึ่งการจัดกิจกรรมที่ช่วยให้มารดาสามารถให้นมแม่ได้อย่างเดียวหกเดือน และให้ต่อเนื่องไปร่วมกับการให้อาหารตามวัยจนถึงสองปีหรือมากกว่านั้นต้องมีความสอดคล้องกับแต่ละช่วงที่มารดาในกลุ่มมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เช่น การเริ่มออกจากบ้าน การกลับไปทำงานของมารดา และการย้ายที่อยู่หรือย้ายทารกไปฝากไว้กับปู่ย่าตายาย นอกจากนี้ หากมีผู้ที่เป็นดูแลทารกเป็นปู่ย่าตายายหรือพี่เลี้ยง การนำบุคคลเหล่านี้มารับฟังหรือเข้ากลุ่มร่วมกิจกรรมจะทำให้เกิดการมีส่วนร่วม มีความเข้าใจ และช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้