คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังระหว่างการผ่าตัดคลอด

การผ่าตัดคลอด4

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การผ่าตัดคลอด หากไม่เร่งด่วน วิสัญญีแพทย์จะทำการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังเพื่อระงับความรู้สึกระหว่างการผ่าตัด ยาชาที่ฉีดเข้าไขสันหลังที่ใช้บ่อย ได้แก่ ยา lidocaine หรือ bupivacaine ยาที่ใช้เหล่านี้ระหว่างการผ่าตัดคลอด จะผ่านน้ำนมน้อย และไม่มีการดูดซึมในทารก การระงับความรู้สึกด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังระหว่างการผ่าตัดคลอดจึงมีความปลอดภัยสำหรับทารก1,2 และมารดาสามารถให้นมลูกได้ อย่างไรก็ตาม หากมารดาได้รับยาแก้ปวดอย่างอื่นร่วมด้วย โดยเฉพาะยาแก้ปวดกลุ่มมอร์ฟีน การเฝ้าระวังมารดาและทารกหลังให้ยาในช่วง 6 ชั่วโมงมีความจำเป็น แต่หากมารดาฟื้นหรือตื่นรู้ตัวดี การเริ่มให้นมลูกก็สามารถทำได้โดยไม่มีข้อห้าม

เอกสารอ้างอิง

  1. Ortega D, Viviand X, Lorec AM, Gamerre M, Martin C, Bruguerolle B. Excretion of lidocaine and bupivacaine in breast milk following epidural anesthesia for cesarean delivery. Acta Anaesthesiol Scand 1999;43:394-7.
  2. Wilson MJ, MacArthur C, Cooper GM, Bick D, Moore PA, Shennan A. Epidural analgesia and breastfeeding: a randomised controlled trial of epidural techniques with and without fentanyl and a non-epidural comparison group. Anaesthesia 2010;65:145-53.

 

 

การฉีดยาชาเฉพาะที่ระหว่างการคลอด

รูปภาพ25

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในระหว่างการคลอดปกติ หากมีความจำเป็นต้องตัดฝีเย็บเพื่อช่วยในการคลอด แพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการตัดฝีเย็บ ซึ่งจะอยู่บริเวณปากช่องคลอดทางด้านหลัง การตัดฝีเย็บมีทั้งการตัดแผลลงตรงกลางและการตัดแผลฝีเย็บทางด้านข้าง ยาชาที่ใช้ฉีดจะฉีดยา lidocaine ขนาดยาที่ใช้ 1 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวของมารดาหนึ่งกิโลกรัม ค่าครึ่งชีวิตของยา 8 นาที การฉีดยาต้องระวังการฉีดเข้าเส้นเลือด ซึ่งการที่แพทย์ผู้ดูแลการคลอดจะทราบว่า มารดามีความเสี่ยงหรืออันตรายจากการได้รับยานี้ โดยหลังการฉีดยาแพทย์ควรถามมารดาว่า ?รู้สึกมีเสียงในหูหรือไม่ หรือจากการตรวจวัดชีพจรดูว่าชีพจรของมารดาเต้นเป็นปกติไหม? อาการเหล่านี้จะเป็นอาการนำของความผิดปกติในการได้รับยาขนาดสูงเกินไป ยาชาเฉพาะที่มีค่าครึ่งชีวิตของยาสั้น ยาจะผ่านน้ำนมน้อย และไม่มีการดูดซึมของยาในทารก จึงมีความปลอดภัยในมารดาหลังคลอดที่ให้นมบุตร1

เอกสารอ้างอิง

  1. Ortega D, Viviand X, Lorec AM, Gamerre M, Martin C, Bruguerolle B. Excretion of lidocaine and bupivacaine in breast milk following epidural anesthesia for cesarean delivery. Acta Anaesthesiol Scand 1999;43:394-7.

 

 

การให้ยาแก้ปวดระหว่างการคลอด

BUSIN201

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ระหว่างการรอคลอด มารดาจะเจ็บปวดท้องร้าวไปด้านหลัง ซึ่งเป็นอาการของการเจ็บครรภ์คลอด โดยอาการปวดเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก การลดอาการเจ็บครรภ์ ทำได้หลายวิธี ได้แก่ การฝึกให้มารดาผ่อนคลาย การนวดหลัง การฝังเข็ม การให้กำลังใจและการสนับสนุนจากผู้ช่วยเหลือการคลอด แต่ในบางกรณีที่มารดาจำเป็นต้องได้รับยาแก้ปวด ยาแก้ปวดที่ใช้บ่อยระหว่างการเจ็บครรภ์คลอด ได้แก่ ยากลุ่มมอร์ฟีน ซึ่งออกฤทธิ์แก้ปวดได้ดี ยามอร์ฟีน หากฉีดเข้ากล้าม จะเริ่มออกฤทธิ์ใน ? ชั่วโมง ระดับยาในเลือดของมารดาจะสูงสุดใน 50-90 นาที และระยะเวลาการออกฤทธิ์นาน 3-6 ชั่วโมง1 หากมารดาเบ่งคลอดในช่วงที่ระดับยาในเลือดของมารดาสูง ยาจะผ่านไปสู่ทารกและกดการหายใจของทารกได้ ซึ่งทารกหลังคลอดจะอ่อนเปลี้ย หายใจไม่ดี ซึ่งจำเป็นต้องได้รับยาต้านฤทธิ์มอร์ฟีน คือ ยา naloxone และจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังการหายใจของทารกต่ออีก 6 ชั่วโมง โดยระหว่างนี้ การกระตุ้นให้ทารกกินนมแม่ทำได้ แต่ทารกอาจมีอาการง่วงซึม ทำให้ต้องกระตุ้นปลุกทารกบ่อยให้ดูดนม ทารกอาจต้องการการเอาใจใส่มากกว่าปกติในช่วงนี้ แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาแล้ว ทารกจะกลับเป็นปกติ การดูแลหลังจากนี้สามารถดูแลตามปกติหลังคลอดได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Skidmore-Roth L, editor. Mosby?s 2015 nursing drug reference. 28th Missouri: Elsevier inc; 2015.

 

การได้รับสารที่เป็นพิษจากสิ่งแวดล้อมในระหว่างการให้นมบุตร

362225_8693290_1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในชีวิตประจำวัน มารดาอาจได้รับสารเคมีต่างๆ จากอาหารและสิ่งแวดล้อมโดยไม่รู้ตัว มีการศึกษาติดตามและตรวจสอบพบสารพทาเลท (phthalates) และไดออกซิน (dioxin) ในนมแม่1,2 ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะได้รับจากอาหาร จากการศึกษานี้ มารดาควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการได้รับสารเหล่านี้โดยดูแลเรื่องการเลือกคุณภาพของอาหารที่รับประทาน อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ถึงประโยชน์เทียบกับความเสี่ยง นมแม่ยังได้รับการแนะนำให้เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารก อาหารอื่นๆ สำหรับทารกก็มีรายงานความเสี่ยงเช่นกัน ได้แก่ การพบสารไดออกซินในนมผสม หรือการพบเมลามีนในนมผสม ซึ่งมีรายงานการทำให้เกิดไตวายและนิ่วในไตของทารกในประเทศจีนมากกว่า 50000 ราย มีรายงานการพบเมลามีนในนมผสมในแอฟริกาตะวันออกด้วย3 ดังนั้น สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน มีความเสี่ยงหลากหลายที่เราควรเฝ้าติดตาม ไม่ใช่เพื่อความกลัวหรือวิตกกังวล แต่เพื่อการวางแผนหลีกเลี่ยงและป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับตัวเราและลูกหลานที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต ?????????????

เอกสารอ้างอิง

  1. LaKind JS, Berlin CM, Mattison DR. The heart of the matter on breastmilk and environmental chemicals: essential points for healthcare providers and new parents. Breastfeed Med 2008;3:251-9.
  2. Geraghty SR, Khoury JC, Morrow AL, Lanphear BP. Reporting individual test results of environmental chemicals in breastmilk: potential for premature weaning. Breastfeed Med 2008;3:207-13.
  3. Schoder D. Melamine milk powder and infant formula sold in East Africa. J Food Prot 2010;73:1709-14.

 

 

การสูบบุหรี่ในระหว่างการให้นมบุตร

379526_11220500_0

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การสูบบุหรี่ มารดาจะได้รับสารนิโคตินและสารพิษอื่นๆ หลายชนิดจากบุหรี่ ซึ่งขณะสูบบุหรี่ทารกอาจจะได้รับสารพิษจากควันบุหรี่หรือได้รับผ่านน้ำนมของมารดาที่สูบบุหรี่ สารพิษแต่ละตัวผ่านน้ำนมไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตาม แนะนำให้มารดาไม่ควรสูบบุหรี่ในบ้านหรือก่อนการให้นมบุตร ทางเลือกในการลดอันตรายจากสูบบุหรี่ของมารดา คือ การใช้แผ่นแปะนิโคติน ซึ่งจะช่วยลดการผ่านของนิโคตินไปสู่ทารกได้1 นอกจากนี้ยังมีการศึกษาว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยให้มารดาเลิกสูบบุหรี่ได้มากขึ้นด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Ilett KF, Hale TW, Page-Sharp M, Kristensen JH, Kohan R, Hackett LP. Use of nicotine patches in breast-feeding mothers: transfer of nicotine and cotinine into human milk. Clin Pharmacol Ther 2003;74:516-24.