คลังเก็บหมวดหมู่: นมแม่

นมแม่

การสร้างสังคมที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__38208304

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การรณรงค์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน ทั้งด้านความพอเพียงของผู้มีความรู้ที่จะให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นโยบายของสถานพยาบาล ทัศนคติของบุคลากรและแพทย์ผู้บริการ ความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สภาวะของครอบครัว สภาพแวดล้อม สวนสาธารณะ ร้านค้า ร้านอาหาร หรือสถานบริการที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสถานประกอบการที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ในวันที่ 1-7 สิงหาคม 2558 นี้ เป็นสัปดาห์นมแม่โลก องค์การอนามัยโลกได้รณรงค์ให้ช่วยเหลือคุณแม่ที่ทำงานให้ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากสาเหตุที่สำคัญในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนหกเดือนคือ การกลับไปทำงานของมารดา1 ดังนั้น กำลังสำคัญที่จะสนับสนุนให้มารดาได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยหกเดือน ได้แก่ ภาคส่วนของสถานประกอบการ ในประเทศไทยควรถือโอกาสเนื่องในวันแม่แห่งชาติ นอกจากจะมีการระลึกถึงพระคุณของแม่ที่มีมากล้นแล้ว การเชิญชวนให้ระลึกถึงคุณค่าของนมแม่และช่วยให้แม่ที่ต้องทำงานให้ได้ให้นมแม่แก่ลูกได้ น่าจะเป็นการช่วยที่ประเสริฐสุด ซึ่งการช่วยสร้างกระแส ?ช่วยแม่ทำงานให้ ให้นมลูกได้? น่าจะเกิดขึ้นได้ในสังคมไทยที่มีความเอื้อเฟื้อและเห็นอกเห็นใจ โดยการให้ 3 การให้ คือ ให้พื้นที่ ให้โอกาส และให้เวลาแก่มารดาที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

  • ให้พื้นที่ คือ การจัดสถานที่ที่เหมาะสำหรับการบีบเก็บน้ำนมสำหรับแม่ที่ทำงานเก็บไว้ให้ลูกกินที่บ้าน
  • ให้โอกาส คือ มีนโยบายสนับสนุนช่วยให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในขณะแม่กลับมาทำงาน
  • ให้เวลา คือ การจัดเวลาพักให้มารดาบีบเก็บน้ำนมระหว่างวัน เพื่อช่วยคงการสร้างนมแม่

การให้สิ่งเหล่านี้จากสถานประกอบการ น่าจะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างสังคมที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province J Med Health Sci 2009;16:116-23.

 

 

ความสำคัญของ 1000 วันแรกของชีวิต

371834_9510610_1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ชีวิตมนุษย์มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เริ่มการปฏิสนธิจนคลอดออกมามีสัญญาณชีพ จึงนับเป็นการเกิดทางนิตินัย แต่ความจริงแล้วการจะสร้างให้เกิดทารกที่สมบูรณ์แข็งแรง การเตรียมตัวตั้งแต่การดูแลการตั้งครรภ์จนกระทั่งให้คลอดด้วยกลไกปกติไม่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นส่วนสำคัญเพียงส่วนหนึ่งในการเริ่มต้น การดูแลหลังการกำเนิดของทารกใน 1000 วันแรกก็เป็นอีกส่วนที่สำคัญ เนื่องจากเป็นจุดที่สำคัญในการพัฒนาการทางด้านสมองและอารมณ์ เช่นเดียวกันกับขณะการตั้งครรภ์ ทารกได้รับสารอาหารจากมารดาผ่านทางสายสะดือ หลังคลอดทารกก็ได้รับสารอาหารจากมารดาผ่านทางนมแม่ ซึ่งมารดาจำเป็นดูแลตนเองให้สมบูรณ์ หลีกเลี่ยงอาหารหรือการรับสารต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อทารก หลังหกเดือนแรก การเสริมให้อาหารตามวัยอย่างเหมาะสม ร่วมกับการให้นมแม่ต่อจนกระทั่งครบ 2 ปีหรือนานกว่านั้น ร่วมกับการสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีที่เอื้อต่อการพัฒนาการของทารก จะส่งเสริมให้ผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ช่วยให้ทารกมีไอคิวและทักษะการเรียนรู้ที่ดีกว่าการให้สารอาหารอื่นๆ1 ส่งผลชัดเจนขึ้นตามความสำคัญของ 1000 วันแรกของชีวิต

เอกสารอ้างอิง

  1. Belfort MB, Rifas-Shiman SL, Kleinman KP, et al. Infant feeding and childhood cognition at ages 3 and 7 years: Effects of breastfeeding duration and exclusivity. JAMA Pediatr 2013;167:836-44.

 

 

การให้วัคซีนแก่มารดาระหว่างการให้นมบุตร

407434_12078545_0

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้วัคซีนแก่มารดาในขณะที่ให้นมบุตร สามารถทำได้ ยกเว้นวัคซีนไข้เหลือง (yellow fever) ซึ่งจะเป็นโรคที่มักพบในแถบแอฟริกาและอเมริกาใต้ ซึ่งคนที่จำเป็นต้องเดินทางเข้าไปในเขตพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคนี้ จำเป็นจะต้องฉีดวัคซีน วัคซีนจะเป็นไวรัสที่มีชีวิตที่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลง พบมีรายงานการเกิดเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบในทารกที่มารดาได้รับวัคซีนไข้เหลือง1

? ? ? ? ? ? ? ?การฉีดวัคซีนหัดเยอรมันในมารดา พบไวรัสหัดเยอรมันจากวัคซีนในน้ำนม แต่ไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อนใดๆ ในทารก ดังนั้น จากข้อมูลที่มีในปัจจุบัน วัคซีนที่ใช้ปกติในประเทศไทย สามารถให้ได้ขณะที่มารดาให้นมบุตร แต่ในกรณีที่วัคซีนที่ฉีดให้กับมารดาเป็นเชื้อโรคที่มีชีวิตที่ถูกทำให้ฤทธิ์อ่อนลง และมารดาสงสัยว่าจะมีความเสี่ยงต่อทารกหรือไม่ ควรแจ้งแพทย์ผู้ดูแลว่า มารดาอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร และปรึกษาแพทย์ว่าสามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่อีกครั้ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการดูแลตนเองและทารก

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Kuhn S, Twele-Montecinos L, MacDonald J, Webster P, Law B. Case report: probable transmission of vaccine strain of yellow fever virus to an infant via breast milk. CMAJ 2011;183:E243-5.

 

การได้รับสารกัมมันตภาพรังสีระหว่างการให้นมบุตร

368231_9144185_0

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? โดยปกติ ขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตร มารดาควรหลีกเลี่ยงการได้รับสารกัมมันตภาพรังสี แต่ในบางกรณีอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยซึ่งต้องใช้การฉีดสารกัมมันตภาพรังสี เช่น แทคนีเซียม-99 สารนี้ใช้ในการตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ถึงร้อยละ 80 โดยอาจใช้ในการตรวจการไหลเวียนของเลือดในการตรวจการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ ตรวจสแกนกระดูก ตรวจการทำงานของตับ ถุงน้ำดี หรือไต หรือการสะสมของสารที่ต้องการตรวจวินิจฉัย สารนี้มีค่าครึ่งชีวิต 6 ชั่วโมง การแผ่กัมมันตภาพรังสีจะหมดใน 24 ชั่วโมง ดังนั้น ในมารดาที่ได้รับสารนี้เพื่อการตรวจวินิจฉัยอาจใช้วิธีการบีบน้ำนมเก็บแช่ตู้เย็น หากเก็บไว้นานเกิน 24 ชั่วโมง สารนี้จะสลายไป น้ำนมที่เก็บไว้สามารถใช้ได้ตามปกติ1

??????????????? แต่ในมารดาที่ได้รับสารกัมมันตภาพรังสีเพื่อการรักษา เช่น การรักษามะเร็งปากมดลูกโดยการฝังแร่ การให้สารไอโอดีนไอโซโทปเพื่อรักษามะเร็งธัยรอยด์ มารดาจำเป็นต้องงดการให้นมบุตร โดยระหว่างการรักษา มารดาอาจบีบน้ำนมทิ้ง เพื่อคงการสร้างน้ำนมในกรณีที่สารกัมมันตภาพรังสีมีค่าครึ่งชีวิตนาน เช่น ไอโอดีน-131 มีค่าครึ่งชีวิตนาน 14 วัน2 หรือ ไอโอดีน-125 มีค่าครึ่งชีวิตนาน 60 วัน หลังจากจบการรักษาจำเป็นต้องเว้นระยะการให้นมบุตรนานอย่างน้อย 4 เท่าของเวลาครึ่งชีวิต ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาในกรณีที่ได้รับสารกัมมันตภาพรังสีแต่ละตัวแตกต่างกันไป

? ? ? ? ? ? ?ดังนั้นโดยหลักการ การตรวจวินิจฉัยด้วยสารกัมมันตภาพรังสีควรหลีกเลี่ยง แต่หากจำเป็นต้องให้ต้องเว้นระยะการให้นมบุตรชั่วคราว โดยใช้การบีบเก็บน้ำนม เพื่อรอเวลาการสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสี สำหรับในกรณีที่ใช้สารกัมมันตภาพเพื่อการรักษา การเว้นระยะการให้นมบุตรอาจใช้เวลานาน มารดาควรพิจารณาทางเลือกของอาหารทารกอื่นๆ ด้วย โดยอาจใช้นมผสม หรือนมที่ได้รับการบริจาคจากธนาคารนมแม่

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Stabin MG, Breitz HB. Breast milk excretion of radiopharmaceuticals: mechanisms, findings, and radiation dosimetry. J Nucl Med 2000;41:863-73.
  2. Sisson JC, Freitas J, McDougall IR, et al. Radiation safety in the treatment of patients with thyroid diseases by radioiodine 131I : practice recommendations of the American Thyroid Association. Thyroid 2011;21:335-46.

 

 

การให้ยาดมสลบสำหรับการผ่าตัดคลอด

02090044

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้ยาดมสลบสำหรับการผ่าตัดคลอด ปกติแล้วทางเลือกในการให้ยาระงับความรู้สึกระหว่างการผ่าตัดคลอด หากไม่มีข้อจำกัด วิสัญญีแพทย์มักเลือกที่จะฉีดยาชาเข้าไขสันหลังพร้อมใส่ยาแก้ปวดมอร์ฟีนเข้าไปด้วย ซึ่งจะช่วยลดความเจ็บปวดหลังผ่าตัดคลอดนาน 24 ชั่วโมง และระหว่างผ่าตัดมารดาจะรู้สึกตัวโดยไม่ปวด สามารถดูหน้าลูกได้ กระตุ้นการเริ่มต้นการดูดนมแม่ได้ แต่ในกรณีที่มารดาจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้ยาดมสลบ มารดาจะไม่รู้สึกตัว และได้รับยาหลายอย่าง ได้แก่ ยากลุ่มที่เป็นแก๊ส คือ nitrous oxide, sevoflurane, desflurane และได้ยาฉีดที่นำสลบพร้อมยาที่ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ยากลุ่มที่เป็นแก๊สเหล่านี้อยู่ในกระแสเลือดมารดาช่วงสั้น และถูกกำจัดได้เร็ว จึงผ่านน้ำนมน้อย และไม่มีผลต่อทารก(1) สำหรับยานำสลบที่ใช้ส่วนใหญ่จะยาที่ออกฤทธิ์สั้น คือ midazolam ซึ่งค่าครึ่งชีวิตของยา 1-2 ชั่วโมง (2) ยาจึงผ่านไปทารกน้อยเช่นกัน ยาทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว ไม่มีรายงานว่ายาผ่านน้ำนม จึงใช้ได้ด้วยความปลอดภัย แต่ในกรณีที่มีการผ่าตัดนานก่อนที่จะสามารถทำคลอดทารกได้ ขนาดของยาที่ได้รับอาจสูงขึ้น ยาที่มารดาได้รับอาจมีผลต่อทารกได้ โดยทารกอาจง่วงซึม อ่อนเปลี้ย หายใจไม่ดี ซึ่งจำเป็นต้องเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งหมดฤทธิ์ของยาดมสลบ (ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มดมยาสลบจนกระทั่งทารกคลอดว่ายาวนานเพียงใด) ร่วมกับหากมารดาได้รับยาแก้ปวดมอร์ฟีนร่วมด้วย การเฝ้าดูแลทารกใน 6 ชั่วโมงแรกหลังคลอดจึงมีความจำเป็น

เอกสารอ้างอิง

  1. Esener Z, Sarihasan B, Guven H, Ustun E. Thiopentone and etomidate concentrations in maternal and umbilical plasma, and in colostrum. Br J Anaesth. 1992 Dec;69(6):586-8.
  2. Skidmore-Roth L, editor. Mosby?s 2015 nursing drug reference. 28th ed. Missouri: Elsevier inc; 2015.