การได้รับสารกัมมันตภาพรังสีระหว่างการให้นมบุตร

368231_9144185_0

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? โดยปกติ ขณะตั้งครรภ์และให้นมบุตร มารดาควรหลีกเลี่ยงการได้รับสารกัมมันตภาพรังสี แต่ในบางกรณีอาจมีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยซึ่งต้องใช้การฉีดสารกัมมันตภาพรังสี เช่น แทคนีเซียม-99 สารนี้ใช้ในการตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ถึงร้อยละ 80 โดยอาจใช้ในการตรวจการไหลเวียนของเลือดในการตรวจการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ ตรวจสแกนกระดูก ตรวจการทำงานของตับ ถุงน้ำดี หรือไต หรือการสะสมของสารที่ต้องการตรวจวินิจฉัย สารนี้มีค่าครึ่งชีวิต 6 ชั่วโมง การแผ่กัมมันตภาพรังสีจะหมดใน 24 ชั่วโมง ดังนั้น ในมารดาที่ได้รับสารนี้เพื่อการตรวจวินิจฉัยอาจใช้วิธีการบีบน้ำนมเก็บแช่ตู้เย็น หากเก็บไว้นานเกิน 24 ชั่วโมง สารนี้จะสลายไป น้ำนมที่เก็บไว้สามารถใช้ได้ตามปกติ1

??????????????? แต่ในมารดาที่ได้รับสารกัมมันตภาพรังสีเพื่อการรักษา เช่น การรักษามะเร็งปากมดลูกโดยการฝังแร่ การให้สารไอโอดีนไอโซโทปเพื่อรักษามะเร็งธัยรอยด์ มารดาจำเป็นต้องงดการให้นมบุตร โดยระหว่างการรักษา มารดาอาจบีบน้ำนมทิ้ง เพื่อคงการสร้างน้ำนมในกรณีที่สารกัมมันตภาพรังสีมีค่าครึ่งชีวิตนาน เช่น ไอโอดีน-131 มีค่าครึ่งชีวิตนาน 14 วัน2 หรือ ไอโอดีน-125 มีค่าครึ่งชีวิตนาน 60 วัน หลังจากจบการรักษาจำเป็นต้องเว้นระยะการให้นมบุตรนานอย่างน้อย 4 เท่าของเวลาครึ่งชีวิต ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาในกรณีที่ได้รับสารกัมมันตภาพรังสีแต่ละตัวแตกต่างกันไป

? ? ? ? ? ? ?ดังนั้นโดยหลักการ การตรวจวินิจฉัยด้วยสารกัมมันตภาพรังสีควรหลีกเลี่ยง แต่หากจำเป็นต้องให้ต้องเว้นระยะการให้นมบุตรชั่วคราว โดยใช้การบีบเก็บน้ำนม เพื่อรอเวลาการสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสี สำหรับในกรณีที่ใช้สารกัมมันตภาพเพื่อการรักษา การเว้นระยะการให้นมบุตรอาจใช้เวลานาน มารดาควรพิจารณาทางเลือกของอาหารทารกอื่นๆ ด้วย โดยอาจใช้นมผสม หรือนมที่ได้รับการบริจาคจากธนาคารนมแม่

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Stabin MG, Breitz HB. Breast milk excretion of radiopharmaceuticals: mechanisms, findings, and radiation dosimetry. J Nucl Med 2000;41:863-73.
  2. Sisson JC, Freitas J, McDougall IR, et al. Radiation safety in the treatment of patients with thyroid diseases by radioiodine 131I : practice recommendations of the American Thyroid Association. Thyroid 2011;21:335-46.