รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ?อาการซึมเศร้าที่พบหลังคลอดแบ่งเป็น 4 ลักษณะตามความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาการเกิดอาการซึมเศร้า และผู้ที่มีอาการ ซึ่งการดูแลในแต่ละลักษณะอาการ มีดังนี้1 ,2
อารมณ์เศร้าก่อนการให้นม หรือ Dysphoric Milk Ejection Reflux (D-MER) มารดาจะมีอาการเศร้า หดหู่ กระวนกระวาย ร้องไห้ โกรธ ความรู้สึกขาดความช่วยเหลือ หรือขาดความหวังก่อนที่จะให้นมบุตร อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่เพียงแค่สองหรือสามนาทีแล้วหายไป สาเหตุของอาการซึมเศร้าเชื่อว่าเกิดจากโดปามีน (dopamine) จะมีระดับที่ลดลง การดูแลอาการเศร้าก่อนการให้นมนั้น ทำโดยอธิบายให้มารดาเข้าใจถึงลักษณะการเกิดอาการ ให้ความมั่นใจ ดูแลเอาใจใส่ และลดความวิตกกังวลให้แก่มารดาร่วมกับความร่วมมือของครอบครัว ฝึกผ่อนคลาย หายใจเข้าออกลึกๆ ฟังดนตรีที่ชอบ หรือใช้กลิ่นบำบัด (aromatherapy) โดยอาจใช้เทียนหอมในกลิ่นลาเวนเดอร์ที่ช่วยให้มารดารู้สึกผ่อนคลายได้ อาการแปรปรวนก่อนการให้นมโดยทั่วไปจะดีขึ้นเองและหายเองเมื่อเวลาผ่านไปราว 2-3 เดือน โดยการให้นมแม่ยังสามารถให้ได้ปกติ
เอกสารอ้างอิง
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? อาการซึมเศร้าพบได้เมื่อมีสถานการณ์ที่ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป การคลอดเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของสตรีที่ต้องผ่านความยากลำบากในการเจ็บครรภ์และเบ่งคลอด โดยหลังคลอด มารดามักเหนื่อยและอ่อนล้า ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ที่ลดลงในระหว่างหลังคลอด จึงมักพบอาการซึมเศร้าได้บ่อยในมารดาหลังคลอด
? ? ? ? ? ?แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์อาจแยกอาการซึมเศร้าที่พบหลังคลอดเป็น 4 ลักษณะตามความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาการเกิดอาการซึมเศร้า และผู้ที่มีอาการ ได้แก่1 ,2
อารมณ์เศร้าก่อนการให้นม หรือ Dysphoric Milk Ejection Reflux (D-MER) มารดาจะมีอาการเศร้า หดหู่ กระวนกระวาย ร้องไห้ โกรธ ความรู้สึกขาดความช่วยเหลือ หรือขาดความหวังก่อนที่จะให้นมบุตร อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่เพียงแค่สองหรือสามนาทีแล้วหายไป สาเหตุของอาการซึมเศร้าเชื่อว่าเกิดจากโดปามีน (dopamine) จะมีระดับที่ลดลง
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum blues หรือ baby blues มารดาจะมีอาการเศร้า กระวนกระวาย ร้องไห้ ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อาการนี้มักพบในช่วง 2-3 วันหลังคลอด โดยอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปในสองสัปดาห์ สาเหตุเชื่อว่าเป็นจากการลดระดับของฮอร์โมนในช่วงหลังคลอด
โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum depression มารดาจะมีอาการซึมเศร้า ร้องไห้ ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเลี้ยงดูทารก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่วมกับมารดาอาจรู้สึกผิด โทษตัวเอง รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำร้ายตัวเองและทำร้ายบุตรได้ อาการนี้เกิดได้ในช่วงหลังคลอดเช่น แต่อาการมักยาวนานและต่อเนื่องกันนานกว่าสองสัปดาห์
โรคซึมเศร้าหลังคลอดของบิดา หรือ Paternal postpartum depression เป็นอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในบิดาในช่วงหลังคลอด ลักษณะจะมีอาการซึมเศร้า อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาการนี้มักพบในช่วงสามเดือนแรกหลังคลอด แต่มีรายงานว่าอาจพบได้ถึงในช่วง 1 ปีหลังคลอด เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายที่เกิดจากการเผชิญเหตุการณ์หลังคลอดร่วมกับความเสี่ยงจากบุคลิกภาพ1
เอกสารอ้างอิง
Paulson JF, Bazemore SD. Prenatal and postpartum depression in fathers and its association with maternal depression: a meta-analysis. JAMA 2010;303:1961-9.
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?โดยทั่วไป ขณะมารดาให้นมบุตรจะมีความกังวลเมื่อเจ็บป่วยและจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ความวิตกกังวลของมารดาส่วนใหญ่จะกลัวผลของยาที่ผ่านน้ำนมไปสู่ลูกจนเกิดอันตราย ซึ่งมีหลักการที่บุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งมารดาสามารถนำไปใช้ในการใช้ยาในช่วงให้นมบุตร ดังนี้
? ? ? ? ? ? ?1.ทบทวนความจำเป็น โดยพิจารณาว่า การใช้ยานั้นจำเป็นต้องใช้หรือไม่ และมีทางเลือกอื่นๆ ในการรักษาหรือไม่ โดยการปรึกษาแพทย์ รวมทั้งต้องแจ้งแพทย์ว่า ?มารดาให้นมบุตรอยู่? และขอให้แพทย์ช่วยพิจารณาในการเลือกใช้ยาตามความจำเป็น
? ? ? ? ? ? ?2.เลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์สั้น ไม่มีผลเสียต่อทารกหรือมีอาการข้างเคียงที่พบในทารกได้น้อย
? ? ? ? ? ? ?3.เลือกใช้ยาที่ผ่านน้ำนมน้อย ซึ่งทำให้ปริมาณที่ทารกได้รับน้อย ซึ่งจะลดโอกาสการเกิดอันตราย
? ? ? ? ? ? ?4.หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรรับประทานยาหลังการให้นมบุตร ซึ่งการเลือกรับประทานยาในช่วงนี้จะทำให้ร่างกายของมารดาสามารถจะกำจัดยาได้ในระยะเวลาราว 2-3 ชั่วโมงก่อนจะถึงเวลาที่จะให้นมมื้อต่อไป ขนาดของยาที่มารดารับประทานที่อยู่ในกระแสเลือดจะลดลง ทำให้ปริมาณยาที่ทารกจะได้รับ ลดลงด้วย
? ? ? ? ? ?ในกรณีที่มารดามีข้อสงสัยเรื่องข้อมูลของยาและผลกระทบต่อทารกในมารดาที่ใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตร หากต้องการศึกษาถึงรายละเอียด บุคลากรทางการแพทย์หรือมารดาอาจศึกษาจากเว็บไซด์ LactMed ซึ่งเป็นฐานของมูลที่ใช้ทางการแพทย์และมีความน่าเชื่อถือ ข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูล (ยกเว้นค่าอินเตอร์เน็ต) อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อจำกัดในเรื่องภาษาที่เป็นภาษาอังกฤษและการใช้ศัพท์ทางการแพทย์ซึ่งหากไม่คุ้นเคย อาจทำความเข้าใจยาก
เอกสารอ้างอิง
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?เชื้อซิก้าไวรัสเป็นไวรัสที่มีการติดต่อผ่านพาหะคือ ยุงสายพันธุ์ Aedes aegypti ?และ Aedes albopictus ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ไม่มีอาการ ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว เป็นผื่นแดง ปวดข้อ และมีตาแดง สำหรับอาการที่รุนแรงพบน้อย มีรายงานการติดเชื้อซิก้าไวรัสผ่านมารดาไปยังทารกระหว่างการตั้งครรภ์โดยอาจทำให้เกิดภาวะศรีษะเล็กในทารกและเกิดการแท้งได้โดยมีการพบไวรัสซิก้าในสมองของทารกที่ติดเชื้อและทารกที่เสียชีวิตจากการแท้ง มีรายงานว่าพบเชื้อไวรัสซิก้าในน้ำนม แต่ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อผ่านการกินนมแม่ ดังนั้น จากข้อมูลทั้งหมด ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (center for disease control) จึงยังแนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในพื้นที่ที่มีการติดเชื้อซิก้าไวรัส เนื่องจากประโยชน์ของนมแม่มีมากกว่าความเสี่ยงจากการติดเชื้อซิก้าไวรัส1
เอกสารอ้างอิง
Staples JE, Dziuban EJ, Fischer M, et al. Interim Guidelines for the Evaluation and Testing of Infants with Possible Congenital Zika Virus Infection – United States, 2016. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2016;65:63-7.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?โอเมก้า-3 และน้ำมันปลามีประโยชน์ในช่วงที่มารดาให้นมบุตร โดยเฉพาะในมารดาที่มีการขาดกรดไขมันเหล่านี้ ในสหรัฐอเมริกามีการสำรวจอาหารมารดาขณะตั้งครรภ์ให้นมบุตร พบว่ามีปริมาณโอเมก้า-3 น้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นการให้เสริมจะได้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังเนื่องจากโอเมก้า-3 และน้ำมันปลาจะได้จากปลาทะเลซึ่งในปัจจุบันมีการปนเปื้อนสารปรอทค่อนข้างมาก การจะรับประทานจำเป็นต้องทราบว่ามีการผ่านการตรวจสอบสารปรอทแล้วหรือยัง มิฉะนั้น สารปรอทอาจเป็นพิษต่อทารก และจะเกิดโทษมากกว่าผลดีที่ได้ สำหรับแหล่งของโอเมก้า-3 และน้ำมันปลาที่มักพบสารปรอทสูง ได้แก่ ปลาทู king mackerel ปลาทูน่าครีบสีฟ้า ปลาฉลาม ปลาปากดาบ ปลา albacore และปลา tilefish
เอกสารอ้างอิง
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)