คลังเก็บป้ายกำกับ: อาการซึมเศร้าหลังคลอด

อาการซึมเศร้าหลังคลอด

working women4

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? อาการซึมเศร้าพบได้เมื่อมีสถานการณ์ที่ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป การคลอดเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของสตรีที่ต้องผ่านความยากลำบากในการเจ็บครรภ์และเบ่งคลอด โดยหลังคลอด มารดามักเหนื่อยและอ่อนล้า ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ที่ลดลงในระหว่างหลังคลอด จึงมักพบอาการซึมเศร้าได้บ่อยในมารดาหลังคลอด

? ? ? ? ? ?แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์อาจแยกอาการซึมเศร้าที่พบหลังคลอดเป็น 4 ลักษณะตามความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาการเกิดอาการซึมเศร้า และผู้ที่มีอาการ ได้แก่1,2

  1. อารมณ์เศร้าก่อนการให้นม หรือ Dysphoric Milk Ejection Reflux (D-MER) มารดาจะมีอาการเศร้า หดหู่ กระวนกระวาย ร้องไห้ โกรธ ความรู้สึกขาดความช่วยเหลือ หรือขาดความหวังก่อนที่จะให้นมบุตร อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่เพียงแค่สองหรือสามนาทีแล้วหายไป สาเหตุของอาการซึมเศร้าเชื่อว่าเกิดจากโดปามีน (dopamine) จะมีระดับที่ลดลง
  2. ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum blues หรือ baby blues มารดาจะมีอาการเศร้า กระวนกระวาย ร้องไห้ ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อาการนี้มักพบในช่วง 2-3 วันหลังคลอด โดยอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปในสองสัปดาห์ สาเหตุเชื่อว่าเป็นจากการลดระดับของฮอร์โมนในช่วงหลังคลอด
  3. โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum depression มารดาจะมีอาการซึมเศร้า ร้องไห้ ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเลี้ยงดูทารก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่วมกับมารดาอาจรู้สึกผิด โทษตัวเอง รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำร้ายตัวเองและทำร้ายบุตรได้ อาการนี้เกิดได้ในช่วงหลังคลอดเช่น แต่อาการมักยาวนานและต่อเนื่องกันนานกว่าสองสัปดาห์
  4. โรคซึมเศร้าหลังคลอดของบิดา หรือ Paternal postpartum depression เป็นอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในบิดาในช่วงหลังคลอด ลักษณะจะมีอาการซึมเศร้า อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาการนี้มักพบในช่วงสามเดือนแรกหลังคลอด แต่มีรายงานว่าอาจพบได้ถึงในช่วง 1 ปีหลังคลอด เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายที่เกิดจากการเผชิญเหตุการณ์หลังคลอดร่วมกับความเสี่ยงจากบุคลิกภาพ1

เอกสารอ้างอิง

  1. Paulson JF, Bazemore SD. Prenatal and postpartum depression in fathers and its association with maternal depression: a meta-analysis. JAMA 2010;303:1961-9.
  2. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ed. The American Academy of Pediatrics 2016.