การดูแลอาการซึมเศร้าหลังคลอดกับการให้นมแม่ ตอนที่1

IMG_9420

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?อาการซึมเศร้าที่พบหลังคลอดแบ่งเป็น 4 ลักษณะตามความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาการเกิดอาการซึมเศร้า และผู้ที่มีอาการ ซึ่งการดูแลในแต่ละลักษณะอาการ มีดังนี้1,2

  1. อารมณ์เศร้าก่อนการให้นม หรือ Dysphoric Milk Ejection Reflux (D-MER) มารดาจะมีอาการเศร้า หดหู่ กระวนกระวาย ร้องไห้ โกรธ ความรู้สึกขาดความช่วยเหลือ หรือขาดความหวังก่อนที่จะให้นมบุตร อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่เพียงแค่สองหรือสามนาทีแล้วหายไป สาเหตุของอาการซึมเศร้าเชื่อว่าเกิดจากโดปามีน (dopamine) จะมีระดับที่ลดลง การดูแลอาการเศร้าก่อนการให้นมนั้น ทำโดยอธิบายให้มารดาเข้าใจถึงลักษณะการเกิดอาการ ให้ความมั่นใจ ดูแลเอาใจใส่ และลดความวิตกกังวลให้แก่มารดาร่วมกับความร่วมมือของครอบครัว ฝึกผ่อนคลาย หายใจเข้าออกลึกๆ ฟังดนตรีที่ชอบ หรือใช้กลิ่นบำบัด (aromatherapy) โดยอาจใช้เทียนหอมในกลิ่นลาเวนเดอร์ที่ช่วยให้มารดารู้สึกผ่อนคลายได้ อาการแปรปรวนก่อนการให้นมโดยทั่วไปจะดีขึ้นเองและหายเองเมื่อเวลาผ่านไปราว 2-3 เดือน โดยการให้นมแม่ยังสามารถให้ได้ปกติ

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.