คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

ภาวะอดออมของทารกในครรภ์กับการกินนมแม่

IMG_2977

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเกิดทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าจะส่งผลกระทบต่อโปรแกรมการเจริญเติบโตทางพันธุกรรมที่กำหนดไว้ โดยทำให้ทารกเกิดภาวะอดออม (thrifty phenotype) โดยมีการตั้งโปรแกรมใหม่ที่ปรับตัวให้เหมาะสมกับการใช้สารอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น เมื่อทารกเติบโตขึ้น การได้รับสารอาหารมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคต่างๆ เนื่องจากความคุ้นเคยจากที่กำหนดจากการตั้งโปรแกรมการเจริญเติบโตแบบอดออมของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ภาวะอดออมยังส่งผลทำให้ทารกเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดด้วย เพื่อเป็นกลไกในการลดอันตรายจากการขาดสารอาหารในครรภ์ แต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มขึ้นหลังคลอด

??????????? จากการศึกษาในสัตว์ทดลองที่มีรูปแบบคล้ายมนุษย์พบว่า ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าส่งผลทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เบาหวาน และความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งลักษณะเหล่านี้ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคทางเมตาบอลิก การตรวจสอบการตอบสนองของเซลล์เยื่อบุผิวของหลอดเลือดต่อ acetylcholine, nitroprusside, C-reactive protein, interleukin-6 (IL-6), tumor necrosis factor- ? (TNF- ? ) และ prenatal protein (Pre-PR) มีผลต่อความดันโลหิตสูงสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่สัปดาห์ของชีวิตในครรภ์ ซึ่งการให้ออกซิโตซินและการลด angiotensin II (ANG II) จะช่วยป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงที่จะปรากฎอาการในวัยผู้ใหญ่ได้ ดังนั้น นอกจากออกซิโตซินจะถูกเรียกว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความรักแล้ว ยังเป็นฮอร์โมนที่ดูแลรักษาหัวใจและหลอดเลือดด้วย ซึ่งออกซิโตซินสามารถที่จะกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดได้ และยังช่วยปกป้องหัวใจโดยช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้นหลังเกิดการขาดเลือดของหัวใจ และช่วยในกรณีที่เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจจากเบาหวาน

??????????? นมแม่มีประโยชน์ต่อทั้งทารก มารดา ครอบครัว และสังคม โดยมีสารอาหารที่ครบถ้วน มีภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อ ช่วยป้องกันภาวะอ้วน ช่วยลดการเกิดเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ นมแม่ยังถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการเหนือพันธุกรรม (epigenetics) คือ ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกของยีนโดยที่ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับของดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต โดยในนมแม่มีฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่มีผลต่อความดันโลหิตสูงที่จะเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. Vargas-Martinez F, Schanler RJ, Abrams SA, et al. Oxytocin, a main breastfeeding hormone, prevents hypertension acquired in utero: A therapeutics preview. Biochim Biophys Acta 2017;1861:3071-84.

 

กลุ่มอาการสมาธิสั้นของเด็กกับปัจจัยแวดล้อมในครรภ์และการกินนมแม่

IMG_3964

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? กลุ่มอาการสมาธิสั้น (attention deficit hyperactive disorders หรือ ADHD) เป็นความผิดปกติทางจิตประสาทที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางพฤติกรรมและจิตใจ การแสดงออกของอาการจะมีลักษณะขาดสมาธิในการจดจ่อในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีผลการเรียนจะต่ำ มีอารมณ์โกรธ ซึมเศร้า มีแรงกระตุ้นผลักดันให้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย อยู่ไม่สุก โดยอาการมักเริ่มต้นเห็นอาการในวัยเด็ก ความชุกของกลุ่มอาการสมาธิสั้นที่พบทั่วโลกพบร้อยละ 5-8 ซึ่งจะพบเด็กที่ยังคงมีอาการต่อเนื่องไปถึงวัยรุ่นประมาณครึ่งหนึ่งของความชุกที่พบ มีรายงานถึงผลกระทบที่เกิดจากการมีความผิดปกติในกลุ่มอาการสมาธิสั้น ได้แก่ ทำให้เสียการเรียน สูญเสียอาชีพและบทบาทของด้านสังคม เพิ่มโอกาสการใช้ยาเสพติด เพิ่มอุบัติเหตุจากการจราจร เพิ่มโอกาสเกิดโรคทางจิตประสาทอื่นๆ และเพิ่มค่าใช้จ่ายในภาพรวมของสังคม?

??????????? จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ได้แก่ ภาวะขาดสารอาหาร ความเครียดหรือภาวะกดดันสภาวะจิตหรือสังคม นิโคตินจากการสูบบุหรี่ การกินเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติดโคเคน ภาวะแทรกซ้อนและการบาดเจ็บที่ศีรษะของทารกจากการคลอด ภาวะขาดเลือดหรือออกซิเจนของทารกในครรภ์ รวมถึงภาวะต่างๆ ที่ส่งผลทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทำให้เกิดกลุ่มอาการสมาธิสั้น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคกลุ่มเมตาบอลิก (metabolic disease) ได้

??????????? การเกิดทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าจะส่งผลกระทบต่อโปรแกรมการเจริญเติบโตทางพันธุกรรมที่กำหนดไว้ โดยทำให้ทารกเกิดภาวะอดออม (thrifty phenotype) โดยมีการตั้งโปรแกรมใหม่ที่ปรับตัวให้เหมาะสมกับการใช้สารอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น เมื่อทารกเติบโตขึ้น การได้รับสารอาหารมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคต่างๆ เนื่องจากความคุ้นเคยจากที่กำหนดจากการตั้งโปรแกรมการเจริญเติบโตแบบอดออมของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ภาวะอดออมยังส่งผลทำให้ทารกเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดด้วย เพื่อเป็นกลไกในการลดอันตรายจากการขาดสารอาหารในครรภ์ แต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มขึ้นหลังคลอด

??????????? มีการศึกษาถึงผลของการให้ออกซิโตซินพบว่าช่วยหรือซ่อมแซมกลไกการเกิดการตั้งโปรแกรมอดออมของทารกได้1 ดังนั้น การให้ลูกได้กินนมแม่ ซึ่งมีการกระตุ้นออกซิโตซินตามธรรมชาติก็น่าจะมีส่วนช่วยในการลดการเกิดกลุ่มอาการสมาธิสั้นได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Vargas-Martinez F, Schanler RJ, Abrams SA, et al. Oxytocin, a main breastfeeding hormone, prevents hypertension acquired in utero: A therapeutics preview. Biochim Biophys Acta 2017;1861:3071-84.

 

ลักษณะการทำงานของมารดามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3989

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การกลับไปทำงานของมารดามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และยังเป็นสาเหตุหลักที่สำคัญในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากนี้ ลักษณะของงานที่มารดาทำยังมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย โดยในมารดาที่ทำงานในลักษณะชั่วโมงการทำงานปกติ กับมารดาที่ทำงานเป็นช่วงระยะเวลาหรือเป็นกะ โดยมีกะบ่ายหรือกะดึก หรือทำงานในช่วงระยะสั้น ไม่เต็มเวลา หรือทำงานเฉพาะเสาร์อาทิตย์ จะส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แตกต่างกัน โดยหากมารดาต้องทำงานเป็นช่วงเวลาหรือเป็นกะ การทำงานในกะบ่ายน่าจะมีดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สุด1 อย่างไรก็ตาม ในยุคที่มีการแข่งขันในเศรษฐกิจและทางสังคม การเลือกงานบางครั้งอาจทำได้ลำบาก การเตรียมความพร้อมของมารดาและครอบครัวให้พร้อมรับกับการกลับไปทำงานของมารดาจึงมีความสำคัญมากกว่า ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรเป็นที่พึ่งและให้คำปรึกษาในกรณีนี้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Zilanawala A. Maternal Nonstandard Work Schedules and Breastfeeding Behaviors. Matern Child Health J 2017.

 

การชักนำการคลอดอาจส่งผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3454

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในปัจจุบัน เมื่อมารดาอายุครรภ์ครบกำหนดคลอดและยังไม่มีการเจ็บครรภ์คลอด การชักนำการคลอดเป็นทางเลือกวิธีหนึ่งในการดูแลการคลอด ซึ่งควรจะทำตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ เนื่องจากการชักนำการคลอดจะใช้ยาที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโพสตราแกรนดิน (prostaglandin) ในร่างกายมารดาที่อาจมีผลต่อสมดุลของฮอร์โมนโปรแลคตินและออกซิโตซินในระยะหลังคลอดและพบคะแนนการประเมินภาวะซึมเศร้าของมารดาสูงกว่าในมารดาที่มีการชักนำการคลอด ซึ่งผลเหล่านี้มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาพบว่ามารดาที่ได้รับการชักนำการคลอดมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่ามารดาที่ไม่ได้ชักนำการคลอดที่ระยะสามเดือนหลังคลอด1 อย่างไรก็ตาม กลไกที่ชัดเจนในการอธิบายความเชื่อมโยงเหล่านี้ยังมีจำกัด แพทย์จึงควรยึดหลักที่สำคัญในการชักนำการคลอดตามข้อบ่งชี้ที่จำเป็น เพื่อลดผลเสียที่อาจมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Zanardo V, Bertin M, Sansone L, Felice L. The adaptive psychological changes of elective induction of labor in breastfeeding women. Early Hum Dev 2017;104:13-6.

 

สมุดคู่มือและการโทรศัพท์ติดตามช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3959

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้ความรู้แก่มารดามีผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น การให้สมุดคู่มือแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดาในระยะหลังคลอด ให้มารดาสามารถอ่านเนื้อหาความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลงข้อมูลการให้นมลูก และมีการแนะนำการแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งนี้น่าจะกระตุ้นเตือนถึงประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ นอกจากนี้การติดตามโทรศัพท์สอบถามเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเปิดโอกาสให้มารดาได้มีการสอบถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็น่าจะช่วยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เช่นกัน มีการศึกษาถึงผลของการให้สมุดคู่มือและการโทรศัพท์ไปสอบถามมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่าสามารถช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่สามเดือนหลังคลอด1 ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรเพิ่มระบบการให้บริการโดยการจัดการแจกสมุดคู่มือรวมทั้งการโทรศัพท์ติดตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Zakarija-Grkovic I, Puharic D, Malicki M, Hoddinott P. Breastfeeding booklet and proactive phone calls for increasing exclusive breastfeeding rates: RCT protocol. Matern Child Nutr 2017;13.