ภาวะอดออมของทารกในครรภ์กับการกินนมแม่

IMG_2977

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเกิดทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าจะส่งผลกระทบต่อโปรแกรมการเจริญเติบโตทางพันธุกรรมที่กำหนดไว้ โดยทำให้ทารกเกิดภาวะอดออม (thrifty phenotype) โดยมีการตั้งโปรแกรมใหม่ที่ปรับตัวให้เหมาะสมกับการใช้สารอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น เมื่อทารกเติบโตขึ้น การได้รับสารอาหารมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคต่างๆ เนื่องจากความคุ้นเคยจากที่กำหนดจากการตั้งโปรแกรมการเจริญเติบโตแบบอดออมของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ภาวะอดออมยังส่งผลทำให้ทารกเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดด้วย เพื่อเป็นกลไกในการลดอันตรายจากการขาดสารอาหารในครรภ์ แต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มขึ้นหลังคลอด

??????????? จากการศึกษาในสัตว์ทดลองที่มีรูปแบบคล้ายมนุษย์พบว่า ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าส่งผลทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เบาหวาน และความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งลักษณะเหล่านี้ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคทางเมตาบอลิก การตรวจสอบการตอบสนองของเซลล์เยื่อบุผิวของหลอดเลือดต่อ acetylcholine, nitroprusside, C-reactive protein, interleukin-6 (IL-6), tumor necrosis factor- ? (TNF- ? ) และ prenatal protein (Pre-PR) มีผลต่อความดันโลหิตสูงสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่สัปดาห์ของชีวิตในครรภ์ ซึ่งการให้ออกซิโตซินและการลด angiotensin II (ANG II) จะช่วยป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงที่จะปรากฎอาการในวัยผู้ใหญ่ได้ ดังนั้น นอกจากออกซิโตซินจะถูกเรียกว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความรักแล้ว ยังเป็นฮอร์โมนที่ดูแลรักษาหัวใจและหลอดเลือดด้วย ซึ่งออกซิโตซินสามารถที่จะกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดได้ และยังช่วยปกป้องหัวใจโดยช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้นหลังเกิดการขาดเลือดของหัวใจ และช่วยในกรณีที่เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจจากเบาหวาน

??????????? นมแม่มีประโยชน์ต่อทั้งทารก มารดา ครอบครัว และสังคม โดยมีสารอาหารที่ครบถ้วน มีภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อ ช่วยป้องกันภาวะอ้วน ช่วยลดการเกิดเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ นมแม่ยังถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการเหนือพันธุกรรม (epigenetics) คือ ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกของยีนโดยที่ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับของดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต โดยในนมแม่มีฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่มีผลต่อความดันโลหิตสูงที่จะเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. Vargas-Martinez F, Schanler RJ, Abrams SA, et al. Oxytocin, a main breastfeeding hormone, prevents hypertension acquired in utero: A therapeutics preview. Biochim Biophys Acta 2017;1861:3071-84.