คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

พลังของสื่อทางสังคมในการขับเคลื่อนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? สื่อทางสังคมอาจส่งผลกระทบได้ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ซึ่งในปัจจุบัน การสื่อสารยังไม่มีกำแพง ทุกคนสื่อถึงกันได้หมด แต่จะทำอย่างไรที่จะยืนยันว่าทุกคนได้รับรู้ ต้องมีกระบวนการตรวจสอบ ดังนั้น การสร้างระบบชลประทานของการสื่อสารที่ดี อยู่ที่นโยบายและการวางแผนที่เหมาะสม ?????????????

? ? ? ? ? ? ? ? การที่สื่อทางสังคมจะประสบความสำเร็จ มีคนเข้าชมมากนั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเขียนสารของผู้สื่อที่ตรงกับจริตของผู้รับสารนั้น ความน่าเชื่อถือของผู้สื่อ และผู้รับสารจะเชื่อถือมากขึ้น หากเป็นการสื่อที่มาจากประสบการณ์ตรงของผู้สื่อ นอกจากนี้ ความสม่ำเสมอ และวุฒิภาวะของผู้สื่อยังมีความสำคัญต่อการเลือกเสพสื่อของผู้รับสารด้วย

? ? ? ? ? ? ? ?ขั้นตอนของการทำสื่อทางสังคม ต้องมีการชี้ให้ชัดเจนถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับสาร โดยการจะสื่อสารกับใคร ต้องทำให้ตอบสนองความต้องการ (need) ของผู้รับสารได้ การเขียนหรือการพูดด้วยภาษาง่าย ๆ โดยการสื่อประเด็นเดียวอย่างเด่นชัด จะส่งผลให้ผู้รับสารจับประเด็นได้ชัดเจนและไม่พลาดหรือหลงประเด็น ส่วนแรงจูงใจที่จะทำให้คนสนใจเข้ามาเสพสื่อที่ส่งออกไปจะขึ้นอยู่กับ ลีลา จังหวะของการพูดหรือการเขียน อาจสื่อเป็นเรื่องเล่า หรือเป็นวิธีการทำ How to หรือเป็นเรื่องเม้าท์หรือเผือก ก็เป็นที่สนใจของผู้รับสารของสื่อทางสังคม อย่างไรก็ตาม ?สื่อที่สื่อสารออกไปต้องเป็นความจริง?

? ? ? ? ? ? หากจะนำพลังของสื่อทางสังคมมาใช้ในการขับเคลื่อนหรือรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต้องกำหนดเป้าหมายที่จะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้รับสาร ได้แก่

  • ผู้กำหนดนโยบาย
  • เจ้าหน้าที่ของรัฐ
  • ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • มารดาและครอบครัว
  • ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  • คนในสังคม

? ? ? ? ? ? ? การที่จะทำยุทธศาสตร์ที่สร้างจากพลังของสื่อทางสังคม ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สอดรับกับนโยบายและยุทธศาสตร์ใหญ่ ควรเลือกประเด็นเดียวที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนที่สุด โดยการตัดสินใจเลือกนั้นต้องอยู่บนฐานของข้อมูลและการศึกษาวิจัย พลังของการขับเคลื่อนอยู่ที่ความพร้อมเพรียงของทุกภาคส่วนที่สื่อในเรื่องเดียวกัน พร้อม ๆ กัน ในรูปแบบของตนเองที่จะสื่อกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการตรงกับผู้สื่อ เมื่อคลื่นของการขับเคลื่อนกระจายไปในทุกกลุ่มเป้าหมาย นั่นคือจะสร้างผลกระทบต่อสังคม และส่งผลต่อพฤติกรรมของคนในสังคมได้

ที่มาจาก การบรรยายของ คุณช่อผกา วิริยานนท์ และ พญ.จิราภรณ์ อรุณากูล ในงานการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

ปัจจัยขัดขวางการเริ่มต้นให้นมแม่

ผศ.ดร.พญ.ภัทรวลัย ตลึงจิตร

? ? ? ? ? ? ? ?จากการรวบรวมและวิเคราะห์ผลการศึกษาอย่างเป็นระบบในหลากหลายภูมิภาคของโลกพบว่ามีปัจจัยมากมายที่มีผลต่อการเริ่มต้นให้นมแม่ ซึ่งมีทั้งปัจจัยที่พบร่วมกัน และปัจจัยที่เฉพาะเจาะจงต่อภูมิภาคหรือวัฒนธรรมประจำถิ่น โดยสามารถแบ่งออกได้ ดังต่อไปนี้

ปัจจัยด้านภูมิประเทศ (Geographic factors)

? ? ? ? ? ? ? ความเป็นชุมชนเมืองหรือพื้นที่ชนบทมีผลต่อการเริ่มต้นให้นมแม่ที่แตกต่างกันไป? จากการเข้าถึงบริการทางการแพทย์สำหรับแม่และเด็กแตกต่างกัน

ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ (Socioeconomic factors)

  • ระดับความรู้และการศึกษาของคนในสังคมเป็นปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะความรู้ถึงประโยชน์ของการให้นมแม่ และความเสี่ยงของทารกที่ไม่ได้รับนมแม่ เช่น การเจ็บป่วยบ่อย
  • การศึกษา อาชีพและเศรษฐานะของแม่ในเอเชียใต้ก็มีผลต่อการเริ่มให้นมแม่ แม่และพ่อที่มีการศึกษาต่ำสัมพันธ์กับการเริ่มต้นให้นมแม่ช้า ในขณะที่สถานการณ์ทำงานของแม่และเศรษฐานะมีผลแย้งกันในแต่ละประเทศ นอกจากนี้วัฒนธรรมและความเชื่อทางศาสนา ตลอดจนความไม่เท่าเทียมทางเพศยังมีส่วนสำคัญมากต่อการเริ่มต้นให้นมแม่
  • บทบาทของพ่อ มีความสำคัญต่อการเริ่มต้นให้นมแม่ โดยการให้ความรู้เรื่องนมแม่แก่พ่อจะช่วยเพิ่มอัตราการให้นมแม่ถึงร้อยละ 20 และหากสอนให้พ่อช่วยส่งเสริมสนับสนุนการให้นมแม่ อัตราการการเริ่มต้นนมแม่ภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอดและให้นมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกจะสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการสอน
  • การกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก การให้นมด้วยขวดกลายเป็นสิ่งปกติ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของบริษัทขายนมผงดัดแปลงสำหรับทารกซึ่งแผ่อิทธิพลไปทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกต้องออกหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (International Code of Marketing of Breast- milk Substitutes) โดยการกินนมผงได้สร้างความเชื่อผิด ๆ ที่ว่าเด็กอ้วนหรือตัวโตคือเด็กแข็งแรง ทำให้แม่และคนรอบข้างส่งเสริมให้เด็กกินนมผงแทนนมแม่ เนื่องจากการกินนมผงจะทำให้เด็กมีโอกาสอ้วนมากกว่า
  • รายได้ของประเทศ ในประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางพบอัตราการเริ่มให้นมแม่ค่อนข้างสูง ส่วนในประเทศรายได้สูงการเริ่มต้นให้นมแม่มีความแตกต่างหลากหลายและพบมากในแม่ที่มีการศึกษาและฐานะดี

ปัจจัยส่วนบุคคล (Individual factors)

คุณลักษณะของทารก ได้แก่ ลำดับการเกิด เพศ มีผลต่อการเริ่มต้นนมแม่ โดยลูกคนแรกและลูกลำดับที่ห้าเป็นต้นไปมักได้รับนมแม่ช้า นอกจากนี้ทารกเพศชายซึ่งมักจะมีการจัดพิธีเฉลิมฉลองหลังคลอดตามความเชื่อ และทารกที่มีแม่อยู่ในวัยรุ่นมักได้รับนมแม่ล่าช้าเช่นเดียวกัน

ปัจจัยด้านสุขภาพ (Health related factors)

สุขภาพแม่หลังคลอดและทารกมีผลโดยตรงต่อการเริ่มให้นมแม่ แม่ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดบุตรหรือไม่รู้สึกตัว อ่อนเพลีย มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตสูง ตกเลือดหลังคลอด มีข้อจำกัดในการเริ่มต้นให้นมแม่ เช่นเดียวกับทารกที่มีน้ำหนักแรกคลอดน้อย คลอดก่อนกำหนด มีความพิการ หรือขาดออกซิเจน เนื่องจากแม่และทารกดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาตามภาวะแทรกซ้อน

แนวทางในการแก้ปัญหา

  • การให้ข้อมูลความรู้และการช่วยเหลือสนับสนุนแก่แม่หลังคลอด เรื่องการให้นมแม่โดยแพทย์ พยาบาล หรือบุคคลากรนอกวงการสาธารณสุขที่ได้รับการฝึกฝนและมีประสบการณ์เรื่องนมแม่ช่วยเพิ่มอัตราการให้นมแม่ภายใน 1 ชั่วโมงหลัง
  • การคลอดในสถานพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการได้รับการสนับสนุนเรื่องการให้นมแม่จากบุคลากรทางการแพทย์เป็นปัจจัยสำคัญในการเริ่มต้นการให้นมแม่ของแม่หลังคลอด

? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม การขาดกำลังคนของผู้ให้บริการ การที่ผู้ให้บริการต้องทำหลายหน้าที่ในเวลาเดียวกันยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการส่งเสริมการเริ่มต้นนมแม่? นอกจากนี้การปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมของผู้ให้บริการทางการแพทย์ยังเป็นอุปสรรคต่อการเริ่มนมแม่ เช่น การแยกแม่ลูกหลังคลอด การแจกตัวอย่างนมผงหรืออาหารเสริมแก่แม่หลังคลอด การผ่าคลอดโดยไม่มีข้อบ่งชี้ ?ในแต่ละสถานบริการจึงควรมีมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการปัจจัยเหล่านี้

  • การให้ข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ (multimedia) การใช้สื่อที่เหมาะสม รวมทั้ง social media ในการให้ความรู้และรณรงค์เรื่องการให้นมแม่ พบว่ามีส่วนในการสนับสนุนการให้นมแม่ภายใน 1 ชั่วโมงหลังคลอด อย่างไรก็ตามในประเทศที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เช่น ประเทศยากจนหรือแม่ที่มีฐานะยากจนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลจากวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ มาตรการเรื่องนมแม่ในระดับชุมชนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการจัดการปัญหานี้

เอกสารอ้างอิง

1. Khan J, Vesel L, Bahl R, Martines JC. Timing of breastfeeding initiation and exclusivity of breastfeeding during the first month of life: effects on neonatal mortality and morbidity?a systematic review and meta-analysis. Matern Child Nutr. 2015; 19:3.

2. Oakley L, Benova L, Macleod D, Lynch CA, Campbell OMR. Early breastfeeding practices: descriptive analysis of recent Demographic and Health Surveys. Matern Child Nutr. 2017 Oct 16. [Epub ahead of print]

3. Sharma IK, Byrne A. Early initiation of breastfeeding: a systematic literature review of factors and barriers in South Asia. Int Breastfeed J. 2016 Jun 18;11:17.

4. The Surgeon General’s Call to Action to Support Breastfeeding. Editors Office of the Surgeon General (US); Centers for Disease Control and Prevention (US); Office on Women’s Health (US). Source Rockville (MD): Office of the Surgeon General (US); 2011.

5. Balogun OO, O?Sullivan EJ, McFadden A, Ota E, Gavine A, Garner CD, Renfrew MJ, MacGillivray S. Interventions for promoting the initiation of breastfeeding. Cochrane Database of Systematic Reviews 2016, Issue 11. Art. No.: CD001688. DOI: 10.1002/14651858.CD001688.pub3.

6. Majra JP, Silan VK. Barriers to early initiation and continuation of breastfeeding in a tertiary care institute of Haryana: a qualitative study in nursing care providers. J Clin Diagn Res. 2016 Sep; 10(9): LC16?LC20. Published online 2016 Sep 1.

7. Tawiah-Agyemang C, Kirkwood BR, Edmond K, Bazzano A, Hill Z. Early initiation of breast-feeding in Ghana: barriers and facilitators. J Perinatol. 2008 Dec;28 Suppl 2:S46-52.

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

นมแม่ จุดเริ่มต้นของการพัฒนาความเฉลียวฉลาดของลูก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? นมแม่เป็นจุดเริ่มต้นของโครงสร้างสมองที่ดี โดยเด็กที่กินนมแม่จะมีการพัฒนาโครงสร้างทางกายภาพของสมองซึ่งจะเป็นรากฐานของความเฉลียวฉลาด (executive function) ที่จะบ่งบอกถึงการเลือกตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม และทำให้มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตสูงขึ้น ?องค์ประกอบของความเฉลียวฉลาดประกอบด้วยความสามารถของสมอง 5 ประการ ได้แก่

  • การตั้งเป้าหมาย (goal-directed) โดยจะมีการวางแผน การลำดับงาน และทำต่อเนื่องไปจนบรรลุเป้าหมาย
  • การควบคุมตนเอง (self-control) โดยจะมีสมาธิจดจ่อ ไม่หันไปทำสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • การปรับเปลี่ยนความยืดหยุ่นในความคิด (switching) โดยเปรียบเทียบคล้ายคลึงกับการเปลี่ยนเกียร์ของการทำงานของสมอง เพื่อรับมือกับปัญหาและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแสดงถึงความยืดหยุ่นในความคิด
  • ความสามารถในการจดจำการทำงาน (working memory) โดยการสามารถจะเรียกใช้ข้อมูลในสมองมาคิดหรือวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว ความสามารถในการจดจำข้อมูลไว้ชั่วคราว และการจัดการกับข้อมูลเหล่านั้นขณะที่ทำงาน
  • สติปัญญา (cognitive function) มีการใช้ความคิดและเหตุผลในการแก้ปัญหา

มีการศึกษาพบว่า นมแม่ช่วยในการพัฒนาความเฉลียวฉลาดได้จาก

  1. เพิ่มการทำงานของปลายประสาทให้มีความรวดเร็วขึ้น โคเลสเตอรอลที่มีในนมแม่จะช่วยสร้างไมยีลิน (myelin) ที่เป็นเปลือกหุ้มปลายประสาทที่จะช่วยให้การสื่อสารของเซลล์ประสาททำได้ดีและมีความรวดเร็วขึ้น
  2. เพิ่มเนื้อสมองส่วนที่เป็นสีขาวในสมองส่วนหน้า การเพิ่มสมองส่วนที่เป็นสีขาวในสมองส่วนหน้าในส่วน promotor และสมองส่วนที่ทำงานในส่วน association area จะช่วยประสานการเชื่อมโยงสัญญาณของระบบประสาทได้ดีขึ้น
  3. ช่วยบรรเทาการเกิดผลเสียจากภาวะเครียด (toxic stress) เนื่องจากภาวะเครียดจะส่งผลเสียที่เป็นพิษที่จะทำลายวงจรการพัฒนาของสมองส่วนหน้าและสมองที่ทำหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ ในระหว่างที่ทารกที่กินนมแม่จะช่วยลดภาวะเครียดที่เกิดกับทารกได้ ผลประโยชน์จะเกิดกับมารดาและทารก ได้แก่
  • ผลประโยชน์ต่อมารดา เกิดจากการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อ การเพิ่มของฮอร์โมนแห่งความรัก หรือออกซิโทซิน ความรักและผูกพันกับลูก ช่วยการกระตุ้นน้ำนม และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าหรือนอนไม่หลับ
  • ผลประโยชน์ต่อทารก ช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน ความรักและผูกพันกับมารดา เพิ่มระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล เพิ่มการไหลเวียนของเลือดและความเสถียร และลดผลเสียที่เกิดจากภาวะเครียด

??????????????? จากข้อมูลข้างต้นจะให้การสนับสนุนในเรื่องนมแม่กับการพัฒนาความเฉลียวฉลาด นอกจากนี้ ยังมีรายงานการวิจัยว่านมแม่ช่วยเพิ่มคะแนนความฉลาด (IQ) ซึ่งการพัฒนาคความฉลาดจะอยู่ในสมองส่วนเดียวกันกับความเฉลียวฉลาด โดยจะอยู่ในสมองส่วน fronto-parietal หากมีการตัดหรือทำลายสมองส่วนหน้าจะเกิดปัญหาต่อความเฉลียวฉลาดและคะแนนความฉลาดไปพร้อม ๆ กัน สิ่งนี้ช่วยยืนยันว่าการพัฒนาคะแนนความฉลาดจากการกินนมแม่น่าจะช่วยพัฒนาความเฉลียวฉลาดด้วย

ที่มาจาก การบรรยายของ อาจารย์พรพิไล เลิศวิชา และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

ความสัมพันธ์ของพังผืดใต้ลิ้นกับการดูดนมมารดา

มงคล เลาหเพ็ญแสง

นมแม่…แหล่งอาหารสำคัญของลูก

? ? ? ? ? ? ? ? ? เป็นที่ทราบกันดีว่า นมแม่เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับลูก โดยเฉพาะในเด็กวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน ทั้งสารอาหารที่มีประโยชน์ และภูมิต้านทานโรค นอกจากนี้ยังสะดวกและประหยัด ที่สำคัญระหว่างให้นมลูกนั้นเป็นช่วงเวลาคุณภาพที่ช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น คลินิกนมแม่ โรงพยาบาลศิริราชจึงรณรงค์การให้นมแม่อย่างต่อเนื่อง ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงลดน้อยลง ทว่าคลินิกนมแม่กลับพบปัญหาใหม่ นั่นคือคุณแม่จำนวนหนึ่งไม่สามารถให้นมลูกได้ เนื่องจากเด็กมีพังผืดใต้ลิ้น จากปัญหาดังกล่าว ทำให้แม่หลายคนตัดสินใจให้ลูกดูดนมจากขวดพลาสติกแทนการดูดจากเต้าตนเอง เพราะทนเจ็บไม่ไหว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเกิดความล้มเหลว จึงได้มีการวางแผนการรักษาด้วยการผ่าตัด และทำการวิจัยเปรียบเทียบวิธีการรักษาพังผืดใต้ลิ้นระหว่างการผ่าตัดโดยการดมยาสลบที่ทำมาแต่เดิม (frenuloplasty) และการผ่าตัดโดยการใช้ยาชาเฉพาะที่ (frenulotomy) ว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้เหมือนกันหรือไม่ เมื่อนำผลการรักษาทั้ง 2 วิธีมาเปรียบเทียบกันพบว่า การใช้ยาชาเฉพาะที่สะดวก รวดเร็ว ลดอัตราเสี่ยงจากการดมยาสลบ และที่สำคัญคือลดค่าใช้จ่าย ซึ่งค่ารักษาพยาบาลด้วยการดมยาสลบประมาณ 2,000 กว่าบาท แต่การใช้ยาชาเฉพาะที่ราคาจะประมาณ 200-300 บาท และเป็นการแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที ต่อมาจึงมีการพัฒนา Care Team Tongue Tie เพื่อให้การดูแลมีการเชื่อมโยงและต่อเนื่อง และได้มีการพัฒนา SIRIRAJ TONGUE-TIE SCORE (STT Score)

กำเนิด SIRIRAJ TONGUE-TIE SCORE

??????????????? เนื่องจากการวิจัยทำในเด็กจำนวน 1,500 ราย ทั้งยังเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ที่ยังไม่มีใครมีความรู้เรื่องนี้เลย ก่อนลงมือทำจึงต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการผ่าตัดรักษา จากผลการศึกษานำมาสู่การพัฒนา SIRIRAJ TONGUE-TIE SCORE ดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 SIRIRAJ TONGUE-TIE SCORE

???????????????? การพัฒนาเครื่องมือนนี้จะช่วยในการตัดสินใจในทำการผ่าตัดในเด็กที่มีปัญหาเรื่องการดูดนมไม่ได้เท่านั้น ถ้าในเด็กที่มีพังผืดเยอะ แต่ยังสามารถดูดนมแม่ได้เราก็จะไม่ผ่าตัด และเครื่องมือนี้จะสามารถช่วยเราวินิจฉัยได้ว่า คนไข้กลุ่มไหนที่ควรได้รับการผ่าตัด กลุ่มไหนไม่มีปัญหาเราก็ไม่ทำ

??????????????? ?เครื่องมือนี้คือเครื่องมือวัดปัญหาการดูดนมของเด็ก ความจริงอาจไม่ใช่ปัญหาเรื่องพังผืด หรือเรื่องลานหัวนมแม่ แต่อาจะเป็นปัญหาการอุ้มลูกไม่ถูกวิธี เพราะบางคนเป็นแม่ครั้งแรก ไม่เคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูก ซึ่งถ้าเราให้ความช่วยเหลือในเรื่องของการจัดท่าให้นม มารดาก็จะสามารถผ่านปัญหานี้ไปได้อย่างสบาย แถมไม่ต้องมีความเจ็บปวดจากการถูกลูกงับลานหัวนม ไม่ต้องมีปัญหาหัวนมแตก หรือเจ็บปวดด้วย แต่ถ้าขาดการช่วยเหลือ เด็กก็จะงับดูดนมแบบผิดวิธี หรือใช้เหงือกงับหัวนมแม่ และทำให้เด็กดูดนมได้ไม่ดี ทั้งที่ความจริงน่าจะดูดได้ดี?

??????????????? ความสำเร็จที่ได้รับจากการทำวิจัยในครั้งนี้ ?นอกจากจะช่วยยกระดับการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานขึ้น ผู้ป่วยได้รับประโยชน์ทั้งแม่และเด็กแล้ว ยังนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของทีมงาน และทำให้บุคลากรชื่นใจ

??????????????? ปัจจุบันศิริราชมีคลินิกดูแลเฉพาะพังผืดใต้ลิ้นอย่างครบวงจร? ทำการผ่าตัดรักษาช่วยให้ทารกที่มีปัญหา กลับมาดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ? โดยปลอดภัยไปมากกว่า 30,000 ราย? และยังเป็นสถานที่ฝึกอบรมบุคลากรทุกระดับออกไปรับใช้สังคมไทย? ช่วยเหลือส่งเสริมการเรื่องลูกด้วยนมมารดา อย่างต่อเนื่อง

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

 

ความเป็นไปได้ในการจ่ายค่าตอบแทน DRG ในการให้บริการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

กฤช ลี่ทองอิน

? ? ? ? ? ? ? วิธีการจ่ายเงินแก่ผู้ให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่สำคัญมี 3 วิธี คือ

1. จ่ายแบบเหมาจ่ายตามรายหัวประชากร (Capitation) สำหรับบริการผู้ป่วยนอก และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (บางส่วน)

2. จ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) เป็นการจ่ายตามรายป่วยสำหรับบริการผู้ป่วยใน

3. จ่ายตามผลการปฏิบัติงาน (Pay for performance) เช่น จ่ายตามรายกิจกรรม รายครั้ง รายบริการ รายชุดบริการ บริการถึงเป้าหมายที่กำหนด โดยจ่ายตามรายการในอัตราที่กำหนด (fee schedule) หรือจ่ายเป็นอุปกรณ์/ยา จ่ายในอัตราเหมาจ่ายตามชุดเหมาบริการ จ่ายเพิ่มพิเศษ (Bonus)

??????????????? บริการให้คำแนะนำการให้นมแม่/สาธิตการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เป็นกิจกรรมย่อยของบริการดูแลหลังคลอดภายใต้สิทธิประโยชน์บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งมีค่าใช้จ่ายรองรับแล้ว ในทางปฏิบัติการให้คำแนะนำการให้นมแม่มีการดำเนินการตั้งแต่ระยะหลังคลอดขณะอยู่ที่โรงพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ซึ่งอาจไม่เพียงพอในการสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยมีความจำเป็นต้องนัดต่อเนื่องแบบผู้ป่วยนอกเพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติมพร้อมไปกับการตรวจหลังคลอดหรือตรวจติดตามเด็ก หรืออาจแนะนำขณะเยี่ยมบ้าน

? ? ? ? ? ? ? การจ่ายแบบเหมาจ่ายตามรายหัว ถึงแม้ระบุว่ารวมบริการให้คำแนะนำนมแม่โดยไม่จ่ายเป็นการเฉพาะ จะไม่จูงใจต่อการให้บริการ หากจ่ายรวมใน DRG สำหรับผู้ป่วยในซึ่งเป็นผู้ป่วยระยะเฉียบพลันนั้น โดยทางทฤษฎีสามารถคิดรวมใน DRG ได้ แต่ลักษณะกิจกรรมเป็นรูปแบบการให้คำปรึกษาอาจไม่ส่งผลต่อค่าน้ำหนักสัมพัทธ์มากนักเมื่อเทียบกับกิจกรรมบริการอื่นๆ ทำให้ค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะได้เพิ่มไม่ชัดเจน ซึ่งไม่อาจสร้างแรงจูงใจในการบริการ การจ่ายตามผลการปฏิบัติงานโดยกำหนดชุดเหมาบริการให้คำแนะ นำการให้นมแม่พร้อมเงื่อนไขการบริการให้ชัดเจน และกำหนดอัตราเหมาจ่ายที่จูงใจพอควร น่าจะเป็นทาง เลือกในการสนับสนุนนโยบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ปรากฏเป็นจริง? นอกจากนั้น ยังมีเรื่องคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่และหน่วยบริการ ที่จะให้บริการและเบิกจ่าย รวมทั้งการตรวจสอบ ที่จะต้องพิจารณาโดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและที่เกี่ยวข้อง

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวิอร์ไซด์