คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

ข้อมูลงานวิจัยที่ช่วยฝ่าฟันอุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีงานวิจัยที่สนับสนุนการขับเคลื่อน การฝ่าฟันอุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่สนใจในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรศึกษา ได้แก่

  • การศึกษาทบทวนเรื่องการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างการฝากครรภ์เพื่อช่วยเพิ่มระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยแม้ว่าที่ผ่านมา จะเชื่อว่าการให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัวจะมีส่วนช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ที่จะยืนยันว่า การให้ความรู้ในระหว่างการฝากครรภ์จะช่วยเพิ่มการเริ่มการกินนมแม่ เพิ่มสัดส่วนหรืออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรืออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ระยะสามเดือนหรือหกเดือน หรือเพิ่มระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การอ่านการทบทวนบทความนี้จะมีความเข้าใจถึงการจัดการให้ความรู้ในระหว่างการฝากครรภ์ในรูปแบบต่าง ๆ และแนวโน้มของผลที่มีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1
  • การศึกษาอย่างเป็นระบบถึงการจัดการสาธารณสุขพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งพบว่าในประเทศที่กำลังพัฒนา การจัดโปรแกรมการให้ความรู้แก่มารดาช่วยเพิ่มอัตราการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะสั้น สำหรับการเยี่ยมบ้านหรือการโทรศัพท์ติดตามเยี่ยมมารดาจะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว2 นอกจากนี้ การจัดโปรแกรมให้ความรู้และติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยบุคลากรทางการแพทย์ยังช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดากลุ่มที่มีรายได้น้อยด้วย3
  • การให้การสนับสนุนในระดับชุมชนที่ช่วยพัฒนาการดูแลสุขภาพมารดาและทารก พบว่าการจัดบริการการติดตามเยี่ยมบ้านจากบุคลากรสาธารณสุขในชุมชนที่ได้รับการฝึกอบรม และการโทรศัพท์ติดตามสามารถช่วยสนับสนุนการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกได้4
  • ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นของมารดาว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้กับความรู้สึกว่านมแม่ไม่เพียงพอ ผลการศึกษาพบว่า หากมารดาที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงว่าสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ จะลดความรู้สึกว่านมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งมีผลต่อการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม5
  • การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และวิธีการให้นมแม่ จะมีข้อมูลระบาดวิทยาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประโยชน์ของนมแม่ต่อมารดาและทารก ประโยชน์ของนมแม่ต่อเศรษฐกิจ ระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารของมารดาและการใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตร บันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการบริหารจัดการในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมถึงบทบาทของกุมารแพทย์ที่มีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่6
  • การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดและพฤติกรรมการกินนมแม่ของทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนด พบว่าการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในทารกที่คลอดครบกำหนด7

ที่มาจาก การบรรยายของ ศ.คลินิก พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร และหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์ และการค้นคว้าเพิ่มเติม

เอกสารอ้างอิง

  1. 1. Lumbiganon P, Martis R, Laopaiboon M, Festin MR, Ho JJ, Hakimi M. Antenatal breastfeeding education for increasing breastfeeding duration. Cochrane Database Syst Rev 2016;12:CD006425.
  2. 2. Guise JM, Palda V, Westhoff C, et al. The effectiveness of primary care-based interventions to promote breastfeeding: systematic evidence review and meta-analysis for the US Preventive Services Task Force. Ann Fam Med 2003;1:70-8.
  3. 3. Ibanez G, de Reynal de Saint Michel C, Denantes M, Saurel-Cubizolles MJ, Ringa V, Magnier AM. Systematic review and meta-analysis of randomized controlled trials evaluating primary care-based interventions to promote breastfeeding in low-income women. Fam Pract 2012;29:245-54.
  4. 4. Lassi ZS, Das JK, Salam RA, Bhutta ZA. Evidence from community level inputs to improve quality of care for maternal and newborn health: interventions and findings. Reprod Health 2014;11 Suppl 2:S2.
  5. 5. Otsuka K, Dennis CL, Tatsuoka H, Jimba M. The relationship between breastfeeding self-efficacy and perceived insufficient milk among Japanese mothers. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2008;37:546-55.
  6. 6. Eidelman AI. Breastfeeding and the use of human milk: an analysis of the American Academy of Pediatrics 2012 Breastfeeding Policy Statement. Breastfeed Med 2012;7:323-4.
  7. 7. Thukral A, Sankar MJ, Agarwal R, Gupta N, Deorari AK, Paul VK. Early skin-to-skin contact and breast-feeding behavior in term neonates: a randomized controlled trial. Neonatology 2012;102:114-9.

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ

พยัพ แจ้งสวัสดิ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? บริษัทไทยซัมมิท ฮาร์เนส? นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง เป็นตัวอย่างหนึ่งในการบริหารจัดการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบการ

แนวคิดหลักการพัฒนางานนมแม่

? ????????????? ด้วยองค์กรของเราเป็นองค์กรแห่งความสุข มีการดำเนินกิจกรรม Happy Workplace ในองค์กร และการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นสอดคล้องในทุกมิติของการดำเนินกิจกรรม Happy Workplace จึงทำให้การพัฒนางานนมแม่ขับเคลื่อนไปพร้อมกับการดำเนินกิจกรรม Happy Workplace ในองค์กร โดยมีแนวคิดที่ว่า ?การดูแลพนักงานหญิงเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญ และเรามองว่าลูกพนักงานก็คือลูกของเรา เราจึงคาดหวังว่าลูกของเราจะต้องได้รับสิ่งที่ดีที่สุดตั้งแต่แรกเกิด นั่นคือ นมแม่? ทั้งนี้ทางบริษัทฯ ได้ใช้หลักการบริหารเพื่อให้การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เกิดผลสัมฤทธิ์ ดังนี้?

1. บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ รวมถึงการให้ทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกัน

2. ตัดวงจรการเข้าถึงนมผง หรือนมผงของพนักงานในองค์กร โดยไม่อนุญาตให้บริษัทผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายเข้ามาประชาสัมพันธ์ หรือแจกผลิตภัณฑ์ในองค์กร

3. บริษัทฯ สนับสนุนให้บุคลากรมีความรู้ โดยการส่งทีมงานเข้ารับการอบรมทั้งในหลักสูตร Facilitator และ Train the Trainer นมแม่ รวมถึงหลักสูตรอื่น ๆ ที่จัดโดยมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย เพื่อให้ทีมนี้สามารถให้คำแนะนำและเป็นวิทยากรนมแม่ของบริษัทฯ ได้

4. การจูงใจ การฝึกอบรมและการดูแล ติดตามพนักงานที่ตั้งครรภ์ โดยบริษัทฯ เรามีการขึ้นทะเบียนพนักงานที่ตั้งครรภ์และโทรศัพท์ติดตามเป็นระยะ รวมถึงให้คำแนะนำตั้งแต่แรกคลอดจนกระทั่งคลอดและเลี้ยงลูก โดยทีมงานที่บริษัทฯส่งไปอบรมนั่นเอง

5. การสนับสนุนให้พนักงานที่เป็นคุณแม่มาบีบหรือปั๊มนมได้โดยไม่จำกัดเวลา และจำนวนครั้ง ซึ่งสิ่งนี้ทำให้พนักงานนั้นมีความสบายใจและไม่รู้สึกอึดอัดที่ต้องสละเวลางานมาปั๊มนม

6. บริษัทฯ สนับสนุนอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการบีบหรือปั๊มนมให้กับพนักงานทั้งหมด โดยที่พนักงานไม่ต้องนำอุปกรณ์อะไรมาเลย

7. มีการจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการนำมาวิเคราะห์ เพื่อสร้างโอกาสการพัฒนาในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้มีประสิทธิผลอย่างต่อเนื่อง

8. พนักงานที่มาใช้บริการห้องนมแม่ทุกคน ทางบริษัทฯจะมีการมอบประกาศนียบัตรเป็นคุณแม่ที่เห็นคุณค่าในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อสร้างแรงจูงใจและความภาคภูมิใจให้กับพนักงาน

? ? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตามการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังต้องอาศัยการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง การแสวงหาความรู้ด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทีมงานมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในองค์กร รูปแบบการใช้ชีวิตที่หลากหลาย (Lifestyle) ของพนักงาน การสังเคราะห์องค์ความรู้ให้เข้าใจง่ายเพื่อใช้ในการสื่อสารให้กับพนักงาน พนักงานที่เป็นคุณแม่ เพื่อร่วมงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร และองค์กร ต้องสร้างความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งต่อเป้าหมายองค์กร และการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยในความสำเร็จที่มีความท้าทายต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขององค์กร

??????????????? ด้วยบริษัทฯ มีจำนวนพนักงานหญิงถึง 81% มีพนักงานที่ตั้งครรภ์ต่อปีโดยเฉลี่ย 120 คนและผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาสวัสดิการและคุณภาพชีวิตวัยแรงงานที่ครอบคลุมถึงครอบครัวของลูกจ้าง เพื่อยกระดับสู่งานที่มีคุณค่าประกอบกับได้รับคำเชิญชวนจากสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี ทางบริษัทฯ จึงสมัครเข้าร่วมโครงการจัดตั้งมุมนมแม่ในสถานประกอบการเมื่อปี พ.ศ.2552 และ มีการดำเนินการบริหารจัดการห้องนมแม่อย่างเต็มรูปแบบในปี 2554 โดย ดร.สาโรจน์ วสุวานิช รองประธานกรรมการบริหาร ได้ลงนามและประกาศนโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2554

? ? ? ? ? ? ? ? ขั้นตอนการปฏิบัติดูแลคุณแม่และการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเริ่มจากการขึ้นทะเบียนพนักงานที่ตั้งครรภ์ทุกคนและเปลี่ยนงานเป็นลักษณะงานเบาที่มีความปลอดภัย และนั่งทำงาน จากนั้นทุกคนจะได้รับการฝึกอบรมในหลักสูตรการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเตรียมความพร้อมสำหรับคุณแม่ อีกทั้งได้จัดให้มีคลินิกนมแม่ เพื่อเปิดสอนและให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทีมงานที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร นมแม่มือโปร จากมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย จากนั้นเมื่ออายุครรภ์ครบ 8 เดือนจนกระทั่งคลอด เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลห้องนมแม่จะทำการโทรศัพท์ติดตามพนักงานที่ขึ้นทะเบียนไว้ทุกคนเพื่อกระตุ้น จูงใจ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเก็บข้อมูลเพิ่มเติมหลังคลอดเกี่ยวกับสถานที่คลอด การให้นมแม่ และการเลี้ยงบุตรหลังคลอด ทั้งนี้เมื่อพนักงานกลับมาเริ่มงานก็จะมีการฝึกอบรมหน้างานในการใช้อุปกรณ์ให้กับพนักงานอีกครั้งหนึ่ง

??????????????? สถิติจำนวนพนักงานที่มาใช้บริการห้องนมแม่ตั้งแต่เปิดทำการมีทั้งหมด 133 คน ปริมาณน้ำนมที่ได้จากการปั๊มเก็บเท่ากับ 212,218 ออนซ์ หรือ 6,367 ลิตร ซึ่งมีพนักงานเข้ามาปั้มนมทั้งหมด 39,593 ครั้ง

??????????????? จำนวนสมาชิกที่มาใช้บริการห้องนมแม่ ณ ปัจจุบัน คือ 15 คน โดยทางบริษัทฯได้มีการส่งเสริมและกระตุ้นให้พนักงานที่เลี้ยงลูกอยู่ต่างจังหวัด ทำสต๊อกนม และส่งนมกลับบ้านไปให้ลูก ซึ่งปัจจุบันมีพนักงานส่งนมให้ลูกผ่านรถทัวร์โดยระยะทางที่ไกลที่สุดอยู่ที่จังหวัดเชียงราย ใช้เวลาประมาณ 12 ชม. สำหรับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการปั๊มนมที่บริษัทฯ จัดเตรียมให้นั้นประกอบด้วย เครื่องปั๊มนม ถุงเก็บน้ำนม ตู้แช่นม โต๊ะ เก้าอี้ โชฟา อุปกรณ์ฆ่าเชื้อทำความสะอาด เป็นต้นหรืออีกนัยหนึ่ง คือ พนักงานสามารถมาปั๊มนมโดยไม่ต้องนำอะไรติดตัวมาเลย และด้วยการบริหารจัดการห้องนมแม่ที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการมาทั้งหมดนี้ ทำให้บริษัทฯ ได้รับรางวัลมุมนมแม่ต้นแบบในสถานประกอบกิจการ รางวัลองค์กรนำร่องโครงการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตสตรีวัยทำงานและครอบครัว (เริ่มด้วยนมแม่) และจากการใช้เครื่องมือ Happinometer วัดระดับความสุขจากทุกมิติในปี 2559 พบว่ามีค่าคะแนนเท่ากับ 59.7 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบุคลากรในองค์กรอยู่ในระดับมีความสุข?

ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สะท้อนผ่าน สโลแกนในการบริหารจัดการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คือ ?กระตุ้นเตือน ตามติดชิดคุณแม่? โดยมีจุดเด่นคือ ผู้บริหารให้ความสำคัญ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยองค์ความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง ติดตาม จูงใจ แนะนำ และโน้มน้าวให้คุณแม่เห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม และมีระบบการส่งเสริมการจัดเก็บข้อมูลที่ชัดเจนทุกมิติ รอบด้านเพื่อการพัฒนา

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับสุขภาพของแม่

พ.อ.หญิง ผศ. พญ. ปริศนา? พานิชกุล

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการคุมกำเนิด

? ? ? ? ? ? ? ?การให้ลูกได้กินนมแม่จะช่วยในการคุมกำเนิด แต่จะใช้ได้ต้องมีเงื่อนไข 3 ประการ ได้แก่ มารดาต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว มารดาต้องยังไม่มีประจำเดือน และจะใช้ได้ในช่วงหกเดือนแรกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับกระดูก

??????????? ช่วงที่มารดาให้นมลูกอาจพบว่ามารดามีมวลกระดูกลดลง แต่หลังจากที่มารดาหยุดให้นมแม่แล้ว มวลกระดูกของมารดาจะกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม การกินอาหารที่เหมาะสมของมารดาทั้งในช่วงที่มารดาให้นมบุตรและในช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรมีปริมาณแคลเซียมที่พอเพียง

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับมะเร็งเต้านม

??????????? การที่มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมของมารดา และเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของมารดาแม้ในกรณีที่มารดาเป็นมะเร็งเต้านม

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการพัฒนาสมองของมารดา

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ในช่วง peripartum period พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองของแม่ในบางส่วนที่พิเศษที่อาจเรียกว่าเป็น ?วงจรไฟฟ้าของการเป็นแม่ (maternal circuitry)? ที่มีความจำเป็นต่อการเริ่มต้น ต่อการคงไว้ และการควบคุมพฤติกรรมของการเป็นแม่ เช่น การสร้างรัง การปกป้องลูก เป็นต้น? นอกจากนี้บางส่วนควบคุมความจำ การเรียนรู้ และการตอบสนองต่อความกลัวและความเครียด1 โดยส่วนหนึ่งของ maternal circuitry นี้คือระบบที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของแม่ (maternal motivational system) ที่พบในการศึกษาในหนูทดลองของ Numan M. 2 ที่พบส่วนของสมองที่เรียกว่า medial preoptic area (MPOA) ที่เป็นส่วนวิกฤติที่จะเป็นส่วนที่รวมสัญญานจากฮอร์โมนต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและการรับรู้ความรู้สึกที่เข้ามาในแม่นำไปสู่ maternal circuitry และยังมีส่วนของสมองที่เรียกว่า nucleus supraopticus (SON) ที่มีบทบาทสำคัญ1, 3

? ? ? ? ? การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองของแม่พบว่าขนาดของสมองส่วน pituitary จะขยายใหญ่ขึ้นขณะตั้งครรภ์และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอาจเป็นผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ รวมถึงที่บริเวณ MPOA และ SON และส่วนอื่นๆ และยังพบมีการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ (neurogenesis) ในสมองของแม่ซึ่งในปัจจุบันยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจน แต่คาดว่าเซลล์ประสาทใหม่เหล่านี้ทำงานประสานกับวงจรไฟฟ้าของการเป็นแม่เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว และน่าจะช่วยส่งเสริมความอ่อนตัวและการตอบสนองของแม่ต่อสิ่งกระตุ้นที่เฉพาะเจาะจงในสภาวะแวดล้อมใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการอย่างมากในช่วงเวลาที่สำคัญนี้ 1

การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของสมองของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ?ในช่วง peripartum period โดยเฉพาะช่วงที่มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของสมองของแม่ที่พบเป็นผลมาจากฮอร์โมนหลัก 2 ฮอร์โมนคือ โปรแลกติน (prolactin) และออกซิโทซิน (oxytocin) โดยพบว่าระบบของโปรแลกตินและออกซิโทซินจะถูกกระตุ้นอย่างมากในช่วงนี้ พบว่ามี oxytocin- และ prolactin- mRNA expression และ oxytocin ?receptor, prolactin -receptor expression สูงในเนื้อสมอง ซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอด การมีการสร้างน้ำนมแม่ (lactogenesis) และการหลั่งของน้ำนมแม่ (milk ejection) รวมทั้งการเกิดพฤติกรรมหรือสัญชาตญานการเป็นแม่ 1

  1. ฮอร์โมนโปรแลกติน รวมทั้งฮอร์โมนที่มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันคือ closely-related placental lactogen ที่สร้างจากรก พบว่าฮอร์โมนโปรแลกตินนอกจากจะมีบทบาทที่สำคัญในการเจริญของต่อมน้ำนมและในการสร้างน้ำนมแล้ว ยังพบว่ามีผลต่อสมองของแม่ในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและพฤติกรรมการเป็นแม่ในระยะหลังคลอด นอกจากนี้โปรแลกตินที่สูงยังมีผลให้เกิดการกดไม่ให้เกิดการตกไข่ในขณะที่ตั้งครรภ์และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อีกทั้งยังพบว่ามีบทบาทเฉพาะที่เกี่ยวกับการกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ในสมองของแม่ที่อาจช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมในด้านอารมณ์และพฤติกรรมการเป็นแม่ 4 โดยมีผลการศึกษาที่สนับสนุนว่าส่วนของสมองที่ตอบสนองต่อโปรแลกตินอยู่ที่ MPOA หากส่วนของ prolactin -receptor ที่ MPOA นี้หายไปจะมีผลให้เกิดการไม่สนใจที่จะดูแลเลี้ยงลูกในหนูทดลอง 3? ??
  2. ฮอร์โมนออกซิโทซิน เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการกระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อ (myoepithelial) ให้ต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมบีบน้ำนมออกจากเต้านม และยังมีผลกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกลดการตกเลือดในระยะหลังคลอด นอกจากนี้ออกซิโทซินยังมีบทบาทที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นแม่ในระยะหลังคลอด รวมถึงการก่อเกิดสายสัมพันธ์แม่-ลูก หรือเพิ่มพฤติกรรมความเป็นแม่ โดยทำงานร่วมกับโดปามีน (dopamine)1, 5 โดยส่วนของสมองที่มีเซลล์ประสาทที่มีออกซิโทซินสูงจะอยู่ที่ส่วน SON นอกจากนี้ยังพบว่า oxytocin ?receptor expression ที่สูงในเนื้อสมองส่งผลเพิ่มพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้น และยังมีส่วนสำคัญในการช่วยลดความเครียดของแม่ขณะให้นม (lactation-associated anxiolysis) ทำให้แม่สงบได้มากกว่า???????

? ? ? ?จะเห็นได้ว่าการทำงานของทั้ง 2 ฮอร์โมนคือ โปรแลกตินและออกซิโทซิน โดยทำงานร่วมกันถือเป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมเปลี่ยนแปลงบทบาทของแม่ในระยะหลังคลอด การจัดการกับความเครียดและความกังวล ช่วยส่งเสริมให้แม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในช่วงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเหมาะสม และอาจส่งผลให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ประสบผลสำเร็จเพิ่มมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Hillerer KM, Jacobs VR, Fischer T, Aigner L. The Maternal Brain: An Organ with Peripartal Plasticity. Neural Plasticity 2014, Article ID 574159, 20 pages. Available from: http://dx.doi.org/10.1155/2014/574159
  2. Numan M. Motivational systems and the neural circuitry of maternal behavior in the rat. Developmental Psychobiology 2007; 49 (1):12?21.
  3. Brown RSE, Aoki M, Ladyman SR, ?Phillipps HL, Wyatt A, Boehm U, et. al. Prolactin action in the medial preoptic area is necessary for postpartum maternal nursing behavior.? PNAS 2017; 114(40): 10779-84. Available from: pnas.org/cgi/doi/10.1073/pnas.1708025114
  4. Grattan D. A Mother?s Brain Knows. In: Neuro-endocrinology, briefing. J Neuroendocrinol.?2011;23(11):1188-9. doi: 10.1111/j.1365-2826.2011.02175.x.
  5. Cox EQ, Stuebe A, Pearson B, Grewen K, Rubinow D, Meltzer-Brody S. Oxytocin and HPA stress axis reactivity in postpartum women. Psychoneuroendocrinology 2015; 55: 164?172. doi:10.1016/j.psyneuen.2015.02.009.

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการวิจัย:จากงานประจำสู่งานวิจัยเพื่อรับใช้สังคม ตอนที่ 3

ศ.ดร.สุสัณหา ยิ้มแย้ม

การเขียนวัตถุประสงค์ คำถาม และสมมุติฐานของการวิจัย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย (research objective):? เป็นข้อความที่ระบุทิศทางของการแสวงหาความรู้และบอกภาพรวมของเป้าหมายที่ผู้วิจัยต้องการบรรลุ ซึ่งการเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยต้องบ่งบอกถึงพฤติกรรมที่ผู้วิจัยจะดำเนินการกับตัวแปรที่เป็นสถานการณ์ที่จะศึกษา

คำถามการวิจัย (research question)😕 เป็นคำถามที่ผู้วิจัยตั้ง ควรสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาการวิจัยและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้? ลักษณะคำถามการวิจัย ต้องเฉพาะเจาะจง (specific) สั้น (short) ชัดเจน (clear) คม (sharp) ไม่มีอคติ (non-bias) สิ่งสำคัญต้องเป็นประโยคคำถาม มีการระบุตัวแปรและประชากรที่ศึกษา และสามารถทำวิจัยเพื่อตอบปัญหาได้ โดยผลที่ได้จากการวิจัยต้องเป็นประโยชน์

สมมุติฐานการวิจัย (hypothesis): เป็นข้อความเขียนถึงผลการวิจัย ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะได้รับ? จุดมุ่งหมายที่สำคัญในการตั้งสมมุติฐาน เป็นการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีกับสถานการณ์จริงที่สังเกต เป็นการขยายขอบความรู้ ซึ่งเป็นการอนุมานมาจากทฤษฎี ช่วยชี้ทิศทางของการทำวิจัยให้ชัดเจน?

การกำหนดตัวแปรในการวิจัย: การกำหนดตัวแปรที่ดีจะนำไปสู่การสร้างเครื่องมือวัด และวิธีการวัดตัวแปรนั้น ๆ อย่างถูกต้องเหมาะสม? ซึ่งตัวแปรในการวิจัย เป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของบุคคลหรือสถานการณ์หรือมโนทัศน์ ที่ต้องการศึกษาที่แปรค่าได้ การเลือกตัวแปรที่เหมาะสมจะนำไปสู่การวิเคราะห์ผลได้ดีและส่งเสริมความน่าเชื่อถือของงานวิจัย

? ? ? ? ? ? ? ?โดยสรุปแล้วงานวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยที่น่าท้าทาย และไม่น่ายากจนเกินไป หากนักวิจัยและบุคลากรสุขภาพทุกท่านที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนางานประจำเพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงาน ให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในการทางที่ดียิ่งขึ้น อันจะส่งผลทั้งตัวผู้วิจัย องค์กรหรือหน่วยงาน ผู้รับบริการ และสังคมในวงกว้างต่อไป? ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่างานวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นงานวิจัยที่พัฒนามาจากงานประจำสู่งานวิชาการรับใช้สังคมที่ตอบสนองตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล

 

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการวิจัย:จากงานประจำสู่งานวิจัยเพื่อรับใช้สังคม ตอนที่ 2

ศ.ดร.สุสัณหา ยิ้มแย้ม

แนวทางในการพัฒนาหัวข้องานวิจัยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การพัฒนาหัวข้อ/โจทย์ในการวิจัย

? ? ? ? ? ?ในการพัฒนาโจทย์วิจัยอาจจะเริ่มจากปัญหา/คำถามวิจัยที่ได้จากงานประจำที่รับผิดชอบดำเนินการอยู่ และต้องการจะแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาต่อยอดหรือขยายผลงานที่ทำอยู่? โดยใช้กระบวนการหาคำตอบด้วยวิธีการที่น่าเชื่อถือ เพื่อใช้ตัดสินใจในการพัฒนาคนและพัฒนางานในระบบสุขภาพ? ทั้งนี้งานวิจัยนั้นจะต้องมีคุณลักษณะดังนี้

  • เป็นงานอิสระทางวิชาการและสามารถประยุกต์ใช้กับงานประจำ
  • เป็นเครื่องมือในการเปิดแนวคิดใหม่ๆ ในการทำงาน
  • ช่วยผู้ปฏิบัติงานในการสร้างความรู้และสามารถย้อนกลับมาช่วยงานประจำที่ทำอยู่
  • ไม่ควรยึดติดรูปแบบการวิจัย แต่ควรถูกต้องตามหลักวิชาการ
  • ไม่จำเป็นต้องได้องค์ความรู้ใหม่ทั้งหมด แต่เป็นการค้นหาวิธีการพื่อประยุกต์ใช้ในบริบทของผู้วิจัย
  • เป็นเครื่องมือการพัฒนาคนให้รู้จักพัฒนาฐานข้อมูล ใช้ข้อมูล และสามารถคิดเชิงระบบ
  • เป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมศักยภาพทำให้เข้าใจสภาพแวดล้อมที่รอบตัวมากขึ้น
  • ช่วยสร้างระบบพี่เลี้ยงในการทำวิจัย และเอื้อเฟื้อกันในการทำงานระหว่างนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานโดยตรง
  • สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานเพื่อทำให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้

การพัฒนาหัวข้อวิจัยและทำให้ปัญหาการวิจัยมีความชัดเจนนั้น มีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกประเด็นที่สนใจ อาจจะใช้จินตนาการ และลองเขียนแผนผังความคิด ซึ่งอาจจะเป็นหัวข้อกว้างๆ(general idea) ที่ยังไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม โดยไม่ต้องวิพากษ์ วิจารณ์ใด ๆ ในครั้งแรก พยายามให้ความคิดพรั่งพรู หลั่งไหลออกมาก่อน หลังจากนั้นค่อยมาพิจารณาคัดเลือก โดยใช้หลักการดังนี้
  • ความสนใจของผู้วิจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจที่จะทำ
  • ความแปลกใหม่ ไม่ซ้ำซ้อน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ /ต่อยอด
  • ปัญหามีความสำคัญ/ประโยชน์ต่อพัฒนางานด้านสุขภาพในหน่วยงาน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
  • เป็นคำถามที่สามารถหาคำตอบได้โดยใช้กระบวนการวิจัยได้
  • มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการทำวิจัย โดยคำนึงถึงระยะเวลาที่ศึกษา และกลุ่มเป้าหมาย อุปกรณ์ เครื่องมือ และสิ่งสนับสนุนต่าง ๆ ความร่วมมือจากบุคคลอื่นและหน่วยงาน งบประมาณ แหล่งสนับสนุน จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม ประสบการณ์และความชำนาญของผู้วิจัย
  1. ปรับหัวข้อที่กว้าง ให้แคบลง เป็นหัวข้อที่เฉพาะเจาะจง (specific topic) เพื่อนำไปสู่ปัญหาที่ทำวิจัยได้ โดยการตั้งถามว่า 5 W (Why, Who, What, Where, When) และ 1 H (How) ดังนี้
  • ทำไม (Why) ทำไมต้องศึกษาเรื่องนี้
  • ใคร (Who) ที่มีปัญหาหรือเป็นกลุ่มที่ต้องการการแก้ไขปัญหาหรือปรับปรุง
  • อะไร (What) เป็นปัจจัยที่เป็นสาเหตุหรือมีอิทธิพล หรืออะไรผลที่ตามมา
  • ที่ไหน (Where) ควรวิจัยหรือศึกษาเรื่องนี้ที่ไหน
  • เมื่อไหร่ (When) ควรวิจัยหรือศึกษาเรื่องนี้เมื่อไหร่
  • อย่างไร (How) วิธีการดำเนินงานวิจัยเป็นอย่างไร
  1. ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจ เพื่อให้ชัดเจนเกี่ยวกับความรู้ของหัวข้อนั้น เพื่อหาช่องว่างขององค์ความรู้ที่สนใจ และตั้งคำถามการวิจัยให้ชัดเจน
  2. เขียนปัญหาการวิจัยที่ชัดเจนรวมทั้งข้อมูลสนับสนุน โดยการเริ่มเขียนปัญหาการวิจัย อาจเป็นเพียง 2-3 ประโยคก่อน แล้วจึงขยายความเป็น ?ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา? ที่มีประกอบด้วยสาระสำคัญดังนี้ ความสำคัญของปัญหา (significant of problem) ภูมิหลัง (background) สถานการณ์ของปัญหาในปัจจุบัน และวิธีการดำเนินการศึกษาประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  3. ประเมินปัญหาการวิจัย ตามหลักการกำหนดปัญหาการวิจัย เพื่อพิจารณาคัดเลือกประเด็นที่สนใจซึ่งอาจจะมีหลายประเด็น ให้เหลือประเด็นที่เหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการทำวิจัย โดยใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้ ประเมินเช่นเดียวกันกับการเลือกหัวข้อวิจัย

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์