คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

การใช้ยาทางจิตเวชในระหว่างการให้นมบุตร

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?โรคทางจิตเวชในปัจจุบันพบมากขึ้นและมักมีการนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายของผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้ากันบ่อยขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยสตรีที่เป็นโรคทางจิตเวชอาจพบว่าอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ที่มีโอกาสตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรได้ในระหว่างที่ให้การรักษา จึงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการใช้ยาทางจิตเวชในระหว่างการให้นมบุตร ยาที่มีการใช้บ่อยในผู้ป่วยจิตเวช ได้แก่ ยาลดความวิตกกังวลหรือมักจะคุ้นเคยกับชื่อยาคลายเครียด ยาต้านภาวะซึมเศร้า ยารักษาโรคจิตเภทหรือยาที่ใช้รักษาอาการผู้ป่วยที่มีอารมณ์สองขั้ว (bipolar) ซึ่งผู้ป่วยจะมีลักษณะอาการสลับไปสลับมาระหว่างอารมณ์ดี หัวเราะหรือยิ้มอย่างสบายใจกับซึมเศร้า เหงาหงอย หรือร้องไห้ มีการศึกษาผลของการใช้ยาทางจิตเวชในสัตว์ทดลองที่ให้นมบุตรพบว่าอาจมีผลต่อพฤติกรรมทางเพศ เพิ่มความวิตกกังวล อาการอยู่ไม่สุก (hyperactivity) หรือพบว่ามีผลเสียต่อการเรียนรู้และความทรงจำของทารกเมื่อเจริญวัยขึ้น1 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมียาของโรคทางจิตเวชหลากหลายชนิด การที่จะให้คำแนะนำในการใช้ยาในระหว่างที่ให้นมบุตรได้อย่างเหมาะสม แพทย์ต้องพิจารณาจากข้อมูลการศึกษาวิจัยและชั่งน้ำหนักถึงข้อดีข้อเสียจากการหยุดใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตรและการกำเริบของอาการของโรค ดังนั้น การใส่ใจซักถามมารดาถึงโรคประจำตัวและการใช้ยาใด ๆ ประจำจึงมีความจำเป็นและเป็นข้อที่แพทย์ทุกคนควรใส่ใจปฏิบัติ

เอกสารอ้างอิง

  1. Zucker I. Psychoactive drug exposure during breastfeeding: a critical need for preclinical behavioral testing. Psychopharmacology (Berl) 2018.

การประเมินการเข้าเต้าของมารดาและทารก

ทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเมตาบอลิกสูงขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบันคนในสังคมมีโรคทางเมตาบอลิกเพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตยุคดิจิทัล โรคทางเมตาบอลิก ได้แก่ โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ซึ่งทำให้ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคทางหลอดเลือดสูงขึ้นที่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบมากที่สุดของการเสียชีวิตของผู้ใหญ่ มีการศึกษาพบว่า วิธีการคลอดมีผลต่อการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ในทารกได้ โดยทารกที่คลอดโดยการผ่าตัดคลอดจะมีความเสี่ยงที่จะมีการติดเชื้อ ผิวหนังอักเสบ และโรคทางเมตาบอลิกสูงกว่าทารกที่คลอดปกติทางช่องคลอด นอกจากนี้ หากทารกคลอดด้วยวิธีการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินจะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคทางเมตาบอลิกถึง 2.63 เท่า1 ดังนั้น หากมีการดูแลให้การคลอดมีอัตราการผ่าตัดคลอดที่เหมาะสมตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเมตาบอลิกในทารกซึ่งจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลอยู่แล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการป้องกันหรือช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากโรคเหล่านี้เมื่อทารกเจริญวัยขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Peters LL, Thornton C, de Jonge A, et al. The effect of medical and operative birth interventions on child health outcomes in the first 28 days and up to 5 years of age: A linked data population-based cohort study. Birth 2018.