คลังเก็บหมวดหมู่: ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิด

นมแม่ลดการเกิดเบาหวานได้อย่างไร

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                 นมแม่ลดการเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ในทารก โดยกลไกในการลดการเกิดเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากนมแม่มีสารที่ช่วยให้เกิดความสมบูรณ์และสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งจะป้องกันการเกิดเบาหวานชนิดที่ 11 สำหรับการป้องกันเบาหวานชนิดที่ 2 กลไกของป้องกันเบาหวาน ในทารกที่กินนมแม่จะมีกรดไขมันชนิดที่ไม่อิ่มตัวแบบสายยาว (long-chain polyunsaturated fatty acids หรือใช้คำย่อว่า LCPUFAs) มาก ปริมาณ LCPUFAs หากอยู่ในเยื่อบุเซลล์กล้ามเนื้อมากจะมีฤทธิ์ในการลดระดับน้ำตาลในช่วงที่งดน้ำและอาหาร (fasting glucose)2 นอกจากนี้ นมแม่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ช่วยควบคุมความอิ่มและสมดุลของพลังงาน3   ป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วย ดังนั้นด้วยกลไกเหล่านี้จึงทำให้พบเบาหวานได้น้อยลงในทารกที่กินนมแม่ 

เอกสารอ้างอิง

  1. Patelarou E, Girvalaki C, Brokalaki H, Patelarou A, Androulaki Z, Vardavas C. Current evidence on the associations of breastfeeding, infant formula, and cow’s milk introduction with type 1 diabetes mellitus: a systematic review. Nutr Rev 2012;70:509-19.
  2. Horta BL, de Lima NP. Breastfeeding and Type 2 Diabetes: Systematic Review and Meta-Analysis. Curr Diab Rep 2019;19:1.
  3. Pereira PF, Alfenas Rde C, Araujo RM. Does breastfeeding influence the risk of developing diabetes mellitus in children? A review of current evidence. J Pediatr (Rio J) 2014;90:7-15.

 

แพทย์ประจำบ้านสูตินรีเวชมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                ปัจจุบัน แพทย์ทั่วไปนิยมที่จะมีการฝึกอบรมเพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทางสูง ซึ่งการจะจบเป็นแพทย์เฉพาะทางต้องผ่านการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน แม้ว่าขณะที่ทำการฝึกอบรม จะไม่นิยมที่จะมีการตั้งครรภ์ แต่จากข้อมูลในต่างประเทศพบว่ามีการตั้งครรภ์ในระหว่างการอบรมแพทย์ประจำบ้านสูงขึ้น มีการศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มแพทย์ประจำบ้านในหลากหลายสาขาในสหรัฐอเมริกาพบว่า ในกลุ่มแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านสูตินรีเวชมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงโดยพบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับแพทย์ประจำบ้านสาขาอื่น และยังพบว่าแพทย์ประจำบ้านสูตินรีเวชมีปัญหาอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่าแพทย์ประจำบ้านสาขาอื่น1 สิ่งนี้น่าจะสะท้อนถึงความรู้ ทัศนคติที่มีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีอยู่ในหลักสูตรการฝึกอบรมที่อาจส่งผลต่อการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างไรก็ตาม บทบาทที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจต้องอาศัยแพทย์ในหลากหลายสาขา เนื่องจากในบางพื้นที่อาจไม่มีแพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช ดังนั้น การเพิ่มหัวข้อการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลงในพื้นฐานหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านที่ควรต้องทราบจึงน่าจะมีส่วนช่วยในการรณรงค์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Gupta A, Meriwether K, Hewlett G. Impact of Training Specialty on Breastfeeding Among Resident Physicians: A National Survey. Breastfeed Med 2019;14:46-56.

 

Breastfeeding case study 17

BF case study 17-1

BF case study 17-2

BF case study 17-3

ภาวะสับสนหัวนม


“ทารกสับสนหัวนม” (nipple confusion)เนื่องจากกลไกการดูดนมจากจุกนมของขวดนมแตกต่างจากการดูดนมจากเต้า ทารกจึงปฏิเสธการดูดนมจากเต้า การดูแลให้ทารกกลับมากินนมแม่ใหม่ต้องมีการฝึกฝนภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่