คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

การใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างการให้นมลูก

IMG_1629

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การให้ลูกกินนมแม่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะอ้วนในทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น โดยกลไกการเกิดจากการที่ทารกควบคุมการกินนมแม่ด้วยตนเอง ร่วมกับผลจากการดูดซึมและกลไกจากเชื้อแบคทีเรียที่เป็นเชื้อถิ่นที่มีประโยชน์ที่อยู่ในลำไส้กระตุ้นการทำงานและการเผาพลาญสารอาหารของร่างกาย การใช้ยาปฏิชีวนะในระยะช่วงทารกคลอดและหลังคลอดใหม่จะมีผลในการลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ได้ และอาจมีผลในการลดการได้ประโยชน์จากการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอ้วนของทารกได้1 ดังนั้น การพิจารณาการใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาและทารกในช่วงแรกของชีวิต อาจต้องใช้ตามความจำเป็นและข้อบ่งชี้ เพื่อให้ทารกได้ประโยชน์จากการกินนมแม่อย่างเต็มที่

เอกสารอ้างอิง

  1. Korpela K, Salonen A, Virta LJ, Kekkonen RA, de Vos WM. Association of Early-Life Antibiotic Use and Protective Effects of Breastfeeding: Role of the Intestinal Microbiota. JAMA Pediatr 2016.

การให้ลูกกินนมแม่ลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว

IMG_1697

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การให้ลูกกินนมแม่จะลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวที่ต้องใช้ในการซื้อนมผงดัดแปลงสำหรับทารกซึ่งใช้ราว 1 ใน 3 ของเงินเดือนขั้นต่ำของค่าจ้างแรงงานมาตรฐานของประเทศ นอกจากนี้ ยังลดค่าใช้จ่ายจากการสูญเสียค่ารักษาพยาบาลในการรักษาอาการท้องเสีย และปอดบวมได้ถึง 293 ล้านดอลล่าร์ต่อปี และลดค่าใช้จ่ายในจากการสูญเสียความฉลาดและโอกาสที่จะหารายได้ในอนาคตราว 1.6 พันล้านดอลล่าร์ต่อปีป ในกลุ่มประชากรในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนม่า อินโดนิเซีย และติมอร์ เลสเต

เอกสารอ้างอิง

  1. UNICEF, Alive &thrive. Cost of not breastfeeding.

การให้ลูกกินนมแม่ลดอัตราการตายของทารก

IMG_1647

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม เมียนม่า อินโดนิเซีย และติมอร์ เลสเต จากการคำนวณวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ในทารกแรกเกิดถึงสองปี หากกินนมแม่จะลดอัตราการเสียชีวิตของทารกจากการท้องเสียและปอดบวมลงได้กว่าร้อยละ 50 โดยหากคิดเป็นจำนวนคนจะป้องกันการเสียชีวิตของทารกได้มากกว่า 10700 รายต่อปี และหากมารดาให้นมทารกถึงสองปีได้ร้อยละ 90 จะลดการเสียชีวิตของมารดาจากมะเร็งเต้านมได้ถึงร้อยละ 10 ดังนั้น นอกจากลดอัตราการตายของทารก นมแม่ยังลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาจากมะเร็งเต้านมได้

เอกสารอ้างอิง

  1. UNICEF, Alive &thrive. Cost of not breastfeeding.

อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในไทยต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

BF in southeast asia

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในสภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำและมีการแข่งขันสูง ครอบครัวต้องดิ้นรน ทั้งสามีและภรรยาต้องทำงานนอกบ้าน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจจะมองเป็นเรื่องรอง ทั้งๆ ที่ความจริง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดค่าใช้จ่ายของครอบครัวได้มากกว่า จากทั้งค่านมผงดัดแปลงสำหรับทารกและภูมิคุ้มกันที่ช่วยสร้างสุขภาพที่ดีให้กับทารก ทำให้เจ็บป่วยน้อยและลดภาระค่ารักษาพยาบาลของทารก จากการสำรวจขององค์การยูนิเซฟในปี พ.ศ.2551-2555 พบว่า ประเทศไทยมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุดนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องตระหนัก เนื่องจากการให้ลูกได้กินนมแม่เป็นรากฐานของการพัฒนาประชากรที่มีความคุ้มค่ามากที่สุดในการลงทุน ดังนั้น การช่วยกันรณรงค์สร้างสังคมที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสังคมไทยจึงต้องเป็นหน้าที่ของทุกๆ คนที่จะช่วยให้เด็กไทยได้กินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. UNICEF, Alive &thrive. Cost of not breastfeeding.

การให้นมแม่ในทารกที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ตอนที่ 3

IMG_1586

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในทารกที่มีความพร้อมในการดูดนมจากเต้า มารดาอาจจะต้องใช้ผ้าหรือหมอนช่วยประคองหรือหนุนให้ศีรษะและลำตัวทารกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้มือของมารดาว่างที่จะใช้ประคองคางหรือศีรษะโดยใช้ท่าที่ประคองในลักษณะ dancer hand position ซึ่งนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจะช่วยพยุงคางทารก ขณะที่นิ้วที่เหลือจะช่วยประคองเต้านม ในขณะเดียวกันอาจใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือช่วยในการบีบน้ำนมในขณะทารกกำลังดูดนมได้ด้วย

? ? ? ? ? ?ควรกระตุ้นให้ทารกดูดนมวันละ 8-12 ครั้ง และให้มารดาโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ เมื่อทารกดูดนมจากเต้านมได้ ต้องมีการติดตามดูเจริญเติบโตของทารก โดยทารกกลุ่มอาการดาวน์จะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าทารกปกติ การติดตามควรใช้กราฟการเจริญเติบโตของทารกกลุ่มอาการดาวน์ที่มีการนำเสนในปี ค.ศ. 20151

? ? ? ? ? ?อย่างไรก็ตาม ในทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนและจำเป็นได้รับการดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต ในช่วงแรกอาจจะยังกินนมไม่ได้ การใช้นมแม่ป้ายปากทารกจะช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกัน และการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อจะช่วยในพัฒนาการของระบบประสาท รักษาอุณหภูมิของร่างกาย และป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำได้ด้วย โดยมารดาต้องฝึกการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมเพื่อคงการสร้างน้ำนมเพื่อรอความพร้อมก่อนทารกจะสามารถดูดนมจากเต้าได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Thomas J, Marinelli KA, Academy of Breastfeeding M. ABM Clinical Protocol #16: Breastfeeding the Hypotonic Infant, Revision 2016. Breastfeed Med 2016.