คลังเก็บป้ายกำกับ: การให้นมแม่ในทารกที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ตอนที่ 1

การให้นมแม่ในทารกที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ตอนที่ 3

IMG_1586

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในทารกที่มีความพร้อมในการดูดนมจากเต้า มารดาอาจจะต้องใช้ผ้าหรือหมอนช่วยประคองหรือหนุนให้ศีรษะและลำตัวทารกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้มือของมารดาว่างที่จะใช้ประคองคางหรือศีรษะโดยใช้ท่าที่ประคองในลักษณะ dancer hand position ซึ่งนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจะช่วยพยุงคางทารก ขณะที่นิ้วที่เหลือจะช่วยประคองเต้านม ในขณะเดียวกันอาจใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือช่วยในการบีบน้ำนมในขณะทารกกำลังดูดนมได้ด้วย

? ? ? ? ? ?ควรกระตุ้นให้ทารกดูดนมวันละ 8-12 ครั้ง และให้มารดาโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ เมื่อทารกดูดนมจากเต้านมได้ ต้องมีการติดตามดูเจริญเติบโตของทารก โดยทารกกลุ่มอาการดาวน์จะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าทารกปกติ การติดตามควรใช้กราฟการเจริญเติบโตของทารกกลุ่มอาการดาวน์ที่มีการนำเสนในปี ค.ศ. 20151

? ? ? ? ? ?อย่างไรก็ตาม ในทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนและจำเป็นได้รับการดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต ในช่วงแรกอาจจะยังกินนมไม่ได้ การใช้นมแม่ป้ายปากทารกจะช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกัน และการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อจะช่วยในพัฒนาการของระบบประสาท รักษาอุณหภูมิของร่างกาย และป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำได้ด้วย โดยมารดาต้องฝึกการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมเพื่อคงการสร้างน้ำนมเพื่อรอความพร้อมก่อนทารกจะสามารถดูดนมจากเต้าได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Thomas J, Marinelli KA, Academy of Breastfeeding M. ABM Clinical Protocol #16: Breastfeeding the Hypotonic Infant, Revision 2016. Breastfeed Med 2016.

การให้นมแม่ในทารกที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ตอนที่ 2

IMG_1585

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ทารกที่พบมีปัญหาภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยที่พบได้บ่อย ได้แก่ ทารกที่คลอดก่อนกำหนด และทารกกลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) สำหรับขั้นตอนในการดูแลทารกที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ได้แก่?

  • ในระยะฝากครรภ์ หากมารดามีความเสี่ยงต่อการเกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือตรวจวินิจฉัยก่อนการคลอดพบทารกกลุ่มอาการดาวน์ที่มารดาต้องการดูแลการตั้งครรภ์ต่อ ควรมีการให้คำปรึกษาถึงความจำเป็น ความสำคัญและประโยชน์ของนมแม่ในทารกเหล่านี้ ซึ่งการอธิบายเบื้องต้นให้มารดาเข้าใจถึงปัญหากล้ามเนื้อตึงตัวน้อยในทารกเหล่านี้? มารดาจะเป็นผู้ช่วยอย่างดีในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ในระยะคลอด ให้ความรู้ถึงกระบวนการที่จะช่วยให้ทารกได้กินนมแม่ได้ดีขึ้น โดยการใช้การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อและกระตุ้นการดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด โดยควรเริ่มต้นภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด การเริ่มต้นควรเริ่มต้นให้เร็วที่สุดเท่าที่เร็วได้เมื่อทารกอยู่ในสภาวะคงที่ และทำในขณะที่มารดาตื่นตัว ไม่ง่วงซึมจากฤทธิ์ของยาสลบหรือยาแก้ปวด
  • ในระยะหลังคลอด ควรมีการประเมินทารกว่ามีความพร้อมในการดูดนมจากเต้านมเองหรือไม่ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประเมิน โดยหากมีความพร้อม จึงจัดท่าและช่วยมารดาขณะให้นม แต่หากทารกยังไม่มีความพร้อม การสอนมารดาให้บีบเก็บน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมอาจมีความจำเป็น และใช้การป้อนนมทารกด้วยถ้วยหรือใช้อุปกรณ์ป้อนนมที่ประกอบด้วยสายยางต่อกับหลอดฉีดยาช่วยในการให้นมทารก

เอกสารอ้างอิง

  1. Thomas J, Marinelli KA, Academy of Breastfeeding M. ABM Clinical Protocol #16: Breastfeeding the Hypotonic Infant, Revision 2016. Breastfeed Med 2016.

การให้นมแม่ในทารกที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ตอนที่ 1

IMG_1626

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย (hypotonia) ก่อนที่จะอธิบายเรื่องภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ควรต้องเข้าใจความหมายของแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อก่อน (muscle tone) ซึ่งแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อนั้น คือแรงต้านทานการออกแรงยืดกล้ามเนื้อในขณะที่กล้ามเนื้ออยู่ในระยะพัก โดยแรงต้านของกล้ามเนื้อจะมีขนาดพอเหมาะในสภาวะปกติเพื่อให้การคงอยู่ของตำแหน่งของกล้ามเนื้อทำได้ดี เมื่อแรงต้านของกล้ามเนื้อนี้มีน้อยกว่าปกติจะถือว่ามีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ซึ่งในการให้ทารกกินนมแม่ ทารกอาจมีแรงดูดที่อ่อนแรง หรือต้องพึ่งพามารดาในการประคองคอหรือศีรษะมากขึ้น เพื่อช่วยให้ตำแหน่งการกินและดูดนมทารกทำให้อย่างเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Thomas J, Marinelli KA, Academy of Breastfeeding M. ABM Clinical Protocol #16: Breastfeeding the Hypotonic Infant, Revision 2016. Breastfeed Med 2016.