การให้นมแม่ในทารกที่มีภาวะกล้ามเนื้อตึงตัวน้อย ตอนที่ 3

IMG_1586

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในทารกที่มีความพร้อมในการดูดนมจากเต้า มารดาอาจจะต้องใช้ผ้าหรือหมอนช่วยประคองหรือหนุนให้ศีรษะและลำตัวทารกอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้มือของมารดาว่างที่จะใช้ประคองคางหรือศีรษะโดยใช้ท่าที่ประคองในลักษณะ dancer hand position ซึ่งนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือจะช่วยพยุงคางทารก ขณะที่นิ้วที่เหลือจะช่วยประคองเต้านม ในขณะเดียวกันอาจใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือช่วยในการบีบน้ำนมในขณะทารกกำลังดูดนมได้ด้วย

? ? ? ? ? ?ควรกระตุ้นให้ทารกดูดนมวันละ 8-12 ครั้ง และให้มารดาโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อบ่อยๆ เมื่อทารกดูดนมจากเต้านมได้ ต้องมีการติดตามดูเจริญเติบโตของทารก โดยทารกกลุ่มอาการดาวน์จะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าทารกปกติ การติดตามควรใช้กราฟการเจริญเติบโตของทารกกลุ่มอาการดาวน์ที่มีการนำเสนในปี ค.ศ. 20151

? ? ? ? ? ?อย่างไรก็ตาม ในทารกที่มีภาวะแทรกซ้อนและจำเป็นได้รับการดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต ในช่วงแรกอาจจะยังกินนมไม่ได้ การใช้นมแม่ป้ายปากทารกจะช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกัน และการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อจะช่วยในพัฒนาการของระบบประสาท รักษาอุณหภูมิของร่างกาย และป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำได้ด้วย โดยมารดาต้องฝึกการบีบเก็บน้ำนมด้วยมือหรือปั๊มนมเพื่อคงการสร้างน้ำนมเพื่อรอความพร้อมก่อนทารกจะสามารถดูดนมจากเต้าได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Thomas J, Marinelli KA, Academy of Breastfeeding M. ABM Clinical Protocol #16: Breastfeeding the Hypotonic Infant, Revision 2016. Breastfeed Med 2016.