คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

การขาดวิตามินบี 12 ในมารดาที่ให้นมแม่ที่กินมังสวิรัติ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ในมารดาที่กินอาหารมังสวิรัติมีโอกาสเสี่ยงที่จะขาดวิตามินบี 12 โดยเนื่องจากวิตามินบี 12 มักมีในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบในอาหารจำพวกปลา หอย และผลิตภัณฑ์นม ในมารดาที่ให้นมบุตรที่ขาดวิตามินบี 12 ก็มีโอกาสที่ทารกจะกินนมแม่จะขาดวิตามินบี 12 ด้วย ในทารกที่ขาดวิตามินบี 12 จะพบมีอาการหงุดหงิด เบื่ออาหาร ปฏิเสธการกินอาหารแข็ง การเจริญเติบผิดปกติ พัฒนาการถดถอย1 ในเรื่องของการขาดสารอาหารของทารก แน่นอนการป้องกันในมารดาที่มีความเสี่ยงจะช่วยป้องกันการเกิดความผิดปกติของทารกได้ แต่หากมีการผิดพลาดหรือตรวจไม่พบจากการตรวจคัดกรอง การให้การวินิจฉัยตั้งแต่แรกเริ่มจากประวัติที่สงสัย จะมีผลดีกว่ารอให้ทารกแสดงอาการหรือเกิดการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการถดถอยแล้ว การแก้ไขหรือรักษาจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก ดังนั้น การเน้นให้ความสำคัญกับการแนะนำให้มารดาป้องกันการเกิดการขาดวิตามินบี 12 ในมารดาที่กินอาหารมังสวิรัติหรือมีความเสี่ยง น่าจะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด

เอกสารอ้างอิง

  1. Delbet JD, Ulinski T. Thrombotic microangiopathy and breastfeeding: where is the link? Answers. Pediatr Nephrol 2018;33:987-9.

 

การทำความชัดเจนกับนิยามของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ในการศึกษาวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ส่วนใหญ่จะแบ่งข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นกินนมแม่กับกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ซึ่งอาจเป็นการแบ่งข้อมูลที่หยาบเกินไป เพราะบางครั้งทารกกินนมแม่เพียงครั้งเดียวหรือกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกเพียงครั้งเดียวก็จะถูกจัดเป็นกลุ่มที่กินนมแม่หรือกลุ่มที่กินนมผงเลย ซึ่งอาจมีผลทำให้ผลที่สรุปจากการวิจัยยังไม่สามารถอ้างอิงได้เต็มที่ ดังนั้นจึงมีข้อแนะนำให้กำหนดคำนิยามของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ละเอียด โดยอาจแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กินนมแม่อย่างเดียว กินนมแม่ส่วนใหญ่ กินนมผงส่วนใหญ่ กินนมผงอย่างเดียว หรืออาจแบ่งให้ละเอียดมากขึ้นเป็น 11 กลุ่ม ได้แก่ กินนมแม่ 100% กินนมแม่ 90% แล้วลดลงทีละ 10% จนกระทั่งเป็นกินนมผง 100%1 หากมีการกำหนดนิยามของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ชัดเจนจะทำให้การกล่าวยืนยันผลของการยืนยันผลของการวิจัยหนักแน่นขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Davie P, Bick D, Chilcot J. Measuring milk: A call for change in quantifying breastfeeding behaviour. Midwifery 2018;63:A6-A7.

ความคุ้มค่าในการให้ยาต้านไวรัสในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรที่ติดเชื้อเอชไอวี

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?แม้ว่าในประเทศไทยไม่มีข้อแนะนำในการให้นมบุตรสำหรับมารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวี แต่การรับทราบข้อมูลการศึกษาวิจัยถึงการให้ยาต้านไวรัสในมารดาที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรที่ติดเชื้อเอชไอวีอาจมีประโยชน์เมื่อมีความจำเป็นต้องเลือกใช้ในสถานการณ์ที่มีงบประมาณจำกัด มีการศึกษาในประเทศสวาซิแลนด์ในทวีปแอฟริกาใต้ถึงความคุ้มค่าในการให้ยาต้านไวรัสตาม CD4 และระยะทางคลินิก (clinical staging) ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกหรือจะให้ยาต้านไวรัสแก่มารดาทุกรายที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรที่ติดเชื้อเอชไอวี โดยเปรียบเทียบความคุ้มค่าทางประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับค่าใช้ที่ต้องลงทุน พบว่าการให้ยาต้านไวรัสแก่มารดาทุกรายที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรที่ติดเชื้อเอชไอวีมีความคุ้มค่ามากกว่า1 อย่างไรก็ตามการพิจารณาเชิงนโยบายที่ต้องตัดสินใจยังอาจมีข้อจำกัดในเชิงงบประมาณของแต่ละประเทศ ดังนั้น ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อใช้คาดคะเนงบประมาณที่จะต้องลงทุนในกรณีจะตัดสินใจเลือกแนวทางการปฏิบัติตามข้อมูลที่ได้มีการศึกษาวิจัยมาก่อนแล้ว

เอกสารอ้างอิง

  1. Cunnama L, Abrams EJ, Myer L, et al. Cost and cost-effectiveness of transitioning to universal initiation of lifelong antiretroviral therapy for all HIV-positive pregnant and breastfeeding women in Swaziland. Trop Med Int Health 2018.

 

แม่ที่เป็นเบาหวานเริ่มนมแม่ช้า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ?แม่ที่เป็นเบาหวานจะมีโอกาสที่จะมีภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอด รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นจากการที่แม่เป็นเบาหวานที่ส่งผลทำให้น้ำนมแม่มาช้าและอีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจากการมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอด ทำให้มีการผ่าตัดคลอดเพิ่มขึ้น ทารกมีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลต่ำ ภาวะตัวเย็น และการย้ายทารกเข้าหอทารกป่วยวิกฤตสูงขึ้น หากบุคลากรทางการแพทย์สามารถลดภาวะแทรกซ้อนและการย้ายทารกไปหอผู้ป่วยทารกวิกฤตลง จะช่วยเพิ่มการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้1 ดังนั้น การดูแลอย่างใกล้ชิดและวางแผนกระบวนการเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยซึ่งจะลดการย้ายทารกไปดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤตน่าจะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สูงขึ้น ?

เอกสารอ้างอิง

  1. Cordero L, Oza-Frank R, Stenger MR, Landon MB, Nankervis CA. Decreasing NICU admissions of asymptomatic infants of women with pregestational diabetes mellitus improves breastfeeding initiation rates. J Neonatal Perinatal Med 2018.

ความวิตกกังวลเรื่องรูปร่างขณะที่ให้นมในมารดาที่อ้วน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การให้นมแม่ในที่สาธารณะควรจะเป็นเรื่องที่มารดาสามารถจะปฏิบัติได้ด้วยความสบายใจและสะดวกใจ เนื่องจาก ปัจจุบันสตรีมีบทบาทในการทำงานนอกบ้านกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในบางสังคมรวมทั้งสังคมไทยการยังคงมีความเชื่อว่า การให้นมแม่เป็นเรื่องส่วนตัวและควรให้เฉพาะที่บ้าน มองมุมของเรื่องการให้นมลูกในที่สาธารณะควรมีการปรับเปลี่ยนต่อไปในอนาคต มีการศึกษาเกี่ยวกับการให้นมแม่ในที่สาธารณะในมารดาที่อ้วน พบว่ามารดามีความวิตกกังวลเรื่องรูปร่างขณะให้นมลูกในที่สาธารณะ และอาจพบปัญหาในการจัดท่าให้นมที่เหมาะสม1 ดังนั้น บุคลาการทางการแพทย์ควรเอาใจใส่ ให้กำลังใจ และให้คำปรึกษาในเรื่องการจัดท่าให้นมลูกที่เหมาะสมและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่มารดาในขณะให้นมลูกในที่สาธารณะ

เอกสารอ้างอิง

  1. Claesson IM, Larsson L, Steen L, Alehagen S. “You just need to leave the room when you breastfeed” Breastfeeding experiences among obese women in Sweden – A qualitative study. BMC Pregnancy Childbirth 2018;18:39.