คลังเก็บหมวดหมู่: คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

พังผืดที่ริมฝีปากบนไม่ทำให้ทารกกินนมแม่ยากขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                ภาวะที่ทารกมีพังผืดที่ริมฝีปากบน (upper lip tie) นั้นได้มีการเริ่มกล่าวถึงในปี ค.ศ. 1998 เมื่อมีความสนใจในเรื่องผลของภาวะพังผืดใต้ลิ้น (tongue-tie) ที่ส่งผลทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยากขึ้น จึงเกิดคำถามต่อมาว่า ทารกที่พบมีพังผืดที่ริมฝีปากบนจะมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาทบทวนอย่างเป็นระบบ (systematic review) ไม่พบความสัมพันธ์ของภาวะพังผืดที่ริมฝีปากบนที่ส่งผลทำให้ทารกกินนมแม่ได้ยาก1 อย่างไรก็ตาม ในการทบทวนความรู้นี้พบว่า ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ยังขาดการวิจัยเปรียบเทียบเชิงทดลองแบบสุ่ม (randomized controlled trial) ที่ทำการศึกษาในเรื่องนี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไปในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

  1. Nakhash R, Wasserteil N, Mimouni FB, Kasirer YM, Hammerman C, Bin-Nun A. Upper Lip Tie and Breastfeeding: A Systematic Review. Breastfeed Med 2019.

 

สิ่งที่ควรแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อมารดามาฝากครรภ์

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ที่มารดาและบุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความสำคัญ การที่จะสนับสนุนให้มารดามีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น มารดาจะต้องมีความรู้และความเข้าใจถึงประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่าถูกต้องและเพียงพอ สมาคมสูตินรีแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาและสมาคมเวชศาสตร์มารดาและทารกของสหรัฐอเมริกาเห็นถึงความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้ออกข้อแนะนำล่าสุดในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่มาฝากครรภ์ โดยเนื้อหาสำคัญของการให้ความรู้ควรมีการแนะนำถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อมารดาในระยะยาว ได้แก่ การลดการเกิดเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด มะเร็งรังไข่ และมะเร็งเต้านม1 โดยหากมารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ 90 จะสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมได้ถึง 5023 ราย ป้องกันการเกิดเบาหวานได้ถึง 12320 ราย ป้องกันความดันโลหิตสูงได้ถึง 35982 ราย และป้องกันการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ถึง 8487 ราย ซึ่งผลเหล่านี้ล้วนมีคุณค่าต่อสุขภาพของมารดาโดยตรง นอกจากนี้ควรมีการให้ข้อมูลที่จะช่วยให้มารดานอกจะสามารถจะเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระหว่างที่นอนโรงพยาบาลแล้ว ควรมีการให้ข้อมูลในการดูแลให้เกิดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขณะที่มารดาต้องกลับไปทำงานในสถานที่ที่ทำงาน กฎหมายแรงงาน และข้อมูลที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกในสถานที่ทำงานด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. American College of N-M, the National Association of Nurse Practitioners in Women’s H, American College of O, et al. Interpregnancy Care. Am J Obstet Gynecol 2019;220:B2-B18.

 

 

 

Breastfeeding case study 15

Breastfeeding case study 15

การปรับเปลี่ยนท่าอุ้มทารกเพื่อช่วยให้อมหัวนมและลานนมได้ดีขึ้น

ท่าอุ้มทารกแต่ละท่าจะเหมาะกับมารดาและทารกแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากมารดาใช้ท่าอุ้มทารกท่าหนึ่งแล้วทารกยังอมหัวนมและลานนมได้ไม่ดี การปรับเปลี่ยนท่าอุ้มทารกอาจช่วยให้การอมหัวนมและลานนมดีขึ้น