คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

ประโยชน์ของการลดการนอนโรงพยาบาลของทารกกับการได้กินนมแม่

IMG_3522

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นเริ่มอาหารเสริมตามวัยร่วมกับการกินนมแม่ต่อจนกระทั่งถึงสองปีหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของมารดาและทารก โดยประโยชน์ของนมแม่นั้นมีข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงการกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือนมาก แต่สำหรับการที่มารดาไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว หรือให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวแต่ไม่ถึงหกเดือนนั้น จะยังคงมีประโยชน์หรือไม่ บางคนอาจยังมีข้อสงสัย มีการศึกษาถึงการลดการนอนโรงพยาบาลของทารก พบว่าแม้ทารกจะไม่ได้กินนมแม่อย่างเดียวหรือทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวแต่ไม่ถึงหกเดือน นมแม่ยังคงมีประโยชน์โดยช่วยลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลของทารก1? ดังนั้นในการให้คำปรึกษาแก่มารดาควรแนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนก่อนตามคำแนะนำ แต่หากมารดามีปัญหาอุปสรรคที่ไม่สามารถให้นมแม่หลังจากพยายามแก้ไขแล้ว ก็ควรให้กำลังใจมารดาว่า ?ประโยชน์ที่ลูกได้รับจากการกินนมแม่นั้น เริ่มต้นตั้งแต่การที่ลูกได้กินนมแม่ และยังคงมีไม่ว่ามารดาจะมีโอกาสให้นมลูกได้นานเพียงใด จึงไม่ควรท้อถอยหรือหมดกำลังใจ หากไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกได้?

เอกสารอ้างอิง

  1. Payne S, Quigley MA. Breastfeeding and infant hospitalisation: analysis of the UK 2010 Infant Feeding Survey. Matern Child Nutr 2017;13.

 

โรคไอกรนกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_2928

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? โรคไอกรนเป็นโรคที่เป็นอันตรายต่อทารกและเด็กเล็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้จะช่วยลดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ลดภูมิแพ้ และการเสียชีวิตของทารก แต่สำหรับโรคไอกรนมีการศึกษาถึงภูมิคุ้มกันที่จะผ่านจากมารดาไปยังทารก พบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจไม่ช่วยในการป้องกันการเกิดโรคไอกรน1 ดังนั้น ในการป้องกันการเกิดโรคไอกรน ทารกยังมีความจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนตามมาตรฐานเป็นระยะเพื่อป้องกันโรคไอกรน และโรคอื่น ๆ ที่ควรได้รับการฉีดวัคซีน ก็ควรฉีดวัคซีนตามกำหนดด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Pandolfi E, Gesualdo F, Carloni E, et al. Does Breastfeeding Protect Young Infants From Pertussis? Case-control Study and Immunologic Evaluation. Pediatr Infect Dis J 2017;36:e48-e53.

 

การรักษาโรคเรื้อนระหว่างการให้นมบุตร

IMG_3520

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? โรคเรื้อนมีอาการทางผิวหนังที่เรื้อรัง ปัจจุบันพบได้น้อย ยาที่ใช้ในการรักษามักใช้ยาร่วมกันหลายตัว ได้แก่ dapsone, rifampicine และ clofazimine แต่จากที่มีการรายงานพบว่า ยาที่ใช้ในการรักษาโรคเรื้อนสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยในระหว่างการตั้งครรภ์และการให้นมลูก แต่ยา clofazimine อาจทำให้ผิวหนังมีสีเปลี่ยนแปลงได้1 ดังนั้น ในการรักษาโรคเรื้อน สามารถให้การเริ่มการรักษาได้ทันทีหากได้รับการวินิจฉัยระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มารดาคลอดบุตรหรือหยุดการให้นม

เอกสารอ้างอิง

  1. Ozturk Z, Tatliparmak A. Leprosy treatment during pregnancy and breastfeeding: A case report and brief review of literature. Dermatol Ther 2017;30.

 

ดัชนีมวลกายของมารดาส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

IMG_3742

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วนส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทั่วไป การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วนส่งผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอด จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกตัวโต คลอดยาก เพิ่มการผ่าตัดคลอด การตกเลือดหลังคลอดและการติดเชื้อ ซึ่งกระทบต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเจ็บแผลจากการคลอดและการมาของน้ำนมที่ช้า ทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า อันส่งผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอายุของมารดา ลำดับครรภ์ และการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้ากว่า 12 ชั่วโมงมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายที่มากด้วย1 ดังนั้น หากบุคลากรทางการแพทย์แนะนำการควบคุมให้มารดามีดัชนีมวลกายเป็นปกติได้ก่อนตั้งครรภ์ก็จะเป็นการเตรียมพร้อมของการตั้งครรภ์และการคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Ozenoglu A, Sokulmez Kaya P, Asal Ulus C, Alakus K. The Relationship of Knowledge and Breastfeeding Practice to Maternal BMI. Ecol Food Nutr 2017:1-19.

 

การจัดการให้ความรู้แก่มารดาช่วยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

IMG_2945

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ในกระบวนการการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัวยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญและมีประสิทธิภาพในการช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นอย่างดี เนื่องจากการให้ความรู้แก่มารดาและครอบครัว หากให้ในช่วงที่พอเหมาะและเน้นให้มารดาและครอบครัวมีความเข้าใจและเห็นถึงความจำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งหากมารดามีความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว จะทำให้มีทัศนคติที่ดีและมีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งนี้มีผลกระทบต่อการปฏิบัติของมารดาเพิ่มอัตราและระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาทบทวนเพื่อศึกษาถึงความสำคัญของการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แก่มารดา พบว่า การให้ความรู้แก่มารดาเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้นสองเท่า1 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรจัดระบบสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยเน้นการให้ความรู้ทั้งในระหว่างการฝากครรภ์ การคลอดและหลังคลอด รวมทั้งการสร้างระบบเพื่อติดตามในกรณีที่มารดามีความเสี่ยงสูง จะทำให้ภาพรวมของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Oliveira IB, Leal LP, Coriolano-Marinus MW, Santos AH, Horta BL, Pontes CM. Meta-analysis of the effectiveness of educational interventions for breastfeeding promotion directed to the woman and her social network. J Adv Nurs 2017;73:323-35.