ดัชนีมวลกายของมารดาส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

IMG_3742

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วนส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทั่วไป การที่มารดามีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วนส่งผลต่อการตั้งครรภ์และการคลอด จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ทารกตัวโต คลอดยาก เพิ่มการผ่าตัดคลอด การตกเลือดหลังคลอดและการติดเชื้อ ซึ่งกระทบต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเจ็บแผลจากการคลอดและการมาของน้ำนมที่ช้า ทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า อันส่งผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอายุของมารดา ลำดับครรภ์ และการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้ากว่า 12 ชั่วโมงมีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายที่มากด้วย1 ดังนั้น หากบุคลากรทางการแพทย์แนะนำการควบคุมให้มารดามีดัชนีมวลกายเป็นปกติได้ก่อนตั้งครรภ์ก็จะเป็นการเตรียมพร้อมของการตั้งครรภ์และการคลอด และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Ozenoglu A, Sokulmez Kaya P, Asal Ulus C, Alakus K. The Relationship of Knowledge and Breastfeeding Practice to Maternal BMI. Ecol Food Nutr 2017:1-19.