คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

การใช้ยา dexmedetomidine ในการดมยาสลบผ่าตัดคลอดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3517

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ยาที่ใช้ในระหว่างการดมยาสลบในการผ่าตัดคลอดมีหลายชนิด ยา dexmedetomidine เป็นทางเลือกหนึ่งในการทำให้มารดาง่วงและหลับ แต่มีความกังวลเรื่องผลกระทบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากหากมีการผ่านของยาไปในน้ำนม อาจมีผลต่อการกดการหายใจของทารกได้ มีการศึกษาถึงปริมาณยาหลังจากมารดาได้รับในระหว่างผ่าตัดคลอด พบว่า จะตรวจพบยาในน้ำนมได้ในช่วง 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดคลอด หลังจากนั้นจะตรวจไม่พบยาในน้ำนม1 ดังนั้น หากมีการใช้ยานี้ในระหว่างการผ่าตัดคลอด การเฝ้าระวังในทารกก็เป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติในวันแรกหลังผ่าตัดคลอด อย่างไรก็ตาม หากหลีกเลี่ยงได้ควรใช้ยาอื่นที่ออกฤทธิ์เร็ว ค่าครึ่งชีวิตของยาสั้นและถูกกำจัดได้เร็ว เพื่อลดผลกระทบต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรก จะสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ดีกว่า

เอกสารอ้างอิง

  1. Nakanishi R, Yoshimura M, Suno M, et al. Detection of dexmedetomidine in human breast milk using liquid chromatography-tandem mass spectrometry: Application to a study of drug safety in breastfeeding after Cesarean section. J Chromatogr B Analyt Technol Biomed Life Sci 2017;1040:208-13.

 

แพทย์ เป้าหมายใหญ่ของผู้ให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่

IMG_3738

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? แพทย์ ยังคงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญในการที่จะเป็นผู้นำและผู้ให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่ แต่ข้อมูลในปัจจุบัน ส่วนใหญ่แพทย์จะขาดความรู้ ไม่มั่นใจ ทำให้ไม่ได้ให้คำปรึกษาเรื่องนมแม่ ทั้ง ๆ ที่การพูดของแพทย์ จะได้รับความเชื่อถือจากมารดาและครอบครัว และจะมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น การจัดการอบรมให้ความรู้และทักษะในการให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มแพทย์พร้อมให้ประกาศนียบัตรรับรองความรู้ความชำนาญ จึงยังเป็นสิ่งจำเป็น ที่จะช่วยชีวิตทารกราว 800000 คนต่อปีที่เสียชีวิตจากการไม่ได้กินนมแม่ ช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวทั่วโลกจากร้อยละ 38 เป็นร้อยละ 50 ตามเป้าหมายขององค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ. 20251

เอกสารอ้างอิง

  1. Norman M. Breastfeeding and outcome. Acta Paediatr 2017;106:516.

การให้คำปรึกษาที่มุ่งเป้าช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3534

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? การให้คำปรึกษาที่มุ่งเป้าหมายชัดเจนสามารถช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ มีการศึกษาถึงการให้คำปรึกษาเฉพาะเรื่องในกลุ่มมารดาหลังคลอดที่กลับบ้านเร็ว พบว่า มารดารับการให้คำปรึกษา มีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อเพิ่มขึ้น มีการให้ลูกกินนมแม่บ่อยขึ้น สามีให้ความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น ทารกต้องการการรักษาเรื่องอาการตัวเหลืองน้อยลง และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเพิ่มขึ้น1 สิ่งนี้สะท้อนว่า การให้คำปรึกษาอาจต้องมีความจำเพาะและเลือกเรื่องที่จำเป็นที่จะสื่อสารให้ชัด หากให้อย่างไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนและเนื้อหามากเกินไป ผู้รับคำปรึกษาอาจไม่สนใจและไม่สามารถรับสารได้ครบถ้วน ทำให้ขาดประสิทธิภาพในการให้คำปรึกษา

เอกสารอ้างอิง

  1. Nilsson IM, Strandberg-Larsen K, Knight CH, Hansen AV, Kronborg H. Focused breastfeeding counselling improves short- and long-term success in an early-discharge setting: A cluster-randomized study. Matern Child Nutr 2017.

 

การรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางสื่อโทรทัศน์

IMG_2938

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? สื่อทางโทรทัศน์ในปัจจุบันยังคงเป็นสื่อที่มีความสำคัญ แม้ในยุคดิจิทัลที่มีการใช้สื่อทางอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นก็ตาม เนื่องจากสื่อทางโทรทัศน์ยังเป็นสื่อที่เข้าถึงง่ายและประชาชนมีความคุ้นเคยกับสื่อชนิดนี้มานาน การรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีความพยายามจะเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย มีการสื่อสารรณรงค์ที่หลากหลาย แต่ยังมีความจำกัดในสื่อทางโทรทัศน์ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาและออกอากาศมีค่าใช้จ่ายที่สูง อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาในประเทศเวียดนามที่มีการลงทุนโฆษณาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว พบว่า สามารถเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้ 1.3-3.3 เท่า1 คิดแล้ว หากเป็นการลงทุนการเพิ่มประชากรที่มีคุณภาพและสุขภาพที่ดี โดยการเริ่มต้นจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก็น่าจะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าที่รัฐบาลน่าจะนำไปศึกษาและวางแผนในการพัฒนาชาติ

เอกสารอ้างอิง

  1. Nguyen TT, Alayon S, Jimerson A, et al. The Association of a Large-Scale Television Campaign With Exclusive Breastfeeding Prevalence in Vietnam. Am J Public Health 2017;107:312-8.

การให้ลูกกินนมแม่ลดการตายของทารกจากมลพิษควันจากการทำอาหาร

IMG_2941

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การหุงหาอาหาร หากบริเวณพื้นที่ที่ทำอาหารหรือครัวไม่โปร่ง อากาศระบายได้ไม่ดี จะมีมลพิษควันที่เกิดจากการทำอาหารที่จะก่อผลเสีย ทำให้ทารกในบ้านเจ็บป่วย และเพิ่มอัตราการชีวิตของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีได้ มีการศึกษาในประเทศปากีสถานพบว่า มลพิษควันจากการทำอาหารในบ้าน ทำให้ทารกในบ้านเจ็บป่วยจากโรคทางเดินหายใจ ปอดบวม และเสียชีวิตมากกว่าการที่มีครัวแยกจากตัวบ้าน นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราการเสียชีวิตของทารกจะมากกว่าในกลุ่มที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ซึ่งผลนี้สอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมาที่พบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดการเจ็บป่วยในโรคทางเดินหายใจ ดังนั้น ในปัจจุบันที่สถานที่ในเมืองคับแคบ การทำครัวในพื้นที่จำกัดเช่นคอนโดมิเนียม หากทำให้เกิดควันหรือมลพิษในห้องที่นอนหรือห้องที่เลี้ยงทารก อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ การดูแลเรื่องการระบายอากาศที่ดีในกรณีที่ต้องทำครัวในห้องพัก จึงควรมีการให้ความสำคัญ เพราะอากาศที่ดีที่เราหายใจเข้าไปเป็นพื้นฐานของสุขภาพทั้งทารกและผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในที่พักนั้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Naz S, Page A, Agho KE. Household air pollution from use of cooking fuel and under-five mortality: The role of breastfeeding status and kitchen location in Pakistan. PLoS One 2017;12:e0173256.