การให้ลูกกินนมแม่ลดการตายของทารกจากมลพิษควันจากการทำอาหาร

IMG_2941

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การหุงหาอาหาร หากบริเวณพื้นที่ที่ทำอาหารหรือครัวไม่โปร่ง อากาศระบายได้ไม่ดี จะมีมลพิษควันที่เกิดจากการทำอาหารที่จะก่อผลเสีย ทำให้ทารกในบ้านเจ็บป่วย และเพิ่มอัตราการชีวิตของเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีได้ มีการศึกษาในประเทศปากีสถานพบว่า มลพิษควันจากการทำอาหารในบ้าน ทำให้ทารกในบ้านเจ็บป่วยจากโรคทางเดินหายใจ ปอดบวม และเสียชีวิตมากกว่าการที่มีครัวแยกจากตัวบ้าน นอกจากนี้ ยังพบว่าอัตราการเสียชีวิตของทารกจะมากกว่าในกลุ่มที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 ซึ่งผลนี้สอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมาที่พบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดการเจ็บป่วยในโรคทางเดินหายใจ ดังนั้น ในปัจจุบันที่สถานที่ในเมืองคับแคบ การทำครัวในพื้นที่จำกัดเช่นคอนโดมิเนียม หากทำให้เกิดควันหรือมลพิษในห้องที่นอนหรือห้องที่เลี้ยงทารก อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ การดูแลเรื่องการระบายอากาศที่ดีในกรณีที่ต้องทำครัวในห้องพัก จึงควรมีการให้ความสำคัญ เพราะอากาศที่ดีที่เราหายใจเข้าไปเป็นพื้นฐานของสุขภาพทั้งทารกและผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในที่พักนั้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Naz S, Page A, Agho KE. Household air pollution from use of cooking fuel and under-five mortality: The role of breastfeeding status and kitchen location in Pakistan. PLoS One 2017;12:e0173256.