คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

ทำไมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเหมาะสำหรับคุณแม่

IMG_3988

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? สิ่งแรกที่ต้องกล่าวถึงคือ นมแม่ธรรมชาติสร้างมาสำหรับทารกแรกเกิด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจะส่งเสริมในการที่จะทำชีวิตง่ายขึ้น เนื่องจากการให้นมแม่สามารถจะให้ได้ทันที ไม่ต้องมีการเตรียมชงนม ต้มน้ำร้อน หรือต้มขวดนม ดังนั้น การที่มารดาให้นมแม่ในชีวิตประจำวันจะทำให้การใช้ชีวิตสะดวกและไม่ยุ่งยาก สร้างสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก และยังช่วยในการส่งเสริมพัฒนาการของทารก จะการที่มารดาพูดคุย หยอกล้อ หรือเล่นกับทารก และกระตุ้นพัฒนาการในระหว่างการให้นมแม่ นอกจากนี้ ยังไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากการซื้อนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ซื้อขวดนมหรือจุกนม ซึ่งค่าจ่ายของครอบครัวจะเพิ่มขึ้นราวสองหมื่นกว่าบาทต่อเดือน สำหรับผลดีหรือผลที่จะเป็นประโยชน์ต่อมารดา คือ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้มารดาลดน้ำหนักลงมาสู่น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ได้ดีกว่า ลดการเกิดโรคเบาหวานในมารดา และป้องกันมะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านมได้ตามระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

น้ำนมเหลืองเป็นน้ำนมทอง

IMG_2926

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? น้ำนมช่วงแรกที่มีของมารดาจะเป็นน้ำนมเหลืองหรือ colostrum ซึ่งจะเป็นน้ำนมที่มีความเข้มข้น ประกอบด้วยสารอาหารและภูมิคุ้มกันที่มีประโยชน์มาก ปริมาณของน้ำนมเหลืองจะมีปริมาณน้อย แต่จะพอดีกับกระเพาะของทารกซึ่งจะมีความจุในช่วงแรกน้อยเช่นกัน ดังนั้น น้ำนมเหลืองจึงเสมือนกับน้ำนมทองที่ให้คุณค่าสูง โดยทั่วไปน้ำนมเหลืองจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมปกติราววันที่สามถึงวันที่ห้าหลังคลอด ซึ่งจะประกอบด้วยน้ำตาล โปรตีน ไขมัน น้ำ และภูมิคุ้มกัน ซึ่งลักษณะของน้ำนมจะมีความเข้มข้นน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของนมแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาในแต่ละระยะหลังคลอด โดยที่จะมีความสอดคล้องกับความต้องการและการเจริญเติบโตของทารก ซึ่งเป็นกลไกตามธรรมชาติที่จะสร้างความเหมาะสมของสารอาหารที่มีในนมแม่ให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า นมแม่นั้นมีการพัฒนาการให้เหมาะสมกับทารกตามวัยโดยที่ยังไม่มีอาหารอื่นใดที่สร้างเลียนแบบหรือทดแทนได้เสมอเหมือน

เอกสารอ้างอิง

  1. The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017

ลักษณะที่แสดงถึงความดันโลหิตสูงที่ถูกตั้งโปรแกรมก่อนการคลอดกับออกซิโตซิน

IMG_3545

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การคลอดก่อนกำหนดและภาวะทารกน้ำหนักตัวน้อยที่เกิดจากทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าจะเปลี่ยนโปรแกรมการเจริญเติบโต การพัฒนาการ และความสมบูรณ์เต็มที่ ทำให้เกิดโปรแกรมอดออมในทารก กลไกการเปลี่ยนแปลงนี้อธิบายจากการเพิ่มขึ้นของคอร์ติโคสเตอรอน (corticosterone) ที่มากเกินไปในครรภ์ที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนซึ่งพบในภาวะที่มีการขาดอาหารหรือเครียดโดยมีผลชักนำทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและโรคทางเมตาบอลิกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นผ่าน angiotensin II ที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงที่จะผลิต reactive oxygen species radicals ที่มีผลเพิ่มระดับน้ำตาลจากการต้านฤทธิ์การทำงานของอินซูลิน นอกจากนี้ คอร์ติโคสเตอรอนที่มากเกินไปยังมีผลต่อกระบวนการ suractive glutamategic transmission ที่ทำให้มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่จะเกิดโรคทางระบบประสาท ได้แก่ พาร์กินสัน (Parkinson disease) และอัลไซเมอร์ (Alzheimer?s disease) ด้วย

??????????? ความเชื่อมโยงความผิดปกติของระบบประสาทและพฤติกรรม สารชีวเคมีที่บ่งชี้กับภาวะความดันโลหิตสูงนั้น ยังอธิบายได้จากภาวะที่ขาดอาหารในครรภ์หรือภาวะอดออมของทารกจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม การตอบสนองต่อความเครียด การเปลี่ยนแปลงจังหวะการเต้นของหัวใจ ความผิดปกติในด้านความจำ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมการปรับตัวต่อสิ่งเร้าที่ผิดปกติ และโรคมะเร็ง โดยสามารถตรวจพบสารชีวเคมีที่เป็นตัวบ่งชี้ ได้แก่ สารสื่อประสาท acetylcholine และ GABA เอนไซม์ receptor และ neuropeptide อื่นๆ ?มีค่าที่เปลี่ยนแปลงไปในทารกที่เกิดภาวะขาดอาหาร นอกจากนี้ ยังพบการลดน้อยลงและการฝ่อของนิวเคลียสของเซลล์ประสาทในฮิปโปแคมปัสส่วนหลัง (dorsal hippocampus) ในขณะที่พบการทำงานของ noradrenergic และ corticotropin ใน paraventricular nucleus เพิ่มขึ้นที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic เพิ่มขึ้นที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง การเปลี่ยนแปลงของฮิปโปแคมปัสจะส่งผลต่อการทำงานของกลไก hypothalamic-pituitary-adrenal axis (HPA axis) ซึ่ง HPA axis จะเป็นเสมือนตัวตัดสินในการแสดงออกทางพฤติกรรม กระบวนการทางสรีรวิทยาและกระบวนการทางเมตาบอลิกต่างๆ

??????????? ออกซิโตซินจะช่วยในการลดความดันโลหิตสูงผ่านกระบวนการทำให้คอร์ติโคสเตอรอนลดลงส่งผลต่อการลดของ corticotropin ซึ่งจะมีผลต่อ HPA axis ดังนั้น จึงส่งผลต่อพฤติกรรม สรีรวิทยาและกระบวนการทางเมตาบอลิกของทารก นอกจากนี้ ออกซิโตซินยังควบคุมสมดุลของสารน้ำและโซเดียมผ่านทางไต ควบคุมสมดุลของการทำงานของหัวใจ และปกป้องการทำงานของหัวใจผ่านการสร้างไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) ด้วย ดังนั้น การเจาะเลือดจากสายสะดือทารกเพื่อตรวจสอบสารชีวเคมีที่เป็นตัวบ่งชี้จะช่วยบอกถึงการวิเคราะห์ปัจจัยที่อยู่เหนือกระบวนการทางพันธุกรรมที่จะแสดงออกถึงสุขภาพของทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นได้ เช่น การตรวจ hypermethylation ของ GRB10 gene จากเลือดจากสายสะดือทารก และมีการศึกษาถึงผลของการให้ออกซิโตซิน glucagon-like peptide-1 (GLP-1) เลปติน (leptin) การเสริมสารอาหารบางชนิด ได้แก่ โอเมก้า 3 (omega-3) กรดไขมัน (fatty acid) บางชนิดsulfuranes, polyphenol like
resveratrol และการใช้ยาบางกลุ่ม ได้แก่ angiotensin-converting enzyme inhibitors โดยคาดหวังถึงผลในการช่วยหรือซ่อมแซมการเปลี่ยนแปลงปัจจัยกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่ผิดปกติ1

? ? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม การที่ทารกที่กินนมแม่มีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตส่วนหนึ่งอาจเป็นจากกลไกที่ช่วยหรือซ่อมแซมการเปลี่ยนแปลงปัจจัยกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่ผิดปกติของออกซิโตซินที่พบตามธรรมชาติจากการกระตุ้นของทารกที่กินนมแม่ก็เป็นได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาถึงผลที่ชัดเจนในอนาคตต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Vargas-Martinez F, Schanler RJ, Abrams SA, et al. Oxytocin, a main breastfeeding hormone, prevents hypertension acquired in utero: A therapeutics preview. Biochim Biophys Acta 2017;1861:3071-84.

 

ภาวะอดออมของทารกในครรภ์กับการกินนมแม่

IMG_2977

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเกิดทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าจะส่งผลกระทบต่อโปรแกรมการเจริญเติบโตทางพันธุกรรมที่กำหนดไว้ โดยทำให้ทารกเกิดภาวะอดออม (thrifty phenotype) โดยมีการตั้งโปรแกรมใหม่ที่ปรับตัวให้เหมาะสมกับการใช้สารอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น เมื่อทารกเติบโตขึ้น การได้รับสารอาหารมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคต่างๆ เนื่องจากความคุ้นเคยจากที่กำหนดจากการตั้งโปรแกรมการเจริญเติบโตแบบอดออมของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ภาวะอดออมยังส่งผลทำให้ทารกเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดด้วย เพื่อเป็นกลไกในการลดอันตรายจากการขาดสารอาหารในครรภ์ แต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มขึ้นหลังคลอด

??????????? จากการศึกษาในสัตว์ทดลองที่มีรูปแบบคล้ายมนุษย์พบว่า ภาวะทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าส่งผลทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน เบาหวาน และความผิดปกติของไขมันในเลือด ซึ่งลักษณะเหล่านี้ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคทางเมตาบอลิก การตรวจสอบการตอบสนองของเซลล์เยื่อบุผิวของหลอดเลือดต่อ acetylcholine, nitroprusside, C-reactive protein, interleukin-6 (IL-6), tumor necrosis factor- ? (TNF- ? ) และ prenatal protein (Pre-PR) มีผลต่อความดันโลหิตสูงสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่สัปดาห์ของชีวิตในครรภ์ ซึ่งการให้ออกซิโตซินและการลด angiotensin II (ANG II) จะช่วยป้องกันการเกิดความดันโลหิตสูงที่จะปรากฎอาการในวัยผู้ใหญ่ได้ ดังนั้น นอกจากออกซิโตซินจะถูกเรียกว่าเป็นฮอร์โมนแห่งความรักแล้ว ยังเป็นฮอร์โมนที่ดูแลรักษาหัวใจและหลอดเลือดด้วย ซึ่งออกซิโตซินสามารถที่จะกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิด (stem cell) เปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ของกล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดได้ และยังช่วยปกป้องหัวใจโดยช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงหัวใจมากขึ้นหลังเกิดการขาดเลือดของหัวใจ และช่วยในกรณีที่เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจจากเบาหวาน

??????????? นมแม่มีประโยชน์ต่อทั้งทารก มารดา ครอบครัว และสังคม โดยมีสารอาหารที่ครบถ้วน มีภูมิคุ้มกันต่อต้านการติดเชื้อ ช่วยป้องกันภาวะอ้วน ช่วยลดการเกิดเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ นมแม่ยังถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการเหนือพันธุกรรม (epigenetics) คือ ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงออกของยีนโดยที่ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลำดับของดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต โดยในนมแม่มีฮอร์โมนออกซิโตซิน ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่มีผลต่อความดันโลหิตสูงที่จะเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. Vargas-Martinez F, Schanler RJ, Abrams SA, et al. Oxytocin, a main breastfeeding hormone, prevents hypertension acquired in utero: A therapeutics preview. Biochim Biophys Acta 2017;1861:3071-84.

 

กลุ่มอาการสมาธิสั้นของเด็กกับปัจจัยแวดล้อมในครรภ์และการกินนมแม่

IMG_3964

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? กลุ่มอาการสมาธิสั้น (attention deficit hyperactive disorders หรือ ADHD) เป็นความผิดปกติทางจิตประสาทที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางพฤติกรรมและจิตใจ การแสดงออกของอาการจะมีลักษณะขาดสมาธิในการจดจ่อในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีผลการเรียนจะต่ำ มีอารมณ์โกรธ ซึมเศร้า มีแรงกระตุ้นผลักดันให้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างหลากหลาย อยู่ไม่สุก โดยอาการมักเริ่มต้นเห็นอาการในวัยเด็ก ความชุกของกลุ่มอาการสมาธิสั้นที่พบทั่วโลกพบร้อยละ 5-8 ซึ่งจะพบเด็กที่ยังคงมีอาการต่อเนื่องไปถึงวัยรุ่นประมาณครึ่งหนึ่งของความชุกที่พบ มีรายงานถึงผลกระทบที่เกิดจากการมีความผิดปกติในกลุ่มอาการสมาธิสั้น ได้แก่ ทำให้เสียการเรียน สูญเสียอาชีพและบทบาทของด้านสังคม เพิ่มโอกาสการใช้ยาเสพติด เพิ่มอุบัติเหตุจากการจราจร เพิ่มโอกาสเกิดโรคทางจิตประสาทอื่นๆ และเพิ่มค่าใช้จ่ายในภาพรวมของสังคม?

??????????? จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า ปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์มารดา ได้แก่ ภาวะขาดสารอาหาร ความเครียดหรือภาวะกดดันสภาวะจิตหรือสังคม นิโคตินจากการสูบบุหรี่ การกินเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การใช้สารเสพติดโคเคน ภาวะแทรกซ้อนและการบาดเจ็บที่ศีรษะของทารกจากการคลอด ภาวะขาดเลือดหรือออกซิเจนของทารกในครรภ์ รวมถึงภาวะต่างๆ ที่ส่งผลทำให้ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทำให้เกิดกลุ่มอาการสมาธิสั้น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคกลุ่มเมตาบอลิก (metabolic disease) ได้

??????????? การเกิดทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าจะส่งผลกระทบต่อโปรแกรมการเจริญเติบโตทางพันธุกรรมที่กำหนดไว้ โดยทำให้ทารกเกิดภาวะอดออม (thrifty phenotype) โดยมีการตั้งโปรแกรมใหม่ที่ปรับตัวให้เหมาะสมกับการใช้สารอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น เมื่อทารกเติบโตขึ้น การได้รับสารอาหารมากกว่าปกติเพียงเล็กน้อยจึงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเกิดโรคต่างๆ เนื่องจากความคุ้นเคยจากที่กำหนดจากการตั้งโปรแกรมการเจริญเติบโตแบบอดออมของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ภาวะอดออมยังส่งผลทำให้ทารกเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดด้วย เพื่อเป็นกลไกในการลดอันตรายจากการขาดสารอาหารในครรภ์ แต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเพิ่มขึ้นหลังคลอด

??????????? มีการศึกษาถึงผลของการให้ออกซิโตซินพบว่าช่วยหรือซ่อมแซมกลไกการเกิดการตั้งโปรแกรมอดออมของทารกได้1 ดังนั้น การให้ลูกได้กินนมแม่ ซึ่งมีการกระตุ้นออกซิโตซินตามธรรมชาติก็น่าจะมีส่วนช่วยในการลดการเกิดกลุ่มอาการสมาธิสั้นได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Vargas-Martinez F, Schanler RJ, Abrams SA, et al. Oxytocin, a main breastfeeding hormone, prevents hypertension acquired in utero: A therapeutics preview. Biochim Biophys Acta 2017;1861:3071-84.