คลังเก็บป้ายกำกับ: ลักษณะที่แสดงถึงความดันโลหิตสูงที่ถูกตั้งโปรแกรมก่อนการคลอดกับออกซิโตซิน

ลักษณะที่แสดงถึงความดันโลหิตสูงที่ถูกตั้งโปรแกรมก่อนการคลอดกับออกซิโตซิน

IMG_3545

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การคลอดก่อนกำหนดและภาวะทารกน้ำหนักตัวน้อยที่เกิดจากทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้าจะเปลี่ยนโปรแกรมการเจริญเติบโต การพัฒนาการ และความสมบูรณ์เต็มที่ ทำให้เกิดโปรแกรมอดออมในทารก กลไกการเปลี่ยนแปลงนี้อธิบายจากการเพิ่มขึ้นของคอร์ติโคสเตอรอน (corticosterone) ที่มากเกินไปในครรภ์ที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนซึ่งพบในภาวะที่มีการขาดอาหารหรือเครียดโดยมีผลชักนำทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและโรคทางเมตาบอลิกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นผ่าน angiotensin II ที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงที่จะผลิต reactive oxygen species radicals ที่มีผลเพิ่มระดับน้ำตาลจากการต้านฤทธิ์การทำงานของอินซูลิน นอกจากนี้ คอร์ติโคสเตอรอนที่มากเกินไปยังมีผลต่อกระบวนการ suractive glutamategic transmission ที่ทำให้มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่จะเกิดโรคทางระบบประสาท ได้แก่ พาร์กินสัน (Parkinson disease) และอัลไซเมอร์ (Alzheimer?s disease) ด้วย

??????????? ความเชื่อมโยงความผิดปกติของระบบประสาทและพฤติกรรม สารชีวเคมีที่บ่งชี้กับภาวะความดันโลหิตสูงนั้น ยังอธิบายได้จากภาวะที่ขาดอาหารในครรภ์หรือภาวะอดออมของทารกจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม การตอบสนองต่อความเครียด การเปลี่ยนแปลงจังหวะการเต้นของหัวใจ ความผิดปกติในด้านความจำ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์และพฤติกรรมการปรับตัวต่อสิ่งเร้าที่ผิดปกติ และโรคมะเร็ง โดยสามารถตรวจพบสารชีวเคมีที่เป็นตัวบ่งชี้ ได้แก่ สารสื่อประสาท acetylcholine และ GABA เอนไซม์ receptor และ neuropeptide อื่นๆ ?มีค่าที่เปลี่ยนแปลงไปในทารกที่เกิดภาวะขาดอาหาร นอกจากนี้ ยังพบการลดน้อยลงและการฝ่อของนิวเคลียสของเซลล์ประสาทในฮิปโปแคมปัสส่วนหลัง (dorsal hippocampus) ในขณะที่พบการทำงานของ noradrenergic และ corticotropin ใน paraventricular nucleus เพิ่มขึ้นที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic เพิ่มขึ้นที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง การเปลี่ยนแปลงของฮิปโปแคมปัสจะส่งผลต่อการทำงานของกลไก hypothalamic-pituitary-adrenal axis (HPA axis) ซึ่ง HPA axis จะเป็นเสมือนตัวตัดสินในการแสดงออกทางพฤติกรรม กระบวนการทางสรีรวิทยาและกระบวนการทางเมตาบอลิกต่างๆ

??????????? ออกซิโตซินจะช่วยในการลดความดันโลหิตสูงผ่านกระบวนการทำให้คอร์ติโคสเตอรอนลดลงส่งผลต่อการลดของ corticotropin ซึ่งจะมีผลต่อ HPA axis ดังนั้น จึงส่งผลต่อพฤติกรรม สรีรวิทยาและกระบวนการทางเมตาบอลิกของทารก นอกจากนี้ ออกซิโตซินยังควบคุมสมดุลของสารน้ำและโซเดียมผ่านทางไต ควบคุมสมดุลของการทำงานของหัวใจ และปกป้องการทำงานของหัวใจผ่านการสร้างไนตริกออกไซด์ (nitric oxide) ด้วย ดังนั้น การเจาะเลือดจากสายสะดือทารกเพื่อตรวจสอบสารชีวเคมีที่เป็นตัวบ่งชี้จะช่วยบอกถึงการวิเคราะห์ปัจจัยที่อยู่เหนือกระบวนการทางพันธุกรรมที่จะแสดงออกถึงสุขภาพของทารกเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นได้ เช่น การตรวจ hypermethylation ของ GRB10 gene จากเลือดจากสายสะดือทารก และมีการศึกษาถึงผลของการให้ออกซิโตซิน glucagon-like peptide-1 (GLP-1) เลปติน (leptin) การเสริมสารอาหารบางชนิด ได้แก่ โอเมก้า 3 (omega-3) กรดไขมัน (fatty acid) บางชนิดsulfuranes, polyphenol like
resveratrol และการใช้ยาบางกลุ่ม ได้แก่ angiotensin-converting enzyme inhibitors โดยคาดหวังถึงผลในการช่วยหรือซ่อมแซมการเปลี่ยนแปลงปัจจัยกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่ผิดปกติ1

? ? ? ? ? ? ? อย่างไรก็ตาม การที่ทารกที่กินนมแม่มีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตส่วนหนึ่งอาจเป็นจากกลไกที่ช่วยหรือซ่อมแซมการเปลี่ยนแปลงปัจจัยกระบวนการเหนือพันธุกรรมที่ผิดปกติของออกซิโตซินที่พบตามธรรมชาติจากการกระตุ้นของทารกที่กินนมแม่ก็เป็นได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาถึงผลที่ชัดเจนในอนาคตต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Vargas-Martinez F, Schanler RJ, Abrams SA, et al. Oxytocin, a main breastfeeding hormone, prevents hypertension acquired in utero: A therapeutics preview. Biochim Biophys Acta 2017;1861:3071-84.