คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

อันตรายของภาวะครรภ์เป็นพิษ

IMG_0283-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบระหว่างการตั้งครรภ์ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายต่อมารดาและทารก นอกจากนี้ในส่วนของตัวมารดาเองหลังคลอดในอนาคต การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดดำอุดตัน โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด เบาหวาน ภาวะธัยรอยด์ต่ำ และสมองเสื่อม นอกจากนี้ในทารกที่เกิดจากมารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษยังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคระบบประสาทและโรคหลอดเลือดทางสมองด้วย1

? ? ? ? ? มีการศึกษาในรายละเอียดของความเสี่ยงในการเกิดโรคทางหลอดเลือดหัวใจพบว่า มารดาที่มีประวัติครรภ์เป็นพิษมีความเสี่ยงในการเกิดโรคทางหลอดเลือดหัวใจประมาณ 13 เท่าในระยะ 10 ปีหลังคลอด (OR 13.08; 95% CI 3.38 to 85.5) ความเสี่ยงประมาณ 8 เท่าในระยะ 30 ปีหลังคลอด (OR 8.43; 95% CI 3.48 to 23.23) และความเสี่ยงประมาณ 3 เท่าในช่วงตลอดชีวิตเมื่อเทียบกับกลุ่มมารดาปกติ (OR 3.25; 95% CI 1.76 to 6.11).2

เอกสารอ้างอิง

  1. Andrea LT, Landi B, Stefano R, et al. Preeclampsia: No longer solely a pregnancy disease. Pregnancy Hypertension: An International Journal of Women?s Cardiovascular Health. 2012;2(4):350-7.
  2. Smith GN, Pudwell J, Walker M, Wen SW. Ten-year, thirty-year, and lifetime cardiovascular disease risk estimates following a pregnancy complicated by preeclampsia. J Obstet Gynaecol Can 2012;34:830-5.

 

 

 

 

 

มารดาที่อ้วนเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

ww2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? หากมารดาอ้วนเมื่อตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด1 โดยความเสี่ยงจะเพิ่มประมาณ 3 เท่าหากมารดามีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 40 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเมื่อเทียบกับมารดาที่มีค่าดัชนีมวลกายปกติ2 นอกจากนี้ในมารดาที่อ้วนยังมีความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ เบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ การแท้ง และการผ่าตัดคลอด ดังนั้น หากมารดามีการวางแผนการตั้งครรภ์ การควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกายให้น้ำหนักใกล้เคียงค่าดัชนีมวลกายปกติ ความเสี่ยงเหล่านี้จะลดลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Gyamf IBC. Maternal obesity is an independent risk factor for spontaneous extremely preterm delivery. Evid Based Med 2014;19:71.
  2. Cnattingius S, Villamor E, Johansson S, et al. Maternal obesity and risk of preterm delivery. JAMA 2013;309:2362-70.

 

การใช้แมกนีเซียมซัลเฟตในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

ทารกคลอดก่อนกำหนด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ยาที่ใช้ในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดมีหลายกลุ่ม แมกนีเซียมซัลเฟตเป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งควรใช้ด้วยความระมัดระวังเนื่องจาก ช่วงความปลอดภัยของขนาดยาแคบ อาจเกิดอันตรายได้จากการได้รับขนาดยาที่มากเกินไป โดยอาจทำให้กดการหายใจและเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ การใช้ยาที่นานกว่า 5-7 วัน อาจมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแคลเซียมต่ำ กระดูกบาง และกระดูกหักในทารก องค์กรอาหารและยาในสหรัฐอเมริกาได้ปรับกลุ่มยาแมกนีเซียมซัลเฟตที่ใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์จากกลุ่ม A เป็นกลุ่ม D1 ดังนั้น ยาแมกนีเซียมซัลเฟตจึงไม่ควรใช้เป็นทางเลือกแรกในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

เอกสารอ้างอิง

  1. FDA Drug Safety Communication: FDA Recommends Against Prolonged Use of Magnesium Sulfate to Stop Pre-term Labor Due to Bone Changes in Exposed Babies. 2013.

การให้โฟลิกแก่มารดาก่อนการตั้งครรภ์

IMG_0310

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การให้โฟลิกเป็นระยะเวลาสามเดือนก่อนการตั้งครรภ์พบว่าสามารถป้องกันการเกิดความผิดปกติของระบบท่อประสาท (neural tube defect) ของทารกในมารดาที่มีประวัติคลอดทารกหรือมีความเสี่ยงที่จะมีทารกที่มีความผิดปกติของระบบท่อประสาทได้ แต่สำหรับการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด มีการศึกษาการให้โฟลิกก่อนการตั้งครรภ์พบว่า ไม่มีผลในการป้องกันการเกิดการคลอดก่อนกำหนดและการให้ก่อนการตั้งครรภ์มากกว่าสองเดือนอาจมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น (HR 1.18; CI 1.05-1.32)1 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลส่วนนี้ยังมีน้อยจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Sengpiel V, Bacelis J, Myhre R, et al. Folic acid supplementation, dietary folate intake during pregnancy and risk for spontaneous preterm delivery: a prospective observational cohort study. BMC Pregnancy Childbirth 2014;14:375.

 

 

การให้วิตามินเอในทารกคลอดก่อนกำหนด

พัฒนาการทั่วไปของทารกแรกเกิด-1-7-วัน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?มีการศึกษาถึงระดับวิตามินเอในทารกที่คลอดก่อนกำหนดพบว่า ระดับวิตามินเอในทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีระดับต่ำ จึงมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการให้วิตามินเอกับการป้องกันโรคต่างๆ ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด ซึ่งพบว่า การให้วิตามินเอฉีดเข้ากล้ามเนื้อแก่ทารกที่มีภาวะน้ำหนักตัวน้อยมาก (extremely low birthweight) จะช่วยลดการเกิดโรคปอดเรื้อรัง (chronic lung disease) โดยเชื่อว่าช่วยลดการเกิดกลไกการอักเสบของ cytokine และยังช่วยในการพัฒนาการของจอประสาทตาของทารก แต่ข้อมูลในการช่วยภาวะการเกิดตาบอดจากการให้ออกซิเจนปริมาณสูง (retinopathy of prematurity)1 ข้อมูลยังมีจำกัด ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Mactier H. Vitamin A for preterm infants; where are we now? Semin Fetal Neonatal Med 2013.