คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

เวลาที่เหมาะสมในการหนีบและตัดสายสะดือในทารกแรกเกิด

PICT0099-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? การหนีบและตัดสายสะดือในทารกแรกเกิด เดิมทีสูติแพทย์มักหนีบและตัดสายสะดือในทารกแรกเกิดทันที แต่ในปัจจุบัน แนะนำให้รอ 30 วินาที ถึง 2 นาทีในทารกที่คลอดครบกำหนด ซึ่งการรอจะช่วยให้ทารกได้รับเลือดเพิ่มขึ้นจากเลือดที่อยู่ในรกโดยจะป้องกันการเกิดการซีดจากการขาดธาตุเหล็กในทารกอายุ 4-6 เดือน1 นอกจากนี้ มีการศึกษาว่า การออย่างน้อย 30 วินาทีแล้วจึงหนีบและตัดสายสะดือทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะช่วยเพิ่มความเข้มข้นของเลือดทารก ทำให้ความดันโลหิต การปัสสาวะ และการทำงานของหัวใจของทารกดีขึ้น และยังช่วยลดการใช้ยากระตุ้นการทำงานของหัวใจและการให้เลือดในระยะแรกเกิดได้ด้วย1,2 ดังนั้นจึงแนะให้หนีบและตัดสายสะดือในทารกแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดและทารกที่คลอดก่อนกำหนดโดยรออย่างน้อย 30 วินาทีก่อนการหนีบและตัดสายสะดือ

เอกสารอ้างอิง

  1. Raju TN. Timing of umbilical cord clamping after birth for optimizing placental transfusion. Curr Opin Pediatr 2013;25:180-7.
  2. Committee Opinion No.543: Timing of umbilical cord clamping after birth. Obstet Gynecol 2012;120:1522-6.

 

การใช้ pessary ในมารดาตั้งครรภ์ที่มีปากมดลูกสั้น

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ในปัจจุบัน ในมารดาที่มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด หากพบมารดามีความยาวของปากมดลูกสั้น มีการแนะนำให้ใช้ยาโปรเจสเตอโรนเพื่อช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนด แต่มีการศึกษาการใช้ pessary ในมารดาตั้งครรภ์ที่ตรวจพบว่ามีปากมดลูกสั้นกว่า 25 มิลลิเมตรที่อายุครรภ์ 20-23 สัปดาห์ พบว่า ช่วยลดการคลอดก่อนอายุครรภ์ 34 สัปดาห์ได้ (odds ratio 0.18, 95% CI 0.08-0.37; p<0.0001)1 อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยวิธีนี้ยังไม่ได้เป็นทางเลือกแรกในการรักษา ดังนั้นการเลือกควรต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง

เอกสารอ้างอิง

  1. Goya M, Pratcorona L, Merced C, et al. Cervical pessary in pregnant women with a short cervix (PECEP): an open-label randomised controlled trial. Lancet 2012;379:1800-6.

 

การให้คอร์ติคอสเตียรอยด์ในทารกใกล้ครบกำหนดคลอด

1523E86E-E72C-461B-9A29-0795B537AFBB_mw1024_n_s

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การให้คอร์ติคอสเตียรอยด์ (corticosteroid) ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์จะช่วยกระตุ้นความสมบูรณ์ของการทำงานของเซลล์ในปอดทารก และลดการเกิดการหายใจเร็ว หอบจากการเกิด respiratory distress syndrome ในทารก ขณะที่การให้คอร์ติคอสเตียรอยด์ (corticosteroid) ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์ มีการศึกษาพบว่าช่วยลดการเกิด respiratory distress syndrome ในทารกได้เกือบครึ่งหนึ่ง (odds ratio 0.54, 95% confidence interval 0.35-0.83) อย่างไรก็ตาม สำหรับทารกที่ครบกำหนด การให้คอร์ติคอสเตียรอยด์อาจเกิดอันตรายเนื่องจากพบว่ามีความเสี่ยงในการเกิดคะแนน Apgar ที่ต่ำ1

เอกสารอ้างอิง

  1. Eriksson L, Haglund B, Ewald U, Odlind V, Kieler H. Health consequences of prophylactic exposure to antenatal corticosteroids among children born late preterm or term. Acta Obstet Gynecol Scand 2012;91:1415-21.

 

การใช้โปรเจสเตอโรนในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

NICU Tour

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? สาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดมีหลายสาเหตุและมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายปัจจัย โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อ การแตกของถุงน้ำคร่ำก่อนกำหนด การมีขนาดของมดลูกขยายมาก การหดรัดตัวของมดลูกที่ผิดปกติ ความผิดปกติของรก และความผิดปกติของฮอร์โมน มีการศึกษาเกี่ยวกับในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดโดยการใช้โปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนหนึ่งที่จำเป็นในระหว่างการตั้งครรภ์ พบว่า โปรเจสเตอโรนมีประสิทธิภาพในการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด โดยการให้โปรเจสเตอโรนทางช่องคลอดวันละครั้งในระหว่างมารดาตั้งครรภ์ 14-18 สัปดาห์จนกระทั่งอายุครรภ์ 36 สัปดาห์จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าการให้โปรเจสเตอโรนฉีดเข้ากล้ามเนื้อสัปดาห์ละครั้ง1 และพบอาการข้างเคียงเพียงเล็กน้อย

? ? ? ? ? ? ? แต่สิ่งที่สำคัญที่จำเป็นก่อนการตัดสินใจใช้ยา คือ การซักประวัติ ตรวจร่างกาย ร่วมกับการให้การวินิจฉัยอย่างเหมาะสมว่า มารดาคนใดมีความเสี่ยงที่จำเป็นต้องให้โปรเจสเตอโรนเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนด

เอกสารอ้างอิง

  1. Maher MA, Abdelaziz A, Ellaithy M, Bazeed MF. Prevention of preterm birth: a randomized trial of vaginal compared with intramuscular progesterone. Acta Obstet Gynecol Scand 2013;92:215-22.

 

 

ความเสี่ยงของทารกที่คลอดน้ำหนักตัวน้อย

PICT0106-1

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?ทารกที่คลอดและมีน้ำหนักตัวน้อยเนื่องจากการเจริญเติบโตในครรภ์ช้าหรือถูกจำกัด (fetal growth restriction) มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและความเจ็บป่วยหลายอย่าง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยในระยะสั้นจะพบทารกมีความเสี่ยงต่อความผิดปกติของเลือด การเผาพลาญอาหาร การมีระดับน้ำตาลต่ำ ทารกควบคุมอุณหภูมิได้ไม่ดี ตัวเย็น (hypothermia) ทารกหายใจเร็ว การมีการอักเสบของลำไส้และทางเดินอาหารจากเนื้อเยื่อที่ตาย (necrotizing enterocolitis) การเกิดความผิดปกติของจอประสาทตาหรือตาบอดจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและให้ออกซิเจนในปริมาณที่สูง (retinopathy of prematurity)1

? ? ? ? ? ?สำหรับในระยะยาวทารก เมื่อทารกเติบโตขึ้นจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งจะนำไปสู่โรคหัวใจและหลอดเลือด พบภาวะตัวเตี้ย การมีเปลี่ยนแปลงในการเข้าสู่วัยรุ่นช้า อาจมีความผิดปกติของระบบประสาท ระบบการทำงานของกล้ามเนื้อ และการเรียนรู้ได้ ร่วมกับพบในทารกที่เป็นสตรีเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธ์จะมีความเสี่ยงในการเกิดประจำเดือนมาผิดปกติ มีสิว ผิวมัน และอ้วนจากการพบภาวะการมีถุงน้ำในรังไข่จำนวนมากในรังไข่ (polycystic ovarian syndrome) ดังนั้น การป้องกัน พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะนี้กับทารกในครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงต่างๆ ในการเกิดความเจ็บป่วยและช่วยน่าให้ประเทศชาติมีทรัพยากรบุคคลที่มีสุขภาพดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Longo S, Bollani L, Decembrino L, Di Comite A, Angelini M, Stronati M. Short-term and long-term sequelae in intrauterine growth retardation (IUGR). J Matern Fetal Neonatal Med 2013;26:222-5.