คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตกแต่งห้องใหม่ระหว่างการตั้งครรภ์

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การตกแต่งห้องใหม่ให้สตรีตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด การเคลือบสีเฟอร์นิเจอร์ด้วยสารเชลแล็ก หรือสีที่มีส่วนประกอบของทินเนอร์หรือสารระเหยควรระมัดระวังสำหรับสตรีตั้งครรภ์ การทำพื้นปาเก้ที่เคลือบยูรีเทน การใช้วัสดุยาแนวระหว่างรอยต่อกระเบื้องพื้นควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากมีการศึกษาในสัตว์ทดลองว่ามีอันตรายระหว่างการตั้งครรภ์

เอกสารอ้างอิง

  1. Long VE, McMullen PC. Telephone triage for obstetrics and gynecology. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins, 2010; 49.

การทาสีบ้านระหว่างการตั้งครรภ์

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การทาสีบ้าน หากเป็นสีภายในซึ่งมักจะใช้สีน้ำผสมกาวยาง (latex paint) จะค่อนข้างปลอดภัยในการเปลี่ยนสีห้องภายในบ้านระหว่างการตั้งครรภ์ แต่ควรเปิดให้อากาศถ่ายเทสะดวกระหว่างการทาสีใหม่ๆ การใช้แปรงหรือลูกกลิ้ง การฟุ้งกระจายของสีจะน้อยกว่าการใช้สีสเปรย์ และควรหลีกเลี่ยงการใช้สีสเปรย์ที่ผสมสาร m-butyl ketone หรือ MBK เนื่องจากเป็นพิษโดยการทำลายระบบประสาทของทารกในมารดาที่ได้รับสารนี้ระหว่างการตั้งครรภ์ได้ สำหรับการใช้สีน้ำมันหรือสีที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว สีน้ำมันส่วนใหญ่จะมีสารปรอทเป็นส่วนประกอบ และสารตะกั่วในสีเป็นพิษต่อทารก ซึ่งมารดาควรหลีกเลี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์

เอกสารอ้างอิง

  1. Long VE, McMullen PC. Telephone triage for obstetrics and gynecology. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins, 2010; 48-9.

เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์กับเด็กออทิสติก

w51

รศ.นพ.ภาวิน? พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดออทิสติกในเด็กมีหลายอย่างทั้งด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม สำหรับสตรีตั้งครรภ์ ความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิด ? ? ออทิสติกในทารก ได้แก่ การที่มารดาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ โดยมีการศึกษาพบว่า มารดาที่เป็นเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วงแรกจนถึง? 26 สัปดาห์ มีความเสี่ยงในการเกิดออทิสติกในทารกเพิ่มขึ้น 1.42 เท่า (95% CI 1.15-1.74)1? ดังนั้น การดูแลและปฏิบัติตัว รับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ ก็น่าจะลดความเสี่ยงในการเกิดทารก ? ? ? ?ออทิสติกได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Xiang AH, Wang X, Martinez MP, et al. Association of maternal diabetes with autism in offspring. JAMA 2015;313:1425-34.

 

การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังกับการตั้งครรภ์

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังเป็นภาวะที่พบได้มากในทุกประเทศทั่วโลก ในทวีปเอเซียมีประชากรที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังถึงร้อยละ 8-101,2ซึ่งร้อยละ 50 ของผู้ติดเชื้อที่รายใหม่เป็นการติดเชื้อที่ผ่านจากมารดาไปทารก3 ในช่วงก่อนที่จะมีการให้วัคซีนช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี อัตราการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกสูงถึงร้อยละ 70-90 ในมารดาที่มี HBS Ag และ HBe Ag เป็นบวก4 แต่เมื่อมีการให้ Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) และ Hepatitis B vaccine อัตราการติดเชื้อลดลงเหลือร้อยละ 5-105 ?

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Kumar M, Sarin SK, Hissar S, et al. Virologic and histologic features of chronic hepatitis B virus-infected asymptomatic patients with persistently normal ALT. Gastroenterology 2008;134:1376-84.

2.???????????? Lavanchy D. Hepatitis B virus epidemiology, disease burden, treatment, and current and emerging prevention and control measures. J Viral Hepat 2004;11:97-107.

3.???????????? Gambarin-Gelwan M. Hepatitis B in pregnancy. Clin Liver Dis 2007;11:945-63, x.

4.???????????? Beasley RP, Trepo C, Stevens CE, Szmuness W. The e antigen and vertical transmission of hepatitis B surface antigen. Am J Epidemiol 1977;105:94-8.

5.???????????? Li XM, Shi MF, Yang YB, et al. Effect of hepatitis B immunoglobulin on interruption of HBV intrauterine infection. World J Gastroenterol 2004;10:3215-7.

?

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

 

? ? ? ? ? การตั้งครรภ์และการคลอดถือเป็นกลไกการสืบต่อเผ่าพันธุ์ ซึ่งเป็นกระบวนการธรรมชาติ ในอดีตการตั้งครรภ์ได้รับการดูแลโดยผู้อาวุโส และผู้รู้ในชุมชน ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์และการคลอดที่ผิดปกติ ในประเทศไทยก็มักจะคิดถึงเรื่องของบุญและกรรมที่ทำมาแต่ปางก่อน แต่ในปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ดีขึ้น ความคาดหวังของครอบครัวที่มีคือ เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็ต้องคลอดได้บุตรแข็งแรง และแม่ที่ปลอดภัย เช่นเดียวกับที่ทีมแพทย์ผู้ดูแลรักษาต้องการ แต่กับรับรู้เรื่องความเสี่ยงของการตั้งครรภ์และการคลอดนั้น ถูกมองว่าเป็นเรื่องการทางแพทย์ที่จำเป็นต้องดูแล ซึ่งความเป็นจริงเวลาดูแลครรภ์ของแพทย์เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่ของการดูแลครรภ์จึงขึ้นอยู่กับครอบครัว ความรู้เรื่องความเสี่ยงต่างๆ ในการตั้งครรภ์และการคลอดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ครอบครัวจะต้องศึกษา เพื่อผลของการตั้งครรภ์และการคลอดจะได้เป็นไปตามที่คาดหวัง

? ? ? ? ? ก่อนอื่นต้องเริ่มตั้งต้นที่ความเข้าใจที่ว่า ?การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นความเสี่ยงของมารดาและบุตร ทุกการตั้งครรภ์แบ่งเป็นครรภ์เสี่ยงต่ำและครรภ์เสี่ยงสูง โดยครรภ์เสี่ยงต่ำสามารถเปลี่ยนเป็นครรภ์เสี่ยงสูงได้ตลอดเวลา? การตั้งครรภ์เป็นภาวะที่ร่างกายสตรีมีการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งในด้านร่างกายและอารมณ์

? ? ? ? ? ระยะแรกเมื่อมีการตั้งครรภ์ความเสี่ยงที่มี ได้แก่ การตั้งครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีตัวเด็กหรือท้องลม การแท้ง การตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์แฝด อาการอ่อนเพลีย วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นท้อง รับประทานอาหารไม่ได้ น้ำหนักลด ปวดหน่วงท้อง ปวดบริเวณต้นขา ขาหนีบ และหลัง ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ง่วงนอน คล้ายคนขี้เกียจ เป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องเผชิญ ?ในกรณีนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดลำดับแรก คือ คุณแม่ต้องตะหนักรู้ว่าตนเองตั้งครรภ์? การจดจำประจำเดือนครั้งสุดท้าย เพื่อจะทำให้การวินิจฉัยอายุของการตั้งครรภ์สามารถกำหนดได้อย่างแม่นยำจะทำให้การวางแผนการดูแลครรภ์ได้อย่างเหมาะสม เมื่อคุณแม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ การเอาใจใส่และแจ้งให้ครอบครัวทราบเพื่อร่วมระมัดระวังในการดูแลครรภ์ ใส่ใจในเรื่องอาหารการกิน การใช้ยาระหว่างการตั้งครรภ์ น้ำหนักลด อาการผิดปกติที่จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ ได้แก่ ปวดท้องน้อยมาก ปัสสาวะแสบขัด มีเลือดออกจากช่องคลอด มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งข้อมูลการดูแลตนเองระหว่างการตั้งครรภ์นั้น คุณแม่สามารถสอบถามแพทย์ที่ดูแลครรภ์เมื่อเริ่มฝากครรภ์หรือจะศึกษาความรู้ด้วยตนเองก่อนโดยเมื่อสงสัยในข้อมูลใดแล้วจึงสอบถามแพทย์อีกครั้งก็ได้ ?โดยทั่วไปแนะนำให้คุณแม่ควรไปฝากครรภ์ทันที เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์? เพื่อกระบวนการในการร่วมกันดูแลรักษาจะได้เริ่มตั้งแต่ต้น เพราะหากแพทย์วิเคราะห์พบว่ามีครรภ์เสี่ยงสูง จะได้แนะนำรายละเอียดการดูแลต่อไป ความเสี่ยงที่ในระยะนี้ที่พบ การตั้งครรภ์ที่ไม่สมบูรณ์ การตั้งครรภ์ที่ไม่มีตัวเด็ก การแท้ง หากแพทย์สงสัยว่าจะมีความเสี่ยงเหล่านี้ จะอธิบายแนวทางการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมโดยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง ในสมัยก่อน ภาวะเหล่านี้มักจะวินิจฉัยได้ล่าช้า มารดามักมาด้วยอาการของตกเลือดหรือสงสัยการแท้งก่อน คือ ปวดท้องน้อยมาก มีเลือดออกจากช่องคลอด หากมีเลือดออกมาก จะทำให้มารดาตกเลือดเสียชีวิตได้? ในกรณีครรภ์แฝด คุณแม่ส่วนใหญ่มักชอบที่ได้ตั้งครรภ์แฝด แต่ในความเป็นจริงเป็นครรภ์เสี่ยงสูงที่ในระยะแรกอาจพบ การแท้ง การเสียชีวิตของทารกในครรภ์คนใดคนหนึ่ง ภาวะแฝดติดกัน ซึ่งครรภ์แฝดเป็นภาวะที่แพทย์ผู้ดูแลต้องวิตกกังวลมากขึ้นตลอดการตั้งครรภ์และการคลอด

? ? ? ? ? เมื่อการตั้งครรภ์มีอายุครรภ์มากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้แก่ การเจริญเติบโตช้าของทารกในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด การมีเลือดออกจากช่องคลอดระหว่างการตั้งครรภ์ รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งภาวะเหล่านี้ต้องอาศัยการเอาใจใส่ของคุณแม่และครอบครัว เนื่องจากส่วนใหญ่ของการดูแลครรภ์อยู่ที่บ้าน? การที่ผลการตั้งครรภ์จะดีจึงต้องได้รับความร่วมมือจากคุณแม่และครอบครัวในการสังเกตการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่สงสัยว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อนและรีบมาปรึกษาแพทย์ โรงพยาบาลบางแห่ง เช่น ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีสายด่วนคุณแม่ให้สามารถปรึกษาเรื่องครรภ์และการคลอดตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อเป็นการเพิ่มชั่วโมงในการให้คำปรึกษาและดูแลครรภ์ สำหรับการตรวจครรภ์ตามระยะนัดของการฝากครรภ์นั้น เป็นเพียงการคัดกรองความผิดปกติที่ตรวจพบขณะมาฝากครรภ์เท่านั้น ดังนั้นจะเห็นว่าตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการตั้งครรภ์คุณแม่ก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่หลากหลายที่ยังไม่นับรวมความเสี่ยงของการคลอดที่สูงกว่าความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ เพราะหากมีการคลอดที่ผิดปกติ เนิ่นนาน ติดขัด ตกเลือดหลังคลอด มดลูกแตก ก็เป็นเหตุให้เกิดมารดาเสียชีวิตได้ เช่นเดียวกันกับทารกอาจบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน

? ? ? ? ?การตั้งครรภ์และการคลอดของคุณแม่จึงเปรียบเสมือนการออกสู่สนามรบที่มีความเสี่ยง การเกิดของลูกที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงและมารดาปลอดภัยเป็นความหวังของทั้งครอบครัวและแพทย์ผู้ดูแล หากลูกสักคนคิดจะฉลองวันเกิด ควรนึกถึงบุญคุณและความเสี่ยงของคุณแม่เสมอ??เพราะวันเกิดของลูกนั้นเป็นวันเสี่ยงตายของคุณแม่?

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์