คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การให้นมแม่ในสตรีที่ไม่ได้คลอดบุตร

p8

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เนื่องด้วยประโยชน์ของนมแม่ จึงมีความพยายามในการให้นมแม่ในกรณีที่มารดาเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจนเสียชีวิต มีการรับทารกไปเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม ทางเลือกในการให้นมแม่ในทารกเหล่านี้ อาจทำโดยการขอนมจากธนาคารนมแม่หากมีให้บริการในพื้นที่นั้น แต่ส่วนใหญ่แล้วการบริจาคนมแม่ยังมีจำกัด ทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ การกระตุ้นให้มารดาที่รับเลี้ยงทารกมีน้ำนมและให้นมลูกได้1 การกระตุ้นให้มารดาที่รับเลี้ยงมีน้ำนมจะทำโดยการให้ฮอร์โมนคุมกำเนิดเพื่อให้ร่างกายมารดาเสมือนมีการตั้งครรภ์ แล้วหยุดยา จากนั้นให้ทารกกระตุ้นดูดนมวันละ 8 ครั้ง โดยอาจให้ยากระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินร่วมด้วย ซึ่งเป็นการเลียนแบบกลไกธรรมชาติ และทำให้มารดาผู้รับเลี้ยงทารกมีน้ำนมได้ สิ่งนี้นอกจากการมีน้ำนมให้ลูก ยังสานสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารกให้มีความผูกพันกันยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Schnell A. Breastfeeding without birthing: mothers through adoption or surrogacy can breastfeed! J Hum Lact 2015;31:187-8.

 

การออกกำลังกายโดยการวิ่งระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร

w39

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง โดยเฉพาะในผู้ที่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สำหรับสตรีตั้งครรภ์นั้น หากเป็นผู้ที่ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ในการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองยังคงออกกำลังกายได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักเกินไปหรือการเล่นกีฬาที่มีการประทะ การกระแทก หรือเสี่ยงต่อการลื่นหกล้ม สำหรับในไตรมาสที่สาม การขยายของหน้าท้องจะรบกวนสมดุลของร่างกาย การเคลื่อนไหวที่ไม่สมดุลจะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการหกล้มได้ จึงควรเลือกการออกกำลังกายที่ใช้ร่างกายส่วนบน เช่น การแกว่งแขนหรือการออกกำลังกายในน้ำ แต่หากมารดาเป็นผู้ที่วิ่งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีการศึกษาพบว่า การวิ่งออกกำลังกายอาจยังทำได้ แต่ควรลดปริมาณและความเร็วลง เพื่อลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ สำหรับการวิ่งออกกำลังกายในขณะให้นมบุตร ไม่มีผลเสียต่อการให้นม และพบว่าอาจช่วยลดการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. Tenforde AS, Toth KE, Langen E, Fredericson M, Sainani KL. Running habits of competitive runners during pregnancy and breastfeeding. Sports Health 2015;7:172-6.

 

 

มารดาจะมีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างไร

b_45684_002-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? บุคลากรทางการแพทย์ต้องการให้มารดาตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากประโยชน์ที่มีหลากหลายต่อสุขภาพของมารดาและทารก แต่จะทำอย่างไรให้มารดามีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาว่า การให้ความรู้แก่มารดามีความสัมพันธ์กับความตั้งใจของมารดา และหากมารดามีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และความเชื่อมั่นในตนเองว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลต่อความตั้งในในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวด้วย1 ซึ่งหากมารดามีความตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้วจะส่งผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ยาวนานกว่า ดังนั้น การจะสร้างให้มารดามีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างน้อยจะต้องประกอบด้วยการให้ความรู้แก่มารดาให้เพียงพอถึงประโยชน์และความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การปรับเปลี่ยนทัศนคติ ส่วนหนึ่งเป็นจากความรู้ความเข้าใจเรื่องนมแม่ แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ และประสบการณ์ของมารดา ส่วนนี้ต้องอาศัยการสร้างกระแสนมแม่ของภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ที่จะทำให้ ?นมแม่เป็นอาหารปกติสำหรับทารกแรกเกิด? และ ?หากทารกแรกเกิดไม่ได้เริ่มกินนมแม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติ?

? ? ? ? ? ? ? ?สำหรับความเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นั้น พื้นฐานส่วนหนึ่งเป็นจากบุคลิกภาพและประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่การที่บุคลากรทางการแพทย์จัดระบบสร้างให้มารดาได้อยู่และดูแลทารกตลอด 24 ชั่วโมงด้วยตนเองพร้อมการสร้างบรรยากาศในการช่วยเหลือและสนับสนุนให้มารดามีที่พึ่งและได้ฝึกปฏิบัติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเองอย่างเพียงพอ จะสร้างให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเองของมารดาว่าตนเองสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Thomas JS, Yu EA, Tirmizi N, et al. Maternal knowledge, attitudes and self-efficacy in relation to intention to exclusively breastfeed among pregnant women in rural Bangladesh. Matern Child Health J 2015;19:49-57.

 

 

นมแม่สร้างสมดุลภูมิคุ้มกันในลูก

Image 22

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มารดาหลายคนคงมีคำถามว่า นมแม่ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันในลูกได้อย่างไร? ส่วนแรกที่นมแม่ได้ให้แก่ลูกคือ ภูมิคุ้มกันของมารดาที่ส่งให้โดยตรงผ่านน้ำนม ได้แก่ อิมมูโนโกลบูลินเอ ส่วนที่สองคือ การสร้างสมดุลภูมิคุ้มกันของทารกผ่านกระบวนการในลำไส้ที่ได้รับนมแม่? ซึ่งจะมีสารหลายอย่างช่วยสร้างสมดุลของแบคทีเรียพื้นฐานในลำไส้และป้องกันแบคทีเรียที่เกิดโรค เช่น โอลิโกแซคคาไรด์ กรดไขมันสายสั้น แลคโตเฟอริน เป็นต้น นอกจากนี้ ความสมดุลของภูมิคุ้มกันในลำไส้ตั้งแต่แรกเริ่ม ยังช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันในระยะยาวที่จะเกิดในทารก ได้แก่ หอบหืด ลำไส้อักเสบ และเบาหวานชนิดที่ 1 ได้1 ดังนั้น คำตอบของคำถามนี้ น่าจะบ่งบอกถึง ความจริงที่ว่า ทารกที่กินแม่มีอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตที่น้อยกว่าทารกที่กินนมผสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Walker WA, Iyengar RS. Breast milk, microbiota, and intestinal immune homeostasis. Pediatr Res 2015;77:220-8.

 

กินกาแฟมากอาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตร

coffee

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? กาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนปัจจุบันมีการบริโภคกันอย่างแพร่หลายและมีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในหลายกลุ่ม แต่ในมารดาที่ตั้งครรภ์ในระยะแรก ควรระมัดระวัง เนื่องจากมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนกับการแท้งบุตร โดยหากดื่มปริมาณเคเฟอีนในเครื่องดื่มมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวันจะเสี่ยงต่อการแท้งบุตรเพิ่มขึ้น 1.2-1.6 เท่า1 ปริมาณคาเฟอีนในกาแฟจะมีตั้งแต่ 50-100 มิลลิกรัมต่อถ้วยขึ้นอยู่กับชนิดของกาแฟและการชง ดังนั้น มารดาสามารถดื่มกาแฟได้ แต่ในระหว่างการตั้งครรภ์ระยะแรก ไม่ควรดื่มเกินวันละ 1 ถ้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Hahn KA, Wise LA, Rothman KJ, et al. Caffeine and caffeinated beverage consumption and risk of spontaneous abortion. Hum Reprod 2015;30:1246-55.