คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดาดีหรือไม่

64

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?การที่ทารกนอนร่วมห้องเดียวกันและใกล้ชิดกับมารดาจะช่วยให้มารดาสังเกตอาการหิวของทารกได้ง่าย และสามารถให้นมได้ตามที่ทารกต้องการ โดยมีความสะดวกจากการที่อยู่ใกล้ๆ สำหรับการนอนร่วมเตียงเดียวกันนั้น อาจทำได้ในกรณีที่เตียงมีพื้นที่เพียงพอ ไม่นุ่มเกินไปหรือมีซอกหลีบที่ทารกจะหล่นลงไปและเกิดอันตรายได้ โดยมารดาความมีความพร้อม ไม่เหนื่อยหรืออ่อนเพลียจนเกินไป ไม่กินเหล้า เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือได้รับยาที่ทำให้ง่วงซึม เนื่องจากสิ่งที่วิตกกังวลในการนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดาคือ การที่มารดาเบียดทับทารก หรือทารกตกลงในซอกหรือร่องข้างเตียง ดังนั้น หากมีความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว การเลือกให้ทารกนอนอยู่ที่เตียงเล็กข้างๆ มารดาอาจเหมาะสมกว่า แต่ในกรณีที่ไม่มีเตียงเล็ก การจัดพื้นที่ให้เหมาะสมโดยทารกอาจนอนบนพื้น หรือมารดานอนบนพื้นใกล้กับทารกก็สามารถทำได้โดยที่ยังได้ประโยชน์จากการอยู่ใกล้ชิดกันและปราศจากความเสี่ยงที่จะเบียดทับทารกด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

การให้ลูกกินนมแม่คุมกำเนิดได้จริงหรือ

IMG_1010

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในมารดาที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอยู่แล้ว หากต้องการคุมกำเนิด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ โดยโอกาสของการตั้งครรภ์ระหว่างการให้นมลูกอย่างเดียวพบร้อยละ 2 และถือเป็นวิธีการคุมกำเนิดวิธีหนึ่ง โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Lactation Amenorrhea Method หรือ LAM หากมารดาเลือกการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องทราบรายละเอียดของการคุมกำเนิดวิธีนี้ด้วย ซึ่งมี 3 ข้อ ดังนี้

? ? ? ? ? ? ? ?-มารดาจำเป็นต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว โดยให้นมอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 ชั่วโมง

? ? ? ? ? ? ? ?-วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด

? ? ? ? ? ? ? ?-มารดาต้องยังไม่มีประจำเดือนมาระหว่างการคุมกำเนิด

? ? ? ? ? ? ? หากมารดาไม่สามารถให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวได้ หรือมีประจำเดือนมาในระหว่างให้นมลูก หรือต้องการคุมกำเนิดนานกว่าหกเดือน การคุมกำเนิดเสริมด้วยวิธีอื่นๆ จะทำให้ประสิทธิภาพของการตั้งครรภ์สูงขึ้น โดยอาจใช้ถุงยางอนามัย หรือการกินยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียวร่วมด้วย มารดาก็ไม่จำเป็นที่จะวิตกกังวลเรื่องการตั้งครรภ์หรือมีบุตรที่จะเกิดใกล้ชิดกันอีกต่อไป และเมื่อครบระยะหลังคลอดหกเดือน การคุมกำเนิดเสริมอาจใช้เป็นการคุมกำเนิดหลักต่อไปได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

ทารกกินนมเสียงดังเป็นอะไรไหม

00024-3-1-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?โดยทั่วไป หากทารกเข้าเต้าและดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะทารกดูดนมจะไม่ได้ยินเสียงการดูดนมเนื่องจากปากของทารกประกบกับเต้านมได้แนบสนิท แต่จะได้ยินเสียงการกลืนนมของทารกได้ ในกรณีที่ทารกกินนมแล้วมีเสียงดังขณะดูดนม ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม มารดาหรือบุคลากรทางการแพทย์ต้องสังเกตว่าขณะเข้าเต้า ทารกได้อ้าปากกว้าง ริมฝีปากของทารกบานออก หน้าอกของทารกอยู่ชิดลำตัวมารดา และไหล่ ลำตัวและสะโพกของทารกอยู่ในแนวเดียวกัน ซึ่งหากมีการปรับเปลี่ยนท่าการเข้าเต้าได้เหมาะสม การเกิดเสียงดังขณะทารกดูดนมจะหายไป ในกรณีที่ปรับเปลี่ยนท่าแล้ว ทารกยังเข้าเต้าได้ไม่ดี โดยไม่สามารถอมหัวนมและลานนมได้ลึกพอ ควรตรวจดูภาวะลิ้นติดในช่องปากของทารก ซึ่งหากมีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรงและมารดามีอาการเจ็บหัวนมร่วมด้วย อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข แต่ในกรณีที่ทารกมีอาการคัดจมูกหรือมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน มารดาอาจได้ยินเสียงหายใจขัดหรือหายใจเร็วขณะที่ทารกดูดนมได้ ซึ่งการแก้ไขทำโดยอาจใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกหรือเสมหะจากจมูก หรือใช้น้ำเกลือล้างจมูกเพื่อลดการอุดตันของน้ำมูกจะทำให้ทารกหายใจได้โล่งขึ้นและดูดนมได้ดีขึ้นด้วย

? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ ในกรณีที่มารดามีน้ำนมไหลมากและไหลเร็วจนเกินไป อาจได้ยินเสียงทารกสำลักน้ำนม การแก้ไขอาจบีบน้ำนมออกก่อน ให้เต้านมคัดตึงน้อยลง น้ำนมจะไหลช้าลง ทารกก็จะดูดนมได้ดีขึ้นโดยไม่สำลัก ดังนั้นจะเห็นว่า การสังเกตเสียงที่ผิดปกติขณะทารกดูดนม การปรับเปลี่ยนลักษณะการเข้าเต้าให้เหมาะสม ร่วมกับการตรวจในช่องปากทารกมีความสำคัญ โดยจะช่วยให้ทารกสามารถกินนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

อาการแพ้ในทารกที่กินนมแม่

00026-1-1-o-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? มารดาบางคนอาจมีคำถามว่า ทารกที่กินนมแม่จะมีอาการแพ้ได้หรือไม่ โดยทั่วไป การที่ทารกกินนมแม่จะช่วยป้องกันและลดอาการภูมิแพ้ได้ แต่ในกรณีที่มารดารับประทานอาหารบางอย่าง ได้แก่ นมวัว ผลิตภัณฑ์จากนมวัว สีผสมอาหาร สารกันบูด ไข่ ช็อคโกแลต ถั่ว สารจากอาหารเหล่านี้จะผ่านน้ำนมและทำให้เกิดอาการแพ้ในทารกได้ ซึ่งที่พบบ่อยคือ การแพ้นมวัวหรือผลิตภัณฑ์จากนมวัว โดยพบราวร้อยละ 2-3 ทารกที่มีอาการแพ้อาจพบมีอาการหงุดหงิด งอแง เป็นผื่น คันบริเวณตา คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูกหรือท้องเสีย และอุจจาระอาจมีมูกเลือดปน ในกรณีที่มีอาการที่สงสัยการแพ้นมวัวจากอาหารที่มารดารับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยที่แน่ชัด การให้มารดางดนมวัวหรือผลิตภัณฑ์จากนมวัว เนย ชีส หรืออาหารที่มีส่วนผสมของนมวัว แล้วติดตามดูอาการของทารกส่วนใหญ่จะดีขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม การแพ้สารอาหารที่ผ่านทางน้ำนมนี้ไม่ได้เป็นอาการแพ้ชนิดที่รุนแรงจนเกิดอาการช็อก (anaphylactic shock) และการที่ทารกกินนมแม่ส่วนใหญ่จะช่วยลดความรุนแรงและอาจทำให้เห็นแพ้ช้าลงได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd The American Academy of Pediatrics 2016.

 

มารดาเจ็บเต้านมขณะที่ให้นมบุตร ต้องระวังอย่างไรบ้าง

IMG_1005

??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?อาการเจ็บเต้านมเป็นอาการที่พบได้บ่อยหลังคลอดและระหว่างการให้นมบุตร มารดาและบุคลากรทางการแพทย์ควรทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บเต้านม เพื่อการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมและหากมีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ อาการเจ็บเต้านมของมารดาเกิดได้จาก

? ? ? ? ? ?-การตึงคัดเต้านมในระยะหลังคลอด มารดาอาจมีไข้ต่ำๆ ส่วนใหญ่อาการไข้จะไม่นานเกิน 24 ชั่วโมง การประคบเย็นจะช่วยลดอาการปวดคัดตึงเต้านมได้

? ? ? ? ? ?-ก้อนจากการอุดตันของท่อน้ำนม (plugged duct) มักจะพบในมารดาที่ใส่เสื้อชั้นในคับจนเกินไปจนขัดขวางการไหลของน้ำนมในท่อน้ำนม เกิดท่อน้ำนมอุดตัน เป็นก้อน กดเจ็บ การประคบร้อนและนวดเต้านมบริเวณที่เป็นก้อนจะช่วยในการรักษาได้

? ? ? ? ? ?-เต้านมอักเสบ ารดาจะมีไข้ร่วมด้วย เต้านมจะบวม แดง และร้อน อาจคลำได้เป็นก้อนแข็งในบางจุด ซึ่งจะกดเจ็บ การรักษาอาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อที่พบเป็นสาเหตุบ่อยคือเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังจำพวก staphyolococcus หรือ streptococcus

? ? ? ? ? ?-ฝีที่เต้านม อาการจะคล้ายกับเต้านมอักเสบ แต่จะคลำได้เป็นก้อนหยุ่นๆ เป็นลักษณะของฝีในบริเวณที่กดเจ็บ ผิวหนังเหนือบริเวณที่เกิดฝีที่คล้ำเป็นสีม่วง ภาวะฝีที่เต้านมเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จำเป็นต้องมีการระบายหนองออก โดยทั่วไปใช้การเจาะดูดออกร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ

? ? ? ? ? ?-การอักเสบจากการติดเชื้อรา มารดาจะมีอาการเจ็บหัวนมร้าวไปที่เต้านม โดยลักษณะการเจ็บจะเจ็บจี๊ดร้าวไปด้านหลัง ผิวหนังบริเวณหัวนมจะมีลักษณะเป็นสะเก็ด มัน และสีชมพู มักพบในมารดาที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะระหว่างการคลอด หรือใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน มารดาที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และมารดาที่เป็นเบาหวาน การรักษาในมารดาสามารถใช้ยาฆ่าเชื้อยาชนิดรับประทานหรือยาทา และทายา gentian violet ในปากทารกเพื่อร่วมในการรักษาด้วย ?

? ? ? ? ? ? สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บเต้านมอื่นๆ ได้แก่ การเกิดผิวหนังอักเสบบริเวณเต้านม (eczema) การเกิดผิวหนังอักเสบจากการเป็นมะเร็ง (Paget disease) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บเต้านมและอาการคันบริเวณผิวหนังบริเวณหัวนมหรือเต้านมได้ นอกจากนี้ หากมีอาการเจ็บหัวนมหลังการดูดนมใหม่ๆ หรือขณะอากาศเย็น หรือหลังการอาบน้ำ อาจเป็นอาการเจ็บหัวนมจากเส้นเลือดหดรัดตัวผิดปกติ (Raynaud phenomenon) ซึ่งการเช็ดหัวนมให้แห้งและหลีกเลี่ยงอากาศที่เย็นจะช่วยในการรักษาได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.