คลังเก็บป้ายกำกับ: การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกัน

การให้ทารกนอนร่วมเตียงกับมารดาต้องระวังในมารดาที่มีความเสี่ยง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

               การที่ให้ทารกนอนร่วมเตียงกับมารดาในระยะหลังคลอดมีรายงานการศึกษาว่าช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น เนื่องจากมารดาสามารถจะสังเกตอาการหิวของทารกได้ดีกว่า และทำการให้นมแม่ได้ตามที่ทารกต้องการ อย่างไรก็ตามในระยะหลังมีการศึกษาพบว่าในมารดาที่มีความเสี่ยง ได้แก่ มารดาวัยรุ่น มารดาที่มีการใช้ยาเสพติดหรือติดบุหรี่ มารดาที่มีความเจ็บป่วยหรือใช้ยานอนหลับ และหากเตียงที่ให้ทารกมีความไม่ปลอดภัยเสี่ยงต่อการพลัดตกหรือมีพื้นที่คับแคบเกินไปเสี่ยงต่อการที่มารดาจะเบียดทับทารก1 ในกรณีเหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่บุคลาการทางการแพทย์ควรให้ความสนใจและหากไม่สามารถให้การดูแลได้อย่างใกล้ชิด ควรหลีกเลี่ยงที่จะให้มารดาและทารกนอนเตียงเดียว เพื่อลดความเสี่ยงที่ทารกจะตกเตียง ตกร่องข้างเตียง หรือถูกมารดาทับจนเกิดอันตรายได้ ซึ่งการพิจารณาควรชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับและผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยทางการแพทย์มักดูแลตามหลักความปลอดภัยไว้ก่อนอันเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรคำนึงถึงเสมอ

เอกสารอ้างอิง

  1. Hughes Driscoll CA, Pereira N, Lichenstein R. In-hospital Neonatal Falls: An Unintended Consequence of Efforts to Improve Breastfeeding. Pediatrics 2019;143.

การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดาดีหรือไม่

64

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?การที่ทารกนอนร่วมห้องเดียวกันและใกล้ชิดกับมารดาจะช่วยให้มารดาสังเกตอาการหิวของทารกได้ง่าย และสามารถให้นมได้ตามที่ทารกต้องการ โดยมีความสะดวกจากการที่อยู่ใกล้ๆ สำหรับการนอนร่วมเตียงเดียวกันนั้น อาจทำได้ในกรณีที่เตียงมีพื้นที่เพียงพอ ไม่นุ่มเกินไปหรือมีซอกหลีบที่ทารกจะหล่นลงไปและเกิดอันตรายได้ โดยมารดาความมีความพร้อม ไม่เหนื่อยหรืออ่อนเพลียจนเกินไป ไม่กินเหล้า เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือได้รับยาที่ทำให้ง่วงซึม เนื่องจากสิ่งที่วิตกกังวลในการนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดาคือ การที่มารดาเบียดทับทารก หรือทารกตกลงในซอกหรือร่องข้างเตียง ดังนั้น หากมีความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว การเลือกให้ทารกนอนอยู่ที่เตียงเล็กข้างๆ มารดาอาจเหมาะสมกว่า แต่ในกรณีที่ไม่มีเตียงเล็ก การจัดพื้นที่ให้เหมาะสมโดยทารกอาจนอนบนพื้น หรือมารดานอนบนพื้นใกล้กับทารกก็สามารถทำได้โดยที่ยังได้ประโยชน์จากการอยู่ใกล้ชิดกันและปราศจากความเสี่ยงที่จะเบียดทับทารกด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.

การให้ทารกนอนร่วมเตียงกับมารดาในช่วงให้นมบุตร

3332784848_bba8a16fdc_o

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้ทารกได้ใกล้ชิดกับมารดา นอกจากประโยชน์ในการช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้นแล้ว ทารกที่ใกล้ชิดกับมารดาจะรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในปัจจุบัน ยังมีความวิตกกังวลในเรื่องความเสี่ยงจากการที่ทารกเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุเฉียบพลัน (sudden infant death syndrome) ซึ่งมักพบในมารดาที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ทารกที่นอนร่วมเตียงกับมารดาบนโซฟาหรือที่นั่งเบาะเอนหลัง1,2 ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ทารกที่กินนมผสม3,4 และทารกที่นอนคว่ำ5,6 จะเห็นว่า ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้หากมีการให้ความรู้ความเข้าใจแก่มารดา น่าจะลดปัญหาในการเกิดอันตรายแก่ทารกได้ ร่วมกับหากมารดามีผู้ช่วยที่ดี เช่นสามีหรือคนในครอบครัวช่วยแบ่งเบาภาระงานอื่นๆ ของมารดาให้มารดาได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ การให้ทารกนอนร่วมเตียงกับมารดาในสถานที่ที่เหมาะสม เตียงที่มีความกว้างเพียงพอ? ไม่มีร่องหลืบให้ทารกพลัดตกได้ ไม่ใช้หมอนหรือผ้ารองหนุนทารกที่นุ่มเกินไป1 การนอนร่วมเตียงของมารดากับทารกในช่วงให้นมบุตรน่าจะเป็นประโยชน์มากกว่ามีผลเสีย ดังนั้น สิ่งที่เรียนรู้ไม่ใช่จะสร้างให้เกิดความวิตกกังวลหรือความกลัวเพียงอย่างเดียว แต่ควรสร้างให้เกิดการเตรียมพร้อมที่จะป้องกันหรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะสร้างให้เกิดอันตรายแก่ทารกด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Blair PS, Sidebotham P, Evason-Coombe C, Edmonds M, Heckstall-Smith EM, Fleming P. Hazardous cosleeping environments and risk factors amenable to change: case-control study of SIDS in south west England. BMJ 2009;339:b3666.
  2. Ball HL, Moya E, Fairley L, Westman J, Oddie S, Wright J. Bed- and sofa-sharing practices in a UK biethnic population. Pediatrics 2012;129:e673-81.
  3. Hauck FR, Thompson JM, Tanabe KO, Moon RY, Vennemann MM. Breastfeeding and reduced risk of sudden infant death syndrome: a meta-analysis. Pediatrics 2011;128:103-10.
  4. Vennemann MM, Bajanowski T, Brinkmann B, et al. Does breastfeeding reduce the risk of sudden infant death syndrome? Pediatrics 2009;123:e406-10.
  5. Blair PS, Heron J, Fleming PJ. Relationship between bed sharing and breastfeeding: longitudinal, population-based analysis. Pediatrics 2010;126:e1119-26.
  6. Blabey MH, Gessner BD. Infant bed-sharing practices and associated risk factors among births and infant deaths in Alaska. Public Health Rep 2009;124:527-34.

 

 

 

การให้ทารกนอนร่วมเตียงกับมารดากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การให้ทารกนอนร่วมเตียงกับมารดา มารดาจะสะดวกและสามารถจะให้นมได้ตามความต้องการของทารก ในทารกที่นอนร่วมเตียงเดียวกับมารดาพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 และพบว่ามีการให้นมแม่ช่วงกลางคืนมากกว่าทารกนอนแยกเตียงสามเท่า2

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Tan KL. Factors associated with exclusive breastfeeding among infants under six months of age in peninsular malaysia. Int Breastfeed J 2011;6:2.

2.???????????? McCoy RC, Hunt CE, Lesko SM, et al. Frequency of bed sharing and its relationship to breastfeeding. J Dev Behav Pediatr 2004;25:141-9.

 

 

 

การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกัน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันจะทำให้มารดาและทารกพักผ่อนได้มากขึ้น และมีการให้นมลูกได้บ่อยขึ้น

??????????? -การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกัน ไม่แนะนำในกรณีที่มารดาหรือบิดามีลักษณะดังต่อไปนี้

??????? สูบบุหรี่

??????? ดื่มแอลกอฮอล์หรือทำได้ยาที่ทำให้ง่วงซึม

??????? เหนื่อยมากจนไม่ตอบสนองต่อปฏิกิริยาของทารก

??????? ป่วยหรือมีภาวะที่ส่งผลต่อการรับรู้ ได้แก่ ภาวะชัก หรืออาการเบาหวานที่ไม่คงที่

??????? อ้วนมาก

??????? ป่วยมากหรือมีเด็กที่ป่วยมากอยู่ร่วมเตียงเดียวกัน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?