คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การเริ่มให้ลูกได้กินนมแม่ในระยะแรกหลังคลอด

IMG_1557

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การเริ่มให้ลูกได้ดูดกินนมแม่ ควรเริ่ม ?ภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด?1 กระบวนการนี้จะต่อเนื่องกันกับการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ โดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ควรช่วยให้มารดาสังเกตและตระหนักรู้ถึงสัญชาติญาณการเริ่มต้นในการดูดนมแม่ของทารก เมื่อทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาในบรรยากาศที่สงบ พฤติกรรมการเตรียมการดูดนมแม่จะเริ่มขึ้น โดยระยะเวลาที่ใช้อาจจะไม่กี่นาทีถึงเป็นชั่วโมง พฤติกรรมเหล่านี้ของทารก ได้แก่

  • การพักอยู่ในภาวะตื่นตัวในช่วงสั้นๆ เพื่อปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่
  • การนำนิ้วมือใส่ปากและดูด และการใช้มือควานหาเต้านมแม่
  • มุ่งความสนใจไปที่จุดสีดำบนเต้านมที่เป็นจุดหมาย
  • เคลื่อนที่ไปยังเต้านมและใช้จมูกคุ้ยค้น
  • เมื่อค้นพบหัวนมแล้ว จึงอ้าปากอมหัวนมและลานนม

??????????? ไม่ควรสร้างความกดดันให้กับมารดาและทารกในการเริ่มต้นการกินนมแม่ว่า

  • การเริ่มต้นต้องใช้เวลานานเท่าใด?
  • การกินนมแม่ครั้งแรกต้องกินนานแค่ไหน?
  • การอ้าปากอมหัวนมและลานนมทำได้ดีเพียงใด?
  • ทารกกินหัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลืองได้มากน้อยแค่ไหน?

เพราะ ?การดูดนมครั้งแรกของทารกควรจะได้รับการพิจาณาว่าเป็นการเริ่มต้นมากกว่าการกินนมแม่อย่างเป็นจริงเป็นจัง?

??????????? การช่วยเหลือที่มากขึ้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเริ่มในครั้งถัดไป โดยช่วยให้มารดาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดท่า การอ้าปากอมหัวนมและลานนมของทารก ลักษณะท่าทางที่บ่งบอกถึงความต้องการในการกินนมของทารก และทักษะอื่นๆ ที่จำเป็น???????????

เอกสารอ้างอิง

  1. Naylor AJ. The ten steps: ten keys to breastfeeding success. Breastfeed Med 2010;5:249-51.

 

อุปสรรคขัดขวางการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอด

IMG_1477

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?อุปสรรคที่ขัดขวางการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอดมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดและข้อแนะนำแนวทางแก้ไขอุปสรรคต่างๆ ?ได้แก่

  • การบังคับให้มารดานอนอยู่บนเตียงระหว่างหลังคลอด มารดาบางคนต้องการที่จะนั่งเอนหลังกอดทารกไว้กับอกหรือเปลี่ยนท่าทางเพื่อความสบายตัวจะถูกจำกัดโดยการให้นอนอยู่บนเตียงโดยเฉพาะหากเป็นเตียงชั่วคราวที่ใช้สำหรับการย้ายเตียง จะแคบ นอนหรือนั่งไม่สบาย การลุกเดินของมารดาสามารถทำได้ แต่ควรระมัดระวังเรื่องอาการหน้ามืดที่พบบ่อยได้หลังคลอด ดังนั้นมารดาต้องการลุกเดินควรมีญาติหรือบุคลากรทางการแพทย์ช่วยดูแลในช่วงแรก
  • การขาดการให้กำลังใจหรือสนับสนุนจากสามีหรือคนใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยในการสนับสนุนให้มารดาโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ ให้นมลูกและช่วยดูแลมารดาและลูกในช่วงที่มารดาฟื้นตัวใหม่ๆ ในระยะหลังคลอด
  • การงดการให้อาหารหรือน้ำเป็นเวลานานตั้งแต่ในระยะแรกของการคลอด ทำให้มารดาอ่อนเพลีย ไม่มีแรงที่จะอุ้มหรือประคองลูก
  • การให้ยาลดอาการปวดที่จะทำให้มารดาและทารกง่วงซึม หากทารกง่วงซึมจากการได้ยาลดอาการปวด การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกยิ่งจำเป็นเพื่อช่วยกระตุ้นสัมผัสทารก สนับสนุน สร้างความผูกพัน และช่วยในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ดีขึ้นด้วย
  • การตัดฝีเย็บและการเย็บแผล ทารกสามารถจะอยู่บนอกแม่ได้ หากมารดาจำเป็นต้องได้รับการเย็บแผลฝีเย็บหรือแผลผ่าตัดคลอด ไม่มีความจำเป็นต้องแยกทารกออกจากมารดาในระหว่างนี้
  • การให้น้ำเกลือ การติดเครื่องติดตามการเต้นของหัวใจทารก และการทำหัตถการอื่นที่ไม่มีเหตุผลทางการแพทย์ จะขัดขวางการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อได้
  • การห่อทารกจนแน่นเกินไปหลังคลอด จะขัดขวางการเคลื่อนไหวของทารกที่อาจคืบคลานไปหาเต้านมและเริ่มดูดนมได้
  • นโยบายแยกมารดาและทารกหลังคลอด
  • ความวิตกกังวลเรื่องทารกตัวเย็น ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการเช็ดตัวทารกให้แห้งและวางลงบนหน้าอกมารดา จากนั้นใช้ผ้าห่มคลุมทั้งทารกและมารดา หากอุณหภูมิในห้องเย็น อาจคลุมศีรษะทารกหรือสวมหมวกเพื่อลดการสูญเสียความร้อน ทารกที่ได้โอบกอดเนื้อแนบเนื้อกับมารดาจะควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ดีกว่าทารกที่อยู่ในบริเวณที่อุ่นด้วยเครื่องทำความร้อน
  • การตรวจร่างกายทารก การตรวจทารกสามารถทำได้ขณะทารกอยู่บนอกแม่ ซึ่งทารกจะสงบ สำหรับการชั่งน้ำหนักสามารถทำหลังจากนั้น
  • การอาบน้ำ การอาบน้ำตั้งแต่แรกควรชะลอไว้ก่อน รอให้ไขของทารกที่อยู่บนผิวได้เคลือบ หล่อลื่น และช่วยรักษาอุณหภูมิของทารก การเช็ดตัวทารกให้แห้งเพียงพอแล้วสำหรับทารกระยะแรกหลังคลอด
  • ห้องคลอดยุ่ง หากห้องคลอดยุ่ง ทารกและมารดาอาจได้รับการย้ายมาที่หอผู้ป่วยเพื่อให้ทารกได้โอบกอดเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกและทำต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยได้
  • ไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะอยู่กับมารดาและทารก อาจพิจารณาให้สามีหรือสมาชิกในครอบครัวสามารถจะเฝ้าอยู่กับมารดาและทารกได้
  • มารดาเหนื่อย1 ส่วนใหญ่มารดาน้อยมากที่จะเหนื่อยมากจนไม่อยากอุ้มลูก การได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ จะทำให้มารดาผ่อนคลาย บุคลากรควรทบทวนแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ด้วยว่ามีการปฏิบัติใดที่ทำให้มารดารู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรง เช่น การงดน้ำงดอาหาร การคลอดที่เนิ่นนานเกินไป เป็นต้น
  • มารดาไม่ต้องการอุ้มลูก การที่มารดาไม่ต้องการอุ้มลูกอาจจะบ่งถึงว่า มารดาอาจมีภาวะซึมเศร้าหรือมีความเสี่ยงที่จะทอดทิ้งลูก การให้มารดาได้สัมผัสกับลูกจะลดความเสี่ยงเหล่านี้

เอกสารอ้างอิง

  • Habib FA. Monitoring the practice and progress of initiation of breastfeeding within half an hour to one hour after birth, in the labor room of king khalid university hospital. J Family Community Med 2003;10:41-6.

 

วิธีการจัดให้มารดาโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ

42

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

-ทำได้โดยอุ้มทารกมาไว้ที่หน้าอกมารดาทำโดยต้องไม่ห่อตัวทารก โดยมารดาต้องเปิดเสื้อผ้าในบริเวณที่สัมผัสหรือหน้าอกให้เพียงพอ สำหรับการที่จะคลุมผ้าเพื่อความอบอุ่น จะคลุมทั้งทารกและมารดาไปพร้อมกัน ให้สัมผัสมารดาและทารกเนื้อแนบเนื้อ ซึ่งคลุมผ้านี้จะคล้ายกับการให้ลูกอย่างในถุงหน้าท้องของจิงโจ้ที่เรียก Kangaroo care การที่ทารกได้สัมผัสผิวของมารดาจะช่วยในการพัฒนาการของระบบประสาทสัมผัสและช่วยกลไกออกซิโตซินได้ นอกจากนี้ หากสามารถให้การโอบกอดเนื้อแนบเนื้ออย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมงจะช่วยในการเจริญเติบโตและการกินนมแม่ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักตัวน้อยได้1,2

-ในขั้นตอนนี้ให้ความสำคัญของการให้ทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาพร้อมกับแนะนำให้มารดาสังเกตความพร้อมของทารกในการกินนมแม่ ซึ่งมารดาอาจสังเกตเห็นทารกคืบคลานเข้าหาเต้านม จนสามารถดูด อมหัวนมและลานนมได้

-ระยะเวลาของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอด แนะนำให้ ?วางทารกให้ผิวสัมผัสแนบชิดกับอกของมารดาหลังคลอดนานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง? หรือนานกว่านั้น สำหรับแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ควรสังเกตมารดาและทารก ร่วมกับอาจเสนอความช่วยเหลือหากจำเป็น และควรหลีกเลี่ยงกระบวนการพยาบาลอื่นๆ ในระหว่างนี้เพื่อไม่เป็นการรบกวนมารดาและทารกในช่วงเวลาที่ส่งเสริมสายสัมพันธ์และสนับสนุนการให้ทารกได้กินนมแม่

-ในกรณีที่มารดาคลอดทารกแฝด หลังทารกคนแรกคลอด การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อของมารดาสามารถทำได้จนกระทั่งมารดาเบ่งคลอดทารกคนที่สอง ถัดจากนั้นทารกอาจอยู่กับสามีหรือสมาชิกในครอบครัว เมื่อคลอดทารกคนที่สองแล้ว ทารกทั้งสองคนสามารถทำการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อได้พร้อมกัน

-ควรทำแบบบันทึกและจดเวลาเริ่มของการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อและเวลาสิ้นสุดของงการให้การสัมผัสในแฟ้มการดูแลการคลอดจะเป็นประโยชน์ โดยจะแสดงถึงการให้ความสำคัญในกระบวนการปฏิบัตินี้เช่นเดียวกับการปฏิบัติอื่นที่ต้องบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน

เอกสารอ้างอิง

  1. Gathwala G, Singh B, Singh J. Effect of Kangaroo Mother Care on physical growth, breastfeeding and its acceptability. Trop Doct 2010;40:199-202.
  2. Flacking R, Ewald U, Wallin L. Positive effect of kangaroo mother care on long-term breastfeeding in very preterm infants. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2011;40:190-7.

 

ประโยชน์ของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ

52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ (skin-to-skin contact) มีประโยชน์อย่างมากต่อทารกแรกเกิด ได้แก่

  • ทำให้ทารกและมารดารู้สึกสงบ และช่วยให้จังหวะการหายใจและการเต้นของหัวใจทารกสม่ำเสมอ
  • ช่วยให้ทารกได้รับความอบอุ่นจากความร้อนของร่างกายของมารดา ป้องกันการเกิดอาการตัวเย็น (hypothermia) ในทารกได้1
  • ช่วยในการปรับเมตาบอรึซึ่มของน้ำตาลในเลือดของทางทารกให้คงที่
  • ช่วยให้ก่อเกิดการมีกลุ่มของแบคทีเรียในลำไส้ทารกจากมารดาที่ให้การสัมผัสแรกกับทารก ไม่ใช่จากแพทย์หรือพยาบาล
  • ลดความเจ็บปวดของทารก การให้ทารกได้สัมผัสผิวกับมารดาช่วยลดความเจ็บปวดของทารกจากการเจาะเลือดที่ปลายเท้าได้2
  • ลดการร้องกวนของทารก ซึ่งจะลดความเครียดและการใช้พลังงานของทารกด้วย
  • ช่วยให้สายสัมพันธ์ของมารดาและทารกดีขึ้น3 ทำให้ทารกตื่นตัวในหนึ่งถึงสองชั่วโมงแรก จากนั้นโดยปกติทารกจะหลับนาน
  • ช่วยให้ทารกเริ่มการกินนมแม่ในระยะแรกดีขึ้น1,4 ให้โอกาสทารกได้เข้าหาเต้านมและดูดนมด้วยตนเอง ซึ่งทารกจะสามารถเข้าหาเต้านมได้จากสีของหัวนมและกลิ่นของน้ำนม โดยการเข้าเต้าลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพดีกว่าการแยกทารกออกไปในช่วงแรกหลังคลอด

? ? ? ? การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อหรือการให้ทารกได้สัมผัสผิวของมารดาสามารถทำได้ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดทารก อาจจะทำก่อนการตัดสายสะดือหรือทันทีเมื่อพร้อมหลังการคลอดและเช็ดตัวทารกให้แห้ง ทารกไม่จำเป็นต้องอาบน้ำหลังการคลอด5 ควรชะลอการชั่งน้ำหนัก วัดขนาดตัวทารก การให้ยาฆ่าเชื้อป้ายตาทารก การฉีดวิตามินเคและวัคซีนให้กับทารกจนกระทั่งทารกเริ่มการดูดนมครั้งแรกเรียบร้อยแล้วเสียก่อน

เอกสารอ้างอิง

  1. Srivastava S, Gupta A, Bhatnagar A, Dutta S. Effect of very early skin to skin contact on success at breastfeeding and preventing early hypothermia in neonates. Indian J Public Health 2014;58:22-6.
  2. Marin Gabriel MA, del Rey Hurtado de Mendoza B, Jimenez Figueroa L, et al. Analgesia with breastfeeding in addition to skin-to-skin contact during heel prick. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 2013;98:F499-503.
  3. Widstrom AM, Wahlberg V, Matthiesen AS, et al. Short-term effects of early suckling and touch of the nipple on maternal behaviour. Early Hum Dev 1990;21:153-63.
  4. Mahmood I, Jamal M, Khan N. Effect of mother-infant early skin-to-skin contact on breastfeeding status: a randomized controlled trial. J Coll Physicians Surg Pak 2011;21:601-5.
  5. Morton J, Hall JY, Pessl M. Five steps to improve bedside breastfeeding care. Nurs Womens Health 2013;17:478-88.

 

การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่ลูกในระยะแรกหลังคลอด (Early bonding)

59

? ? ? ? ? ? ? ?ตามธรรมชาติมารดาและทารกย่อมมีสายสัมพันธ์กันตั้งแต่รู้สึกว่ามีการตั้งครรภ์ ทารกเริ่มมีการดิ้นหรือเคลื่อนไหวภายในครรภ์มารดา การเปลี่ยนแปลงขนาดของหน้าท้องที่แสดงว่ามีการเจริญเติบโตของทารก การลูบท้องส่งสัมผัสจากมารดาสู่ทารก การพูดคุยของมารดากับทารกในครรภ์ จนกระทั่งถึงกระบวนการของการคลอดและการให้ทารกได้กินนมแม่ แต่การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่ลูกนั้นในปัจจุบันถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และลดปัญหาการทอดทิ้งลูกของมารดาวัยรุ่น

??????????? การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่ลูกควรเริ่มตั้งแต่ทราบว่ามารดามีการตั้งครรภ์ การให้ความรู้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในระยะฝากครรภ์ จะทำให้มารดาสังเกตการเปลี่ยนแปลงและรู้สึกรับรู้ถึงทารกมากขึ้น ดังนั้น แพทย์จึงไม่ควรละเลยกับการให้ความสนใจในการอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงในระยะต่างๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ขณะฝากครรภ์ และเตรียมแนะนำการเปลี่ยนแปลงที่มารดาต้องเผชิญพร้อมการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการคลอดบุตรและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเหมาะสมในระยะหลังคลอด อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ระยะที่มีความสำคัญมากคือ ระยะเริ่มต้นการให้ลูกได้กินนมแม่หรือระยะแรกหลังคลอดนั่นเอง