วิธีการจัดให้มารดาโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ

42

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

-ทำได้โดยอุ้มทารกมาไว้ที่หน้าอกมารดาทำโดยต้องไม่ห่อตัวทารก โดยมารดาต้องเปิดเสื้อผ้าในบริเวณที่สัมผัสหรือหน้าอกให้เพียงพอ สำหรับการที่จะคลุมผ้าเพื่อความอบอุ่น จะคลุมทั้งทารกและมารดาไปพร้อมกัน ให้สัมผัสมารดาและทารกเนื้อแนบเนื้อ ซึ่งคลุมผ้านี้จะคล้ายกับการให้ลูกอย่างในถุงหน้าท้องของจิงโจ้ที่เรียก Kangaroo care การที่ทารกได้สัมผัสผิวของมารดาจะช่วยในการพัฒนาการของระบบประสาทสัมผัสและช่วยกลไกออกซิโตซินได้ นอกจากนี้ หากสามารถให้การโอบกอดเนื้อแนบเนื้ออย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมงจะช่วยในการเจริญเติบโตและการกินนมแม่ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักตัวน้อยได้1,2

-ในขั้นตอนนี้ให้ความสำคัญของการให้ทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาพร้อมกับแนะนำให้มารดาสังเกตความพร้อมของทารกในการกินนมแม่ ซึ่งมารดาอาจสังเกตเห็นทารกคืบคลานเข้าหาเต้านม จนสามารถดูด อมหัวนมและลานนมได้

-ระยะเวลาของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอด แนะนำให้ ?วางทารกให้ผิวสัมผัสแนบชิดกับอกของมารดาหลังคลอดนานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง? หรือนานกว่านั้น สำหรับแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ควรสังเกตมารดาและทารก ร่วมกับอาจเสนอความช่วยเหลือหากจำเป็น และควรหลีกเลี่ยงกระบวนการพยาบาลอื่นๆ ในระหว่างนี้เพื่อไม่เป็นการรบกวนมารดาและทารกในช่วงเวลาที่ส่งเสริมสายสัมพันธ์และสนับสนุนการให้ทารกได้กินนมแม่

-ในกรณีที่มารดาคลอดทารกแฝด หลังทารกคนแรกคลอด การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อของมารดาสามารถทำได้จนกระทั่งมารดาเบ่งคลอดทารกคนที่สอง ถัดจากนั้นทารกอาจอยู่กับสามีหรือสมาชิกในครอบครัว เมื่อคลอดทารกคนที่สองแล้ว ทารกทั้งสองคนสามารถทำการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อได้พร้อมกัน

-ควรทำแบบบันทึกและจดเวลาเริ่มของการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อและเวลาสิ้นสุดของงการให้การสัมผัสในแฟ้มการดูแลการคลอดจะเป็นประโยชน์ โดยจะแสดงถึงการให้ความสำคัญในกระบวนการปฏิบัตินี้เช่นเดียวกับการปฏิบัติอื่นที่ต้องบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน

เอกสารอ้างอิง

  1. Gathwala G, Singh B, Singh J. Effect of Kangaroo Mother Care on physical growth, breastfeeding and its acceptability. Trop Doct 2010;40:199-202.
  2. Flacking R, Ewald U, Wallin L. Positive effect of kangaroo mother care on long-term breastfeeding in very preterm infants. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2011;40:190-7.