คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

เป้าหมายและการดำเนินการที่ชัดเจนช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_1702

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยจากข้อมูลขององค์การยูนิเซฟ มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนร้อยละ 12 ซึ่งอยู่ในกลุ่มเกณฑ์ประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในโลก การที่จะพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนั้น นอกจากนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาลแล้ว การนำมาปฏิบัติโดยสถานพยาบาลควรมีการวางแผนดำเนินการ ตั้งตัวชี้วัด ติดตามผลและประเมินการทำงานอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งมีการศึกษาพบว่า การตั้งเป้าหมายและจัดการดำเนินการเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนได้เมื่อเทียบกับการทำงานประจำแบบเดิมๆ1 สิ่งนี้สื่อให้เห็นถึง หากต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องมีการวางแผน การดำเนินการที่เป็นขั้นตอน ติดตามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนาที่เกิดขึ้นได้จะมีความยั่งยืนกว่าการรอโชคชะตาหรือทำงานไปวันๆ ตามรูปแบบดั้งเดิม

เอกสารอ้างอิง

  1. Wouk K, Lara-Cinisomo S, Stuebe AM, Poole C, Petrick JL, McKenney KM. Clinical Interventions to Promote Breastfeeding by Latinas: A Meta-analysis. Pediatrics 2016;137.

หากมารดาซึมเศร้า จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้น้อยลง

img_2193

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? โดยทั่วไป มารดาหลังคลอดจะมีความรักความผูกผันกับบุตร ซึ่งจะเป็นผลส่วนหนึ่งจากฮอร์โมนแห่งความรัก คือ ออกซิโตซิน ซึ่งมารดาที่มีภาวะซึมเศร้าจะส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีการศึกษาพบว่า มารดาที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลงราวร้อยละ 201 ดังนั้น หากบุคลากรทางการแพทย์พบมารดาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ควรวางแผนดูแลเอาใจใส่ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างใกล้ชิด และมีการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกันในมารดาที่หยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาอันควร อาจต้องตรวจสอบดูปัจจัยต่างๆ รวมถึงภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งหากมารดามีภาวะดังกล่าว จำเป็นต้องมีการดูแลรักษาเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะซึมเศร้าที่อาจมีความรุนแรงถึงการฆ่าตัวตายได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Wouk K, Stuebe AM, Meltzer-Brody S. Postpartum Mental Health and Breastfeeding Practices: An Analysis Using the 2010-2011 Pregnancy Risk Assessment Monitoring System. Matern Child Health J 2016.

การช่วยเหลือการเริ่มการกินนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด

IMG_1565

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ในการช่วยสนับสนุนการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังการผ่าตัดคลอด แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ควรกระตุ้นให้มีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกเร็วที่สุดที่เป็นไปได้ โดยทั่วไป มารดาที่ผ่าตัดจะได้รับยาระงับความรู้สึกจากการฉีดยาเข้าไขสันหลัง ซึ่งมารดาจะรู้สึกตัวดี สามารถดูแลทารกได้ตั้งแต่แรกหลังคลอดเช่นเดียวกับมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด หากมารดาได้รับยาดมสลบ การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออาจเริ่มในห้องพักฟื้น โดยทำได้หากมารดาโต้ตอบรู้เรื่อง แม้ว่าจะมีการง่วงเล็กน้อยจะฤทธิ์ของยาแก้ปวดและยาสลบ สามีหรือสมาชิกในครอบครัว อาจดูแลช่วยในเรื่องการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อและดูแลให้ทารกอบอุ่นในช่วงที่รอมารดาออกมาจากห้องผ่าตัด

? ? ? ? ? ? ? ?การช่วยเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด จะเริ่มเมื่อมารดาและทารกส่งสัญญาณว่ามีความพร้อม โดยมารดาไม่จำเป็นลุกนั่ง โอบกอดหรือต้องขยับเปลี่ยนท่าในการให้นมลูกได้ แต่จะเป็นทารกที่จะค้นหาเต้านมและเริ่มดูดนมเอง การปฏิบัตินี้สามารถทำได้นานตราบเท่าที่มีแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เฝ้าดูอยู่ แม้มารดาจะยังง่วงซึมจะฤทธิ์ของยาดมสลบก็ตาม แพทย์หรือบุคลากรควรช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการให้นมลูก การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำอาจจะต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อให้สามารถจัดท่าทารกเข้าเต้าได้ ท่าที่ใช้สำหรับการให้นมอาจใช้ท่านอนด้านข้าง (side-lying) บนเตียง ท่านี้จะช่วยหลีกเลี่ยงอาการปวดในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ และมารดายังสามารถทำได้แม้มารดาต้องนอนราบหลังจากให้ยาระงับความรู้สึกเข้าไขสันหลัง การจัดท่านี้มารดาควรจะต้องใช้หมอนช่วยพิงด้านหลังและรองใต้หัวเข่าขณะที่อยู่ในท่านอนด้านข้าง หรือมารดาอาจใช้ท่านั่งเอนหลัง (laid back) โดยทารกอยู่บนตัวมารดา สำหรับท่านอนหงายสามารถทำได้ แต่ไม่ควรให้ทารกกดทับบริเวณแผลผ่าตัด

? ? ? ? ? ? ? ?หากการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อทำได้ช้า อาจต้องดูแลและป้องกันภาวะตัวเย็นให้แก่ทารกโดยการห่มผ้าคลุมทารกให้อบอุ่นก่อน ต่อมาจึงให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาเมื่อมารดาพร้อม โดยการให้ความอบอุ่นต้องไม่ห่อทารกจนแน่นเกินไป ขยับไม่ได้ สำหรับทารกที่เกิดก่อนกำหนดจะได้ประโยชน์จากการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ แต่หากอาการทารกยังไม่คงที่และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออาจเริ่มเมื่อทารกมีอาการคงที่

 

ผลของการที่มารดาต้องผ่าตัดคลอดกับการเริ่มต้นการกินนมแม่

IMG_1476

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การผ่าตัดคลอดมีผลต่อมารดาและทารกในด้านการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 โดยมารดามีแนวโน้มจะตื่นกลัวและเครียด ได้รับการให้น้ำเกลือและสายสวนปัสสาวะ ถูกจัดให้อยู่บนเตียงและจำกัดการเคลื่อนไหว ต้องงดน้ำและอาหารก่อนและหลังการคลอด ซึ่งทำให้ขาดพลังงานในการจะดูแลทารก ได้รับยาระงับความรู้สึกและยาแก้ปวดซึ่งส่งผลต่อมารดาและทารกในการเริ่มให้นมลูก มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการตกเลือด มารดาอาจรู้สึกล้มเหลวที่ร่างกายไม่สามารถคลอดลูกได้ตามปกติ และมักจะถูกแยกจากทารก

??????????? สำหรับผลกระทบจากการผ่าตัดคลอดที่มีต่อทารก ได้แก่ ทารกจะมีความเสี่ยงสูงในการที่จะไม่ได้กินนมแม่หรือได้กินนมแม่ในช่วงสั้นๆ ทารกที่ผ่าตัดคลอดจะมีปัญหาเรื่องการหายใจมากกว่า ทารกอาจจะต้องการการดูดเสมหะ ซึ่งทำให้ทารกเจ็บปากและลำคอซึ่งมีผลต่อการดูดนมแม่ ทารกได้รับยาทำให้ง่วงจากยาระงับความรู้สึกและยาแก้ปวดที่มารดาได้รับ ทารกจะได้รับการให้โอบกอดเนื้อแนบเนื้อน้อยกว่า และทารกมีโอกาสสูงกว่าที่จะย้ายไปหออภิบาลทารกแรกเกิด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อระหว่างทารกด้วยกันเอง และต้องจำกัดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ?การผ่าตัดคลอดเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการเริ่มต้นการกินนมแม่ของทารก และมีผลต่ออัตราและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย?

เอกสารอ้างอิง

  1. Habib FA. Monitoring the practice and progress of initiation of breastfeeding within half an hour to one hour after birth, in the labor room of king khalid university hospital. J Family Community Med 2003;10:41-6.

 

บทบาทของแพทย์ในระหว่างการเริ่มต้นการกินนมแม่ของทารก

IMG_0797

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?บทบาทของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงที่มีการเริ่มต้นการกินนมแม่ของทารก ได้แก่ การให้เวลาและบรรยากาศที่สงบเงียบแก่มารดาและทารก การช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการดูแลทารก ไม่ปวดเมื่อย ร่วมกับการชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เป็นแนวโน้มที่ดีในการกินนมแม่ของทารก ได้แก่ การตื่นตัวหรือการใช้จมูกคุ้ยค้นเข้าหาเต้านมมารดา และควรหลีกเลี่ยงการเร่งรัดให้ทารกไปที่เต้านมมารดาหรือจับเต้านมมารดาใส่ปากทารก ดังนั้น หลักสำคัญ คือ ?ควรสังเกตการเริ่มการกินนมแม่ของทารกพร้อมการให้กำลังใจ ไม่เร่งรัดหรือกดดันทั้งมารดาและทารก?