การช่วยเหลือการเริ่มการกินนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด

IMG_1565

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ในการช่วยสนับสนุนการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังการผ่าตัดคลอด แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ควรกระตุ้นให้มีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกเร็วที่สุดที่เป็นไปได้ โดยทั่วไป มารดาที่ผ่าตัดจะได้รับยาระงับความรู้สึกจากการฉีดยาเข้าไขสันหลัง ซึ่งมารดาจะรู้สึกตัวดี สามารถดูแลทารกได้ตั้งแต่แรกหลังคลอดเช่นเดียวกับมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด หากมารดาได้รับยาดมสลบ การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออาจเริ่มในห้องพักฟื้น โดยทำได้หากมารดาโต้ตอบรู้เรื่อง แม้ว่าจะมีการง่วงเล็กน้อยจะฤทธิ์ของยาแก้ปวดและยาสลบ สามีหรือสมาชิกในครอบครัว อาจดูแลช่วยในเรื่องการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อและดูแลให้ทารกอบอุ่นในช่วงที่รอมารดาออกมาจากห้องผ่าตัด

? ? ? ? ? ? ? ?การช่วยเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด จะเริ่มเมื่อมารดาและทารกส่งสัญญาณว่ามีความพร้อม โดยมารดาไม่จำเป็นลุกนั่ง โอบกอดหรือต้องขยับเปลี่ยนท่าในการให้นมลูกได้ แต่จะเป็นทารกที่จะค้นหาเต้านมและเริ่มดูดนมเอง การปฏิบัตินี้สามารถทำได้นานตราบเท่าที่มีแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เฝ้าดูอยู่ แม้มารดาจะยังง่วงซึมจะฤทธิ์ของยาดมสลบก็ตาม แพทย์หรือบุคลากรควรช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการให้นมลูก การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำอาจจะต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อให้สามารถจัดท่าทารกเข้าเต้าได้ ท่าที่ใช้สำหรับการให้นมอาจใช้ท่านอนด้านข้าง (side-lying) บนเตียง ท่านี้จะช่วยหลีกเลี่ยงอาการปวดในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ และมารดายังสามารถทำได้แม้มารดาต้องนอนราบหลังจากให้ยาระงับความรู้สึกเข้าไขสันหลัง การจัดท่านี้มารดาควรจะต้องใช้หมอนช่วยพิงด้านหลังและรองใต้หัวเข่าขณะที่อยู่ในท่านอนด้านข้าง หรือมารดาอาจใช้ท่านั่งเอนหลัง (laid back) โดยทารกอยู่บนตัวมารดา สำหรับท่านอนหงายสามารถทำได้ แต่ไม่ควรให้ทารกกดทับบริเวณแผลผ่าตัด

? ? ? ? ? ? ? ?หากการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อทำได้ช้า อาจต้องดูแลและป้องกันภาวะตัวเย็นให้แก่ทารกโดยการห่มผ้าคลุมทารกให้อบอุ่นก่อน ต่อมาจึงให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาเมื่อมารดาพร้อม โดยการให้ความอบอุ่นต้องไม่ห่อทารกจนแน่นเกินไป ขยับไม่ได้ สำหรับทารกที่เกิดก่อนกำหนดจะได้ประโยชน์จากการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ แต่หากอาการทารกยังไม่คงที่และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออาจเริ่มเมื่อทารกมีอาการคงที่