คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

ทารกมีความเสี่ยงด้านสุขภาพหากไม่ได้กินนมแม่

img_2194

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? นมแม่ให้ภูมิคุ้มกันแก่ทารก ซึ่งป้องกันการติดเชื้อที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วย1-3 โดยส่งผลให้ทารกมีพัฒนาการที่ล่าช้า เกิดความพิการ และลดการเสียชีวิตได้ สำหรับผลในระยะยาวเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น จะช่วยลดการเกิดภาวะอ้วน4 โรคเบาหวาน5,6 ไขมันในเลือดสูง7 ?ที่เป็นโรคที่มีความเสี่ยงจากพฤติกรรมการกิน จะเห็นว่า หากทารกขาดการเริ่มต้นการกินนมแม่ที่เป็นอาหารที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับทารกตั้งแต่แรกเกิดแล้ว? ทารกที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพในหลากหลายด้านที่พบเป็นปัญหาใหญ่ในวัยผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก ดังนั้น คุณแม่ทุกท่านส่วนใหญ่ปรารถนาให้ลูกมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงที่จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการประสบความสำเร็จของชีวิตในอนาคต ควรส่งเสริมการให้ลูกได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด ?

เอกสารอ้างอิง

  1. Abrahams SW, Labbok MH. Breastfeeding and otitis media: a review of recent evidence. Curr Allergy Asthma Rep 2011;11:508-12.
  2. Vogazianos E, Vogazianos P, Fiala J, Janecek D, Slapak I. The effect of breastfeeding and its duration on acute otitis media in children in Brno, Czech Republic. Cent Eur J Public Health 2007;15:143-6.
  3. Dogaru CM, Nyffenegger D, Pescatore AM, Spycher BD, Kuehni CE. Breastfeeding and childhood asthma: systematic review and meta-analysis. Am J Epidemiol 2014;179:1153-67.
  4. Verstraete SG, Heyman MB, Wojcicki JM. Breastfeeding offers protection against obesity in children of recently immigrated Latina women. J Community Health 2014;39:480-6.
  5. Patelarou E, Girvalaki C, Brokalaki H, Patelarou A, Androulaki Z, Vardavas C. Current evidence on the associations of breastfeeding, infant formula, and cow’s milk introduction with type 1 diabetes mellitus: a systematic review. Nutr Rev 2012;70:509-19.
  6. Pereira PF, Alfenas Rde C, Araujo RM. Does breastfeeding influence the risk of developing diabetes mellitus in children? A review of current evidence. J Pediatr (Rio J) 2014;90:7-15.
  7. Owen CG, Whincup PH, Kaye SJ, et al. Does initial breastfeeding lead to lower blood cholesterol in adult life? A quantitative review of the evidence. Am J Clin Nutr 2008;88:305-14.

 

นมแม่ช่วยเพิ่มน้ำหนักทารกได้ดีในหกเดือนแรกหลังคลอด

img_2192

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ทารกที่กินนมแม่จะได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดาผ่านทางน้ำนม ซึ่งป้องกันการติดเชื้อและอาการท้องเสียที่พบได้บ่อยและอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของทารกได้ ซึ่งการป้องกันการติดเชื้อและอาการท้องเสียในทารกมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักทารก และทำให้ทารกเจริญเติบโตได้ดี โดยจากการศึกษาพบว่า การให้ลูกได้กินนมแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักทารกในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด แต่ในช่วง 6-12 เดือนหลังคลอดการมีอาการท้องเสียของทารกจะมีความสัมพันธ์ที่สำคัญกับการลดลงของน้ำหนักของทารก1 ซึ่งสิ่งนี้บ่งบอกถึงคุณประโยชน์ของนมแม่ที่ช่วยในการป้องกันการติดเชื้อและอาการท้องเสียของทารกในช่วงหกเดือนแรกโดยเฉพาะในทารกที่ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว แต่เมื่อมีการให้อาหารตามวัยสำหรับทารก การดูแลเรื่องความสะอาดของอาหารนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจเพื่อป้องกันการลดลงของน้ำหนักทารก ที่ส่วนใหญ่เกิดจากติดเชื้อและทำให้เกิดอาการท้องเสีย

เอกสารอ้างอิง

  1. Wright MJ, Mendez MA, Bentley ME, Adair LS. Breastfeeding modifies the impact of diarrhoeal disease on relative weight: a longitudinal analysis of 2-12 month-old Filipino infants. Matern Child Nutr 2016.

 

การที่แม่ทำงานน้อยในช่วงให้นมบุตรจะช่วยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

img_2109

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? การกลับไปทำงานหลังคลอดเป็นปัญหาที่สำคัญและเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน เนื่องจากการที่มารดาต้องกลับไปทำงานต้องมีการวางแผนที่จะให้ลูกได้กินนมแม่ โดยเฉพาะหากต้องการที่จะให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ยิ่งต้องมีการวางแผนที่ดี ซึ่งมารดาอาจพบอุปสรรคต่างๆ ที่ต้องแก้ปัญหา เช่น การเดินทางกลับมาให้นมลูก การบีบน้ำนมหรือการปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูก การฝึกผู้ที่ดูแลให้สามารถให้นมแม่ที่เก็บแช่แข็งไว้ได้อย่างเหมาะสม มีการศึกษาถึงชั่วโมงการทำงานของมารดาหลังการกลับไปทำงานและความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลุกด้วยนมแม่ พบว่า หากมารดาหลังการกลับไปทำงานแล้ว ชั่วโมงของการทำงานน้อยกว่า 19 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะไม่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้มารดาต้องกลับไปทำงาน1 นั่นคือ หากทำงาน 5 วันจะทำงานประมาณวันละ 4 ชั่วโมงหรือครึ่งวัน ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจและท้าทายที่หากสามารถลดเวลาทำงานของมารดาในช่วงที่มารดาให้นมบุตรได้ จะช่วยในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้เป็นการศึกษาในประเทศออสเตรเลีย การนำมาปรับใช้ในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป? เนื่องจากอาจมีบริบทหลายอย่างที่แตกต่างกัน รัฐบาลหรือผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมหรือสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงอาจมองเห็นแนวทางในการลดอุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการกลับไปทำงานของมารดา ซึ่งหากสามารถมีนโยบายสาธารณะที่ลดการทำงานของมารดาในช่วงให้นมบุตรได้ เด็กไทยจะมีโอกาสได้กินนมแม่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Xiang N, Zadoroznyj M, Tomaszewski W, Martin B. Timing of Return to Work and Breastfeeding in Australia. Pediatrics 2016;137.

แม่ที่เป็นแม่บ้านถุงพลาสติกอาจเสี่ยงต่อการมีลูกที่มีบุตรยาก

img_2126

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?แม่ที่เป็นแม่บ้านในยุคปัจจุบันมักซื้ออาหารรับประทานโดยเป็นอาหารที่ใส่ในถุงพลาสติก ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการได้รับสารพิษที่มักใช้ในการทำละลายพลาสติกได้แก่ di-n-butyl phthalate หรือ DBP ซึ่งหากได้รับสารนี้ในปริมาณที่มากที่จะผลเสียต่อร่างกายมารดาขณะตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงในการเกิดความพิการหรือความผิดปกติของทารก และยังเป็นสารก่อมะเร็งด้วย นอกจากนี้ ในมารดาที่ได้รับสาร DBP ขณะให้นมลูก สารเหล่านี้จะผ่านไปยังทารก มีรายงานว่าทำให้เกิดความผิดปกติในฮอร์โมนเพศของทารกเพศหญิงในสัตว์ทดลอง ซึ่งอาจทำให้มีผลต่อการมีลูกยากในอนาคต1 ดังนั้น การที่สภาพสังคมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป การใช้ชีวิตเพิ่งพาถุงพลาสติกมากขึ้น อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพบปัญหาของการมีบุตรยากเพิ่มขึ้นกว่าในสมัยก่อนได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Xie Z, Wang J, Dai F, et al. Effects of maternal exposure to di-n-butyl phthalate during pregnancy and breastfeeding on ovarian development and function of F1 female rats. Environ Toxicol Pharmacol 2016;43:38-43.

ขยะอิเลคทรอนิคส์ส่งผลกระทบต่อนมแม่

img_2188

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีการใช้เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่หลากหลายมากมายในชีวิตประจำวัน ซึ่งในอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์เหล่านี้อาจส่งผ่านสารพิษที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีผลกระทบต่อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยในอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเลคทรอนิคส์ที่มีสาร Polybrominated diphenyl ethers หรือ PBDE จะมีการกระจายของสารเหล่านี้ออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเคลทรอนิคส์เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้พบสารพิษเหล่านี้ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม รวมถึงในนมแม่ ซึ่งสารพิษเหล่านี้มีผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย ได้แก่ ไทรอยด์ฮอร์โมน และเอสโตรเจน ซึ่งอาจมีผลต่อการเจริญเติบโต พฤติกรรม และการแสดงออกทางเพศที่พบมีการเบี่ยงเบนทางเพศที่หลากหลายในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสารที่กระตุ้นเกิดความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้เกิดมะเร็ง ดังนั้นในปัจจุบัน จึงพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเหล่านี้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเลคโทรนิคส์ อย่างไรก็ตาม มีการสำรวจสารเหล่านี้ในนมแม่ของมารดาในประเทศจีน และพบว่ามารดาที่รับประทานเนื้อสัตว์สูงอาจมีแนวโน้มจะพบสารพิษเหล่านี้สูงด้วย1 การให้ความสนใจใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นนอกเหนือจากการดูแลส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Yang L, Lu Y, Wang L, Chang F, Zhang J, Liu Y. Levels and Profiles of Polybrominated Diphenyl Ethers in Breast Milk During Different Nursing Durations. Bull Environ Contam Toxicol 2016;97:510-6.