คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

ปัจจัยผู้ป่วยที่มีผลต่อการคิดภาระงานคลินิกนมแม่

IMG_3460

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ปัจจัยผู้ป่วยมีความสัมพันธ์และส่งผลต่อการคิดภาระงานของพยาบาล มีการศึกษาพบว่าลักษณะและสภาพของผู้ป่วยส่งผลต่อภาระงานการพยาบาล1 สำหรับลินิกนมแม่ ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการมีทั้งมารดาและทารก นอกจากนี้ อาจรวมถึงสามี ปู่ ย่า ตา ยาย ที่มารับการให้คำปรึกษาด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ขาดการลงทะเบียนหรือการบันทึกจำนวนผู้ที่ให้คำปรึกษาอย่างครบถ้วน เนื่องจากผู้รับคำปรึกษาบางคนไม่ได้ลงทะเบียนหรือไม่มีเลขที่ผู้ป่วยของโรงพยาบาล การลงภาระงานที่ถูกต้องจำเป็นต้องนับการให้บริการตามจริงซึ่งทำให้ต้องมีการลงทะเบียนการให้คำปรึกษาหรือให้การพยาบาลที่จุดให้บริการเพิ่มเติม นอกจากนี้ หากมีการสนับสนุนการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่หอทารกวิกฤต การคิดภาระงานส่วนอาจต้องเพิ่มความซับซ้อนของปัญหาของทารกที่ป่วยที่ส่งผลต่อการคิดภาระงานด้วย ซึ่งการตกลงกำหนดภาระงานที่เพิ่มต้องมีการพัฒนาโดยอาศัยพื้นฐานการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ

เอกสารอ้างอิง

  1. Mueller M, Lohmann S, Strobl R, Boldt C, Grill E. Patients’ functioning as predictor of nursing workload in acute hospital units providing rehabilitation care: a multi-centre cohort study. BMC Health Serv Res 2010;10:295.

ปัจจัยที่มีผลต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกหลังคลอด

IMG_1470

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกหลังคลอดมีความสำคัญและช่วยเพิ่มอัตราและระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทั่วไป แนะนำให้เริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงหลังคลอด อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยจากการสำรวจขององค์การยูนิเซฟในปี 2555 พบว่า การเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดพบร้อยละ 43.6 ขณะที่อัตราการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดทั่วโลกพบร้อยละ 7.7-98.4 (เฉลี่ยร้อยละ 57.6)1 จะเห็นว่า อัตราการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกของประเทศไทยด้วย สำหรับปัจจัยที่พบว่าส่งผลทำให้การเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เริ่มต้นได้ช้ากว่าในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ได้แก่ มารดาที่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์และการผ่าตัดคลอด1 โดยเฉพาะอัตราการผ่าตัดคลอดในประเทศไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในโรงพยาบาลของภาครัฐพบราวร้อยละ 40 และในโรงพยาบาลเอกชนพบถึงราวร้อยละ 80 ซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกหลังคลอด

เอกสารอ้างอิง

  1. Takahashi K, Ganchimeg T, Ota E, et al. Prevalence of early initiation of breastfeeding and determinants of delayed initiation of breastfeeding: secondary analysis of the WHO Global Survey. Sci Rep 2017;7:44868.

ปัจจัยเรื่องถิ่นที่อยู่และพฤติกรรมการกินของมารดามีผลต่อส่วนประกอบของนมแม่

IMG_1670

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ส่วนประกอบของนมแม่มีทั้งสารอาหารและสารที่ออกฤทธิ์ทางชีวภาพ ซึ่งส่วนประกอบของนมแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงตามระยะของการคลอดทารกและช่วงระยะเวลาหลังคลอด โดยทั่วไป สารอาหารหลักและพลังงานของนมแม่มักไม่แตกต่างกันในมารดาที่อาศัยอยู่ที่พื้นที่ที่แตกต่างกันและมีพฤติกรรมการกินที่แตกต่างกัน1 แต่สารอาหารที่พบน้อยบางชนิดอาจมีความแตกต่างกันจากผลของพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์ของการขาดสารอาหารบางประเภทหรือมีพฤติกรรมการกินอาหารที่แตกต่างกัน ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความสำคัญและทำการศึกษาถึงความขาดแคลนสารอาหารในแต่ละชนิดที่อาจส่งผลต่อส่วนประกอบของนมแม่ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละประเทศ เพื่อการให้คำแนะนำเรื่องการเสริมการรับประทานอาหารให้เหมาะสม ชดเชยในสารอาหารที่มารดามีความเสี่ยงที่จะขาด ซึ่งจะช่วยให้ผลของการตั้งครรภ์ การเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ของทารกเป็นไปด้วยดี

เอกสารอ้างอิง

  1. Sunaric S, Denic M, Lalic J, et al. Physicochemical and biochemical parameters in milk of Serbian breastfeeding women. Turk J Med Sci 2017;47:246-51.

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ให้เคมีบำบัดระหว่างการตั้งครรภ์

img_2123

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? อุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งระหว่างการตั้งครรภ์ในสตรีพบราว 1 ใน 1000 ต่อการตั้งครรภ์1 ซึ่งในมะเร็งบางชนิดทางเลือกในการให้การรักษาอาจมีการให้เคมีบำบัดระหว่างการตั้งครรภ์ การให้เคมีบำบัดระหว่างการตั้งครรภ์มักมีผลทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความยากลำบาก เนื่องจากทำให้น้ำนมของมารดาน้อยลงหรือไม่มี การให้นมลูกของมารดาที่ได้รับเคมีบำบัด หากเว้นช่วงหลังการให้ยาเกิน 3 สัปดาห์ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถทำได้ เพราะระยะเวลา 3 สัปดาห์ยาเคมีบำบัดที่ใช้จะถูกกำจัดจากร่างกายมารดาหมด1 แต่หากมีการใช้ยาเคมีบำบัดหลังคลอด การให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากอาจมีอันตรายแก่ทารก มีรายงานทารกเกิดเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำหลังการกินนมจากมารดาที่ได้รับยา cyclophosphamide อย่างไรก็ตาม หากมารดาต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ ควรมีการปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสอบถึงผลของการใช้ยาเคมีบำบัดในรายละเอียดแต่ละชนิด ขนาดของยาที่ผ่านน้ำนม รวมถึงผลเสียต่างๆ ที่มีรายงาน โดยทั่วไปมารดาอาจต้องใช้การบีบน้ำนมด้วยมือหรือการปั๊มนมในระยะหลังคลอดใหม่ๆ หรือในช่วงที่ยาเคมีบำบัดยังอยู่ในร่างกายของมารดาและผ่านน้ำนมไปสู่ทารก แต่เมื่อหยุดให้ยาแล้ว การเว้นระยะให้ร่างกายมารดาได้กำจัดยาเคมีบำบัด แล้วจึงพิจารณาการให้ทารกกินนมจากเต้านมมารดา สิ่งนี้แม้มีความยากลำบากแต่สามารถทำได้ โดยมีรายงานการให้นมลูกหลังการใช้ยาเคมีบำบัดพอสมควร

เอกสารอ้างอิง

  1. Stopenski S, Aslam A, Zhang X, Cardonick E. After Chemotherapy Treatment for Maternal Cancer During Pregnancy, Is Breastfeeding Possible? Breastfeed Med 2017;12:91-7.

 

ความสำคัญของนโยบายของสถานประกอบการกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

IMG_2943

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การลาคลอดของสตรีที่สนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีความแตกต่างและเหลื่อมล้ำกันในหลากหลายประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ 1 เดือนจนถึง 2 ปี เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ดังนั้น ในแต่ละประเทศในการสนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของสถานประกอบการในการเปิดโอกาสให้มารดาได้มีสถานที่และเวลาพักเพื่อการบีบเก็บน้ำนมให้แก่ลูก1 เมื่อมารดาตั้งกลับไปทำงานนอกบ้านหลังจากหมดช่วงระยะเวลาของการลาพักหลังคลอดแล้ว สิ่งนี้อาจถือความรับผิดชอบต่อสังคมหรือจิตสาธารณะของสถานประกอบการที่จะสร้างให้สมาชิกขององค์กรเกิดความจงรักภักดีแก่องค์กรและยังส่งผลที่ดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Steurer LM. Maternity Leave Length and Workplace Policies’ Impact on the Sustainment of Breastfeeding: Global Perspectives. Public Health Nurs 2017.