คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อช่วยเพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

60

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ (skin-to-skin contact) มีประโยชน์ต่อทารกหลายอย่าง ตั้งแต่ช่วยให้ทารกสงบ อบอุ่น ลดการเกิดทารกตัวเย็น (hypothermia) ช่วยลดจำนวนวันของการนอนโรงพยาบาลของทารกที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤต และช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงผลของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อที่ช่วยในการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว โดยพบว่า ทารกที่ได้รับการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด จะมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวที่สามเดือนหลังคลอดสูงกว่าทารกที่ไม่มีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ1 ดังนั้น การรณรงณ์ช่วยสนับสนุนให้มารดาได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด ควรได้รับการส่งเสริมให้เกิดเป็นวัตรปฏิบัติที่ทำกันอย่างเป็นขั้นตอนที่จำเป็นต้องดำเนินการในระยะแรกหลังคลอด

เอกสารอ้างอิง

  1. Vila-Candel R, Duke K, Soriano-Vidal FJ, Castro-Sanchez E. Effect of Early Skin-to-Skin Mother-Infant Contact in the Maintenance of Exclusive Breastfeeding. J Hum Lact 2017:890334416676469.

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมของมารดาได้ดีกว่า

IMG_1078

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูกและมะเร็งรังไข่ในมารดา แต่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนแรกผลลัพธ์ต่อการเกิดมะเร็งเหล่านี้น่าจะดีกว่า เนื่องจากส่งกระทบกับฮอร์โมนในร่างกายมารดามากกว่า มีการศึกษาวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ (meta-analysis) ที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวกับการลดการเกิดมะเร็งเต้านม พบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้ราวร้อยละ 30 เทียบกับมารดาที่ไม่เคยให้นมแม่เลย ขณะที่หากให้ลูกได้กินนมแม่จะช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านมได้ราวร้อยละ 10-151 ดังนั้น ในยุคที่ปัจจุบัน มะเร็งเต้านมเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสตรีไทย การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมในมารดาทุกคนที่มีโอกาสได้มีบุตร

เอกสารอ้างอิง

  1. Unar-Munguia M, Torres-Mejia G, Colchero MA, Gonzalez de Cosio T. Breastfeeding Mode and Risk of Breast Cancer. J Hum Lact 2017:890334416683676.

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดการเป็นหวัดของทารกและเด็กเล็ก

img_2131

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเจ็บป่วยของทารกและเด็กเล็กส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจของมารดา ครอบครัว รวมถึงเศรษฐกิจและการทำงานของทั้งบิดาและมารดาซึ่งจำเป็นต้องแบ่งเวลามีให้การดูแลหรือเฝ้าทารกหรือเด็กเล็ก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นที่ทราบกันดีว่า มีผลในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารกรวมถึงผลระยะยาวต่อเด็กเล็ก ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ทารกแรกเกิดจนถึงวัยเด็กเล็กอายุ 4 ปีที่มีประวัติการกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือนจะลดการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนหรือเรียกง่ายๆ ว่ากลุ่มอาการหวัด โดยพบว่า ลดการเจ็บป่วยได้ประมาณร้อยละ 301? ซึ่งสิ่งนี้น่าจะเป็นการสนับสนุนผลดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนต่อภาพรวมของครอบครัวและสังคม แต่อย่างไรก็ตาม ในการปฏิบัติจำเป็นต้องอาศัยการรณรงค์จากหลากหลายภาคส่วนที่ต้องให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะสื่อทางโทรทัศน์ที่ยังมีบทบาทสูงและประชาชนยังคงเข้าถึงได้ง่าย

เอกสารอ้างอิง

  1. Tromp I, Kiefte-de Jong J, Raat H, et al. Breastfeeding and the risk of respiratory tract infections after infancy: The Generation R Study. PLoS One 2017;12:e0172763.

กระดาษที่มีพลาสติกใช้ห่ออาหารอาจส่งผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_1699

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีเพื่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงใช้เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกในการอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะภาชนะ หรือ อุปกรณ์ที่ใช้บรรจุหรือห่อเก็บรักษาอาหาร ท่อน้ำ หรืออุปกรณ์เคลือบกระทะให้ลื่นไม่ติดกระทะ ซึ่งสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบที่ใช้ผลิตภาชนะหรือพลาสติกเหล่านี้มักประกอบด้านสารเพอร์ฟลูโอโรอัลคิล (Perfluoroacryl substance) ซึ่งสารเหล่านี้จะปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านทางการรับประทานอาหารที่มักมีบรรจุภัณฑ์เป็นพลาสติกหรือเทฟลอน (Teflon)? เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ในปริมาณที่มากขึ้น จะเกิดผลเสียแก่ระบบของร่างกาย ซึ่งหนึ่งในผลเสียที่เกิดขึ้น ได้แก่ การลดการสร้างน้ำนม โดยส่งผลทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้นลงราว 1.4 เดือน และระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสั้นลงครึ่งเดือน1 ดังนั้น แม่บ้านที่เป็นแม่บ้านถุงพลาสติกที่เป็นคุณแม่และต้องให้นมลูกควรใส่ใจและเอาใจใส่กับเรื่องนี้ ซึ่งจะมีผลเสียต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้ทารกได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้ไม่เต็มที่และขาดประโยชน์สูงสุด

เอกสารอ้างอิง

  1. Timmermann CA, Budtz-Jorgensen E, Petersen MS, et al. Shorter duration of breastfeeding at elevated exposures to perfluoroalkyl substances. Reprod Toxicol 2017;68:164-70.

น้ำหนักที่ลดลงหลังคลอดของทารกที่กินนมแม่

IMG_1075

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ทารกที่กินนมแม่มักมีน้ำหนักที่ลดลงหลังคลอดในสัปดาห์แรก ซึ่งหากน้ำหนักของทารกลดลงไม่เกินร้อยละ 7 จะส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวน้อย แต่หากน้ำหนักทารกลดลงมากกว่าร้อยละ 7 พบว่าส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของการกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก1 การที่เป็นเช่นนี้ เพราะเกณฑ์ในการให้การดูแลทารกเพิ่มเติมคือ น้ำหนักทารกที่ลดลงมากกว่าร้อยละ 7 การแก้ไขปัญหาแนะนำการป้องกันการลดลงของน้ำหนักทารกมากกว่าการที่ปล่อยให้น้ำหนักทารกลดลงมากกว่าร้อยละ 7 แล้วจึงให้การรักษา การที่ทารกคลอดครบกำหนดน้ำหนักลดเกินกว่าร้อยละ 7 จะสามารถป้องกันได้โดยการบริหารจัดการให้ทารกได้เริ่มกินนมตั้งแต่ในชั่วโมงแรกหลังคลอด มีการกระตุ้นดูดนมที่สม่ำเสมอ ซึ่งจะส่งเสริมให้น้ำนมมาเร็ว ทำให้ลดปัญหาทารกที่มีน้ำหนักลดลงมากกว่าร้อยละ 7 ได้ ดังนั้น การใส่ใจกับกระบวนการช่วยให้น้ำนมมาเร็วและทำให้ทารกได้รับนมเพียงพอจะช่วยป้องกันปัญหานี้และอาจส่งผลต่อการลดภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิดด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Thulier D. Challenging Expected Patterns of Weight Loss in Full-Term Breastfeeding Neonates Born by Cesarean. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2017;46:18-28.