คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การคุมกำเนิดหลังคลอดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_2940

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? หลังคลอดสตรีควรคุมกำเนิดเพื่อลดการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจหรือขาดการวางแผน ซึ่งการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจมีผลเสียและเพิ่มภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์และคลอดได้1 ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในวิธีการคุมกำเนิดแต่ละวิธีและผลกระทบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยทั่วไป หากสตรีตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน การให้ลูกกินนมแม่ก็เป็นวิธีหนึ่งในการคุมกำเนิดได้ แต่ต้องยึดหลักว่าใช้ในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอดเท่านั้นร่วมกับมารดาต้องให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวสม่ำเสมอ และมารดาต้องยังไม่มีประจำเดือนมาด้วย ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดจะสูง สำหรับมารดาที่มีข้อจำกัด การเลือกใช้การคุมกำเนิดโดยวิธีที่ไม่ใช้ฮอร์โมนก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ไม่กระทบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การให้สามีใช้ถุงยางอนามัย การใส่ห่วงคุมกำเนิด แต่หากจำเป็นต้องใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน การเลือกใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียวควรเป็นทางเลือกในลำดับก่อนที่จะเลือกใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมที่มีฮอร์โมนทั้งเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน โดยยาที่ใช้คุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว ได้แก่ ยาคุมกำเนิดที่ใช้ระหว่างการให้นมบุตร ซึ่งยี่ห้อที่มีอยู่ในท้องตลาด คือ Exluton และ Cerazette หรืออาจใช้ยาฉีดคุมกำเนิดหรือยาฝังคุมกำเนิดก็สามารถเลือกได้ แล้วแต่ความชอบของมารดาแต่ละราย โดยทางเลือกสุดท้าย คือ การกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ซึ่งหากต้องการคุมกำเนิดโดยใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในช่วงหกสัปดาห์แรกหลังคลอด ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบทำให้ปริมาณน้ำนมได้ เอกสารอ้างอิง

  1. Sridhar A, Salcedo J. Optimizing maternal and neonatal outcomes with postpartum contraception: impact on breastfeeding and birth spacing. Matern Health Neonatol Perinatol 2017;3:1.

 

ทัศนคติของมารดาในการใช้ยาระหว่างการให้นมบุตร

IMG_3413

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในช่วงระยะเวลาหลังคลอด หากมารดาเจ็บป่วยต้องรับประทานยาในขณะที่ให้นมบุตร มารดามักเกิดคำถามว่าขณะที่กินยาสามารถให้นมลูกได้หรือไม่ ทัศนคติของมารดาแตกต่างกัน บางคนกินยาโดยไม่ใส่ใจว่าตนเองให้นมบุตร ขณะที่มารดาบางคนมีความวิตกกังวลมากเมื่อต้องใช้ยาจนทำให้ต้องเลือกที่จะหยุดยาหรือหยุดให้นมบุตร1 ปัญหาเหล่านี้ ต้องอาศัยความร่วมมือในการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาในระหว่างให้นมบุตรที่เหมาะสม โดยบุคลากรทางการแพทย์หลายสาขามีบทบาทร่วมกันที่จะช่วยให้มารดาคลายความวิตกกังวลและปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสมเมื่อต้องใช้ยาและให้ลูกกินนมแม่ อย่างไรก็ตาม การส่งเสริมและสร้างระบบที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาความรู้เรื่องการใช้ยาแก่บุคลากรทางการแพทย์ก็มีความจำเป็น เริ่มตั้งแต่เภสัชกรซึ่งต้องถามสตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มาซื้อยาที่ร้านขายยาว่า ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่หรือไม่มารดาแต่ละคน แพทย์และพยาบาลผู้ให้การดูแลรักษาสตรีที่ป่วยก่อนที่จะสั่งยาต้องถามว่า สตรีนั้นตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่ไหม เพื่อจะได้เลือกยาที่เหมาะสม ผ่านน้ำนมน้อย หรือแนะนำให้กินนมแม่ก่อนการให้ยา แล้วเว้นระยะการให้นมบุตร 3-4 ชั่วโมงเพื่อให้ระดับของยาที่ผ่านน้ำนมลดลง ซึ่งการให้คำปรึกษาในมารดาแต่ละคนจำเป็นต้องใส่ใจถึงสภาพแวดล้อม สถานภาพ และสภาพจิตใจของมารดาด้วยเสมอ ดังนั้น การตระหนักและใส่ใจเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการให้การดูแลผู้ป่วยไม่เฉพาะในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Spiesser-Robelet L, Brunie V, de Andrade V, Gagnayre R. Knowledge, Representations, Attitudes, and Behaviors of Women Faced With Taking Medications While Breastfeeding. J Hum Lact 2017;33:98-114.

การกลับไปทำงานของมารดายังเป็นสาเหตุหลักในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_3709

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ปัจจัยที่มีผลอย่างมากต่อการให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนคือ การกลับไปทำงานของมารดา ซึ่งพบเป็นปัญหาในหลายประเทศ1 รวมทั้งในประเทศไทย ช่วงเวลาของการลาพักหลังคลอดที่มีการจ่ายเงินเดือนให้แก่มารดาก็เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันด้วย ในประเทศไทยช่วงเวลาที่มีการจ่ายเงินเดือนให้กับมารดาที่เป็นสิทธิข้าราชการจะลาคลอดได้ 3 เดือน ขณะที่ในประเทศเวียดนามที่กำลังรณรงค์เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ออกกฎหมายลาคลอด 6 เดือน แม้สิ่งนี้จะกระทบต่อการจ้างงานและระบบเศรษฐกิจ แต่เชื่อว่า นโยบายนี้น่าจะมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าในด้านสุขภาวะและโอกาสที่ดีที่จะพัฒนาประเทศในอนาคต ดังนั้น การจะเลือกดูแบบอย่างแนวทางในการพัฒนากำลังคนของประเทศที่กำลังพัฒนาใกล้เคียงกับประเทศไทยก็น่าจะเป็นสิ่งที่นำใช้ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Soomro JA, Shaikh ZN, Bijarani SA, Saheer TB. Factors affecting breastfeeding practices among working women in Pakistan. East Mediterr Health J 2017;22:810-6.

การดูแลมารดาในอายุที่แตกต่างกันมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_2921

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในมารดาที่อายุน้อยโดยเฉพาะมารดาวัยรุ่น มักมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนในการคลอดบุตร โดยมีความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดและทารกน้ำหนักแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่หอผู้ป่วยทารกวิกฤตที่ทำให้เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งในการให้ลูกได้เริ่มกินนมแม่ นอกจากนี้ มีการศึกษาว่าปัจจัยด้านอายุของมารดามีผลต่อการให้บริการการดูแลในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ พบว่าสถานพยาบาลที่ทำการศึกษาในสหรัฐอเมริกาให้การดูแลมารดาที่มีอายุน้อยกับอายุมากแตกต่างกัน โดยให้การดูแลการเริ่มต้นการให้นมลูกเมื่อพร้อมและให้มารดาอยู่กับทารก 24 ชั่วโมงน้อยกว่ามารดาที่อายุมาก1 ซึ่งส่งผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับในประเทศไทยที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีถือว่ามารดาวัยรุ่นเป็นความเสี่ยงต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนั้นในมารดาวัยรุ่นที่คลอดทารกที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่แตกต่างกับมารดาที่อายุมากกว่า 20 ปี2

เอกสารอ้างอิง

  1. Sipsma HL, Jones K, Nickel NC. Hospital practices to promote breastfeeding: The effect of maternal age. Birth 2017.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Manolerdtewan W, Ketsuwan S, Wongin S. Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. J Med Assoc Thai 2014;97:893-8.

 

เภสัชกร บทบาทที่ท้าทายในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

IMG_2935

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในการดูแลสุขภาพพื้นฐาน เภสัชกรถือเป็นบทบาทสำคัญที่เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการการรักษาระดับปฐมภูมิในชุมชนและยังมีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากในระยะหลังคลอดเมื่อมารดาเจ็บป่วย ส่วนหนึ่งและเป็นส่วนใหญ่ที่จะไปซื้อยาที่ร้านขายยามารับประทาน การให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสมในการใช้ยาระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ดังนั้น การเรียนการสอนเรื่องการใช้ยาในระหว่างให้นมลูกจึงต้องมีการสอนและมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องโดยเภสัชกร นอกจากนี้ การวิจัยและสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการจัดกลุ่มยาในระหว่างการให้นมบุตรก็เป็นสิ่งที่ควรพัฒนา1 ในปัจจุบันในสถานพยาบาลการดูแลร่วมสหสาขาถือเป็นสิ่งที่จะให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย ผู้รับบริการ รวมทั้งมารดาที่ให้นมบุตรด้วย การเยี่ยมมารดาที่ให้นมบุตรจากสหวิชาชีพอาจช่วยสร้างมุมมองใหม่ในการเลือกใช้ยาอย่างเหมาะสมระหว่างการให้นมบุตรได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Sim TF, Hattingh HL, Sherriff J, Tee LB. Towards the implementation of breastfeeding-related health services in community pharmacies: Pharmacists’ perspectives. Res Social Adm Pharm 2017.