คลังเก็บป้ายกำกับ: antiphospholipid syndrome

การรักษามารดาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดตามเกณฑ์และมีประวัติหลอดเลือดอุดตันมาก่อน

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การรักษามารดาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดตามเกณฑ์และมีประวัติหลอดเลือดอุดตันมาก่อน กลุ่มนี้มักจะได้รับการรักษาด้วย warfarin มาก่อน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนยาเป็นlow molecular weight heparin ให้เร็วที่สุด เนื่องจาก warfarin มีผลต่อความพิการของทารก โดยหลังคลอดบุตรแล้วสามารถปรับกลับไปใช้ยา warfarin ได้เหมือนเดิม และสามารถให้นมบุตรได้1

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Branch W. Report of the Obstetric APS Task Force: 13th International Congress on Antiphospholipid Antibodies, 13th April 2010. Lupus 2011;20:158-64.

?

 

การรักษามารดาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดไม่ครบตามเกณฑ์

 

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การรักษามารดาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดไม่ครบตามเกณฑ์ ยังไม่มีข้อสรุปในการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยการเลือกให้การรักษาอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์แต่ละคน1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Branch W. Report of the Obstetric APS Task Force: 13th International Congress on Antiphospholipid Antibodies, 13th April 2010. Lupus 2011;20:158-64.

?

การรักษามารดาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดครบตามเกณฑ์

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การรักษามารดาที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดครบตามเกณฑ์ ใช้ยาแอสไพริน ร่วมกับ low molecular weight heparin ซึ่งส่วนใหญ่จะได้ผล1 แต่มีร้อยละ 20 ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยทางเลือกอื่นด้วย คือ corticosteroids, hydroxychloroquine, intravenous immunoglobulins และ plasmaphaeresis2 โดยผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะไม่ตอบสนองต่อการรักษาจะเป็นผู้ที่มีโรคเอสแอลอี ผู้ที่ประวัติหลอดเลือดอุดตันและทารกเสียชีวิต หรือผู้ที่มีแอนติบอดีทั้งสามตัว ได้แก่ Lupus Anticoagulant (LAC), anticardiolipin antibodies (aCL) และ anti-?2-glycoprotein I antibodies (anti-?2GPI) เป็นผลบวก3

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Branch W. Report of the Obstetric APS Task Force: 13th International Congress on Antiphospholipid Antibodies, 13th April 2010. Lupus 2011;20:158-64.

2.???????????? Erkan D, Patel S, Nuzzo M, et al. Management of the controversial aspects of the antiphospholipid syndrome pregnancies: a guide for clinicians and researchers. Rheumatology (Oxford) 2008;47 Suppl 3:iii23-7.

3.???????????? Ruffatti A, Tonello M, Visentin MS, et al. Risk factors for pregnancy failure in patients with anti-phospholipid syndrome treated with conventional therapies: a multicentre, case-control study. Rheumatology (Oxford) 2011;50:1684-9.

?

 

การดูแลรักษามารดาที่เป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดระหว่างตั้งครรภ์

w28

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? มารดาที่เป็นกลุ่มแอนติฟอสฟอไลปิดที่เริ่มตั้งครรภ์ ควรจะได้รับการแจ้งถึงเรื่องความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ โรคหลอดเลือดอุดตัน ภาวะ stoke ภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารกในครรภ์เสียชีวิต ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า และการคลอดก่อนกำหนด เพื่อให้มีความเข้าใจและร่วมมือในการดูแลรักษา

??????????? เป้าหมายของการดูแลรักษาในกลุ่มนี้ คือการลดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดอุดตันของมารดาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และการคลอด โดยเริ่มต้นด้วยการประเมินความเสี่ยง ได้แก่ ประวัติเคยเกิดหลอดเลือดอุดตันมาก่อน ประวัติทารกเสียชีวิตในครรภ์มาก่อน ความเสียหายของอวัยวะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคในปัจจุบัน ได้แก่ หัวใจ สมอง ปอดและไต ประเมินความเสี่ยงจากอายุมารดา และการมีโรคเอสแอลอีหรือโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเองอื่นร่วมด้วย

??????????? สำหรับยาที่ใช้ในการป้องภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ ได้แก่ แอสไพริน และ low molecular weight heparin ซึ่งจะออกฤทธิ์ในการป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด นอกจากนี้ยา heparin ออกฤทธิ์จับกับ?2GPI และออกฤทธิ์ต้านการทำงานของ complement ที่รก ยาแอสไพรินออกฤทธิ์กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้อรกและฮอร์โมน และช่วยป้องกันการเสียชีวิตของทารกในการศึกษาในสัตว์1

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Shoenfeld Y, Sherer Y, Fishman P. Interleukin-3 and pregnancy loss in antiphospholipid syndrome. Scand J Rheumatol Suppl 1998;107:19-22.

?

?

 

เกณฑ์ทางสูติศาสตร์ในการให้การวินิจฉัยกลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิด

w19

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ข้อตกลงของเกณฑ์ทางสูติศาสตร์ในการให้การวินิจฉัยกลุ่มอาการแอนติฟอสโฟไลปิด1 ได้แก่

??????????? -มีการเสียชีวิตของทารกในครรภ์ที่อธิบายสาเหตุไม่ได้ตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไป ที่อายุครรภ์ 10 สัปดาห์หรือก่อนหน้านั้น โดยตรวจไม่พบความผิดปกติของทารก

??????????? -มีการคลอดของทารกที่มีลักษณะปกติก่อนอายุครรภ์ 34 สัปดาห์จากอาการครรภ์เป็นพิษขั้นรุนแรง (severe preeclampsia) หรือมีการชักจากครรภ์เป็นพิษ (eclampsia) หรือมีการทำงานของรกที่ไม่เพียงพอ (placental insufficiency) ตั้งแต่หนึ่งครั้งขึ้นไป

??????????? -มีการแท้งซ้ำก่อนอายุครรภ์ 10 สัปดาห์ตั้งแต่สามครั้งขึ้นไปที่อธิบายสาเหตุไม่ได้ หลังจากการตรวจความผิดปกติของลักษณะทางกายวิภาคและฮอร์โมนของมารดา และตรวจพันธุกรรมของพ่อและแม่

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Miyakis S, Lockshin MD, Atsumi T, et al. International consensus statement on an update of the classification criteria for definite antiphospholipid syndrome (APS). J Thromb Haemost 2006;4:295-306.