รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเผชิญ ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องใส่ใจเนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การทำความเข้าใจกับปัญหาในแต่ละหัวข้อจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถวางแผนการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม ปัญหาที่พบบ่อย1 มี 10 ข้อ ดังนี้
มารดาการขาดความรู้และ/หรือเข้าร่วมการให้ความรู้ก่อนการคลอดน้อย
ความไม่แน่ใจหรือการลังเลในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ความอายในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การกลับเข้าทำงานของมารดา
การเริ่มอาหารอื่นร่วมด้วยเร็ว
การเข้าใจผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมปกติของทารก
การที่น้ำนมไม่พอหรือรู้สึกว่าน้ำนมไม่พอ
ความสะดวกสบายของการใช้และให้นมผสม
การสนับสนุนของครอบครัวและสังคมที่ไม่พอเพียง
สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วย การให้ความรู้กับมารดาถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีสูงกว่า ทำให้มารดาเข้าใจเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แก้ความเชื่อผิดๆ ชี้ให้เห็นลักษณะปกติของทารก และสอนวิธีการให้นมแม่หากจำเป็นต้องกลับไปทำงาน
หนังสืออ้างอิง
1.???????????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นอกจากจะต้องมีการรณรงค์ให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวแล้ว การที่ทราบเกี่ยวกับทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่มีอยู่จำกัดสามารถจะเลือกเข้าช่วยเหลือในกลุ่มเสี่ยงโดยหากเข้าช่วยเหลือแต่แรกเริ่ม ผลการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะดี ทารกที่เสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว1 มี 10 ข้อ ดังนี้
ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ที่อายุครรภ์ 34 ถึง 36 สัปดาห์จะมีช่วงที่ตื่นหรือรู้ตัวน้อยกว่า การพัฒนาทักษะของการควบคุมกล้ามเนื้อในช่องปากยังไม่สมบูรณ์ ความแรงในการดูดนมน้อย การเข้าเต้ายากและจังหวะการดูดกลืนยังไม่สมบูรณ์
ทารกที่น้ำหนักน้อยกว่า 2727 กรัมหรือ 6 ปอนด์
ทารกแฝด
ทารกที่มีลิ้นติด คางเล็กหรือปากแหว่งเพดานโหว่
ทารกตัวเหลือง
ทารกที่มีอาการป่วยรุนแรง ได้แก่ โรคหัวใจ ติดเชื้อ หรือจำเป็นต้องได้รับออกซิเจน
ทารกที่มีความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น ทารกกลุ่มอาการดาวน์ หรือทารกที่มีความบกพร่องในการดูดนม
ทารกที่เข้าเต้ายาก
ทารกที่มีน้ำหนักลดมากกว่าร้อยละ 7 หรือทารกที่ยังมีน้ำหนักลดอย่างต่อเนื่องหลังจากน้ำนมแม่มาแล้ว
ทารกที่มีมารดามีการสร้างน้ำนมช้า เช่น มารดาตกเลือดหลังคลอด หรือมารดาที่เป็นเบาหวาน
การแก้ไขในกลุ่มทารกเหล่านี้ ใช้หลักการใหญ่ๆ คือ พยายามให้ลูกได้กินนมแม่ใช้วิธีให้ดูดนมจากเต้าข้างละ 5-10 นาที เสริมด้วยนมแม่ที่ได้จากการบีบหรือปั๊มนมตามความต้องการ จากนั้นปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า ปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ไปจนกระทั่งทารกสามารถดูดนมจากเต้าเองได้ดี โดยประเมินจากน้ำหนักทารกที่เพิ่มจากการชั่งน้ำหนักก่อนและหลังการกินนม ซึ่งหากขึ้นได้ดีแล้ว นั่นแสดงว่ามีความสำเร็จในระยะแรกแล้ว
หนังสืออ้างอิง
1.???????????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.
เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
????????????????? ถุงยางอนามัย ไม่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และใช้ข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ใช้ฮอร์โมน
การใช้ยาฆ่าอสุจิ สามารถใช้คุมกำเนิดได้ในช่วงหกสัปดาห์หลังคลอด แต่มีอัตราความล้มเหลวสูง1 และยังขาดข้อมูลความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การทำหมันหญิงหลังคลอด ในระยะแรกจะมีอาการปวดแผลจากการทำหมัน แต่ไม่รุนแรง อาจทำให้มีผลต่อการเริ่มดูดนมของทารก1 ยังไม่มีข้อมูลถึงผลนี้ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ชัดเจน ในระยะยาวไม่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
หนังสืออ้างอิง
1.???????????? Contraception during breastfeeding. Contracept Rep 1993;4:7-11.
เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
???????????? อย่างไรก็ตาม การใช้ยาคุมชนิดที่ใช้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน โดยให้เริ่มเร็วในระยะหลังคลอดก่อนผู้คลอดจะกลับบ้าน อาจมีผลต่อการหยุดกระบวนการการสร้างน้ำนม โดยในภาวะปกติหลังคลอดการลดลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะกระตุ้นการเริ่มกระบวนการการสร้างน้ำนม1 ดังนั้นควรพิจารณาด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉีดยาคุมกำเนิดระดับฮอร์โมนในน้ำนมจะสูงกว่าการให้ในรูปแบบอื่นๆ และมีการอัตราการใช้สูง2
หนังสืออ้างอิง
1.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.
2.???????????? Chaovisitsaree S, Noi-um S, Kietpeerakool C. Review of postpartum contraceptive practices at Chiang Mai University Hospital: implications for improving quality of service. Med Princ Pract 2012;21:145-9.
เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
?????????????? ห่วงอนามัย เมื่อเริ่มการใส่ห่วงอนามัยในระยะ 6-8 สัปดาห์หลังคลอด ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของกลุ่มที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนไม่มีความแตกต่างกับกลุ่มที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดทองแดง สำหรับส่วนสูงและน้ำหนักของทารกที่ขึ้นคล้ายคลึงกันในทั้งสองกลุ่ม1 มารดากลุ่มที่ใส่ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนใน 10 นาทีแรกหลังคลอดมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้นกว่าและมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวน้อยกว่ามารดากลุ่มที่ห่วงอนามัยชนิดที่มีฮอร์โมนในช่วง 6-8 สัปดาห์หลังคลอด
หนังสืออ้างอิง
1.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)