คลังเก็บป้ายกำกับ: การเจ็บเต้านม

การลดการให้นมผสมเสริมในขณะอยู่ในโรงพยาบาล (ตอนที่ 2)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? เมื่อทราบสาเหตุที่เป็นจุดเริ่มต้นการใช้นมผสม การวางแผนแก้ไขจึงดำเนินไปตามสาเหตุ ได้แก่ การให้ความรู้กับมารดาตั้งแต่ระยะฝากครรภ์โดยจัดให้มีการสอนเรื่องประโยชน์ของนมแม่ ในระยะหลังคลอด มารดาจะรู้สึกเหนื่อย การมีบุคลากรทางการแพทย์ สามีและครอบครัวให้กำลังใจ สอนให้มารดาจัดเวลาในการพักผ่อนให้เหมาะสม หากทารกนอนมารดาควรพักผ่อนด้วย ควบคุมเวลาเยี่ยมของญาติหรือเพื่อนเพื่อให้มารดาได้พักผ่อนเพียงพอ4 เรื่องน้ำนมไม่พอควรมีการให้ทารกสัมผัสกับหน้าอกมารดาตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอด กระตุ้นและให้ทารกดูดนมครั้งละ 15 นาที ทุก 2-3 ชั่วโมงและให้ทารกดูดจนเกลี้ยงเต้า โดยหากดูดไม่หมดอาจใช้การบีบนมหรือปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้า สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้น้ำนมมีมาเพียงพอ เรื่องการเจ็บเต้านม ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ทารกดูดนมไม่เหมาะสม มารดาอาจตรวจสอบการเข้าเต้าให้ถูกต้องโดยปรึกษากับพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลเพื่อช่วยแก้ไข เรื่องทารกหงุดหงิดหรือง่วงนอน หากมารดาเข้าใจลักษณะทารกและจัดให้นมให้เหมาะสม หากทารกหงุดหงิดอาจให้ป้อนนมจากนมแม่ที่ปั๊มออกมาโดยวิธีป้อนด้วยถ้วยหรือใช้สายยางต่อหลอดฉีดยาช่วยก่อนเมื่อทารกสงบแล้วจึงจัดป้อนนมจากเต้าอีกครั้ง ในกรณีทารกง่วงนอนอาจใช้การกระตุ้นให้ทารกดูดนมหรือป้อนนมช่วย แล้วค่อยๆ ฝึกให้ทารกดูดจากเต้าให้ได้นานขึ้นและเพียงพอ สำหรับการเข้าเต้ายากนั้น คงต้องตรวจสอบสาเหตุอาจจะเป็นจากลักษณะหัวนมหรือท่าในการให้นมซึ่งเช่นเดียวกันการปรึกษาพยาบาลหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยวินิจฉัยและแนะนำวิธีการแก้ปัญหาได้ ช่วยให้ลดการใช้ในผสมในระหว่างอยู่ในโรงพยาบาลได้และช่วยให้ทารกสามารถได้รับนมแม่อย่างน้อยหกเดือนได้

หนังสืออ้างอิง

4.???????????? Morrison B, Ludington-Hoe S, Anderson GC. Interruptions to breastfeeding dyads on postpartum day 1 in a university hospital. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2006;35:709-16.

 

 

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 2)

ท้อง

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ปัจจัยทางด้านกายภาพและชีวภาพของมารดาและทารก ได้แก่

  • อายุของมารดา อายุที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาอายุน้อยจะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากกว่ามารดาที่อายุมากขึ้น1-3 ข้อมูลของอายุน้อยบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 20-21 ปี2,4 บางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 26 ปี3 และบางการศึกษาใช้อายุที่น้อยกว่า 30 ปี1
  • ลำดับครรภ์ ครรภ์แรกมีผลในทางลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3
  • วิธีการคลอด การคลอดด้วยเครื่องดูดสุญญากาศและการผ่าตัดคลอดมีผลในทางลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2,5 มารดาที่ผ่าตัดคลอดต้องการการช่วยเหลือในการจัดท่าให้นมลูกมากกว่ามารดาที่คลอดทางช่องคลอด อย่างไรก็ตาม เมื่อสามารถเริ่มให้นมลูกได้แล้ววิธีการคลอดพบว่าไม่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5-7
  • หัวนมสั้นและหัวนมบอด พบว่าหัวนมของมารดาที่สั้นกว่า 7 มิลลิเมตรจะมีโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จน้อยกว่า
  • การเจ็บเต้านม การที่มารดามีอาการเจ็บเต้านมจะสัมพันธ์กับการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรก8,9 แต่สิ่งนี้ไม่ได้ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะยาว10,11
  • การให้ผิวของลูกสัมผัสผิวของแม่เมื่อแรกคลอด (skin-to-skin contact) มีผลดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 1-4 เดือนหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ12
  • การเริ่มให้นมลูก มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากเริ่มให้นมลูกช้ากว่า 6 ชั่วโมงแรกหลังคลอด4
  • ?การเข้าเต้า (latch on) ซึ่งเป็นกระบวนการที่จัดให้ปากทารกเข้าประกบกับเต้านม คาบหัวนมและอมลานนม การเข้าเต้าที่ดีจะส่งผลต่อการดูดและกลืนน้ำนมอย่างเป็นจังหวะได้เหมาะสม การเข้าเต้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์ต่างๆ ในการประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และใช้บอกความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่13
  • ประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ใช้ทำนายมารดาที่ความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงนมแม่ในระยะ 7-10 วัน14
  • ทารกมีปากแหว่งเพดานโหว่ มีผลต่อการเข้าเต้าและการดูดนมของทารก ในทารกที่มีเพดาโหว่ จะมีปัญหาเรื่องการดูดนมโดยจะสร้างแรงดูดที่เพียงพอในการดูดนมไม่ได้15
  • ?ภาวะลิ้นติด ส่งผลให้เกิดการเจ็บเต้านม การเข้าเต้าไม่ดี ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดีและการหยุดนมแม่เร็ว มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-8916,17 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-9516,18-20 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 321 ?โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ19,20,22 ทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 1616 การผ่าตัดแก้ไขเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 6519 สำหรับการหยุดนมแม่เร็ว พบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของทารกที่มีภาวะลิ้นติดในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า23
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีปัญหาในด้านการดูดและการกลืนซึ่งส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่24
  • ทารกน้ำหนักตัวน้อย มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หากทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่า 2500 กรัม4
  • น้ำนมไม่พอ เป็นปัญหาของการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจากการศึกษาพบเป็นปัญหาเพียงร้อยละ 5 แต่มารดารู้สึกว่าน้ำนมไม่พอถึงร้อยละ 5025
  • มารดาหรือทารกป่วย การที่มารดาหรือทารกป่วยทำให้มีโอกาสต้องแยกจากกันจึงเป็นปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่26 นอกจากนี้ การที่มารดาได้รับยาในการรักษาอาจมีผลต่อปริมาณน้ำนมหรือทารกส่งผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย27
  • ทารกร้องกวน มีผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่27

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Zobbi VF, Calistri D, Consonni D, Nordio F, Costantini W, Mauri PA. Breastfeeding: validation of a reduced Breastfeeding Assessment Score in a group of Italian women. J Clin Nurs 2011;20:2509-18.

2.??????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

3.??????????? Narayan S, Natarajan N, Bawa KS. Maternal and neonatal factors adversely affecting breastfeeding in the perinatal period. Medical Journal Armed Forces India 2005;61:216-9.

4.??????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

5.??????????? Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.

6.??????????? Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.

7.??????????? Cernadas JM, Noceda G, Barrera L, Martinez AM, Garsd A. Maternal and perinatal factors influencing the duration of exclusive breastfeeding during the first 6 months of life. J Hum Lact 2003;19:136-44.

8.??????????? Kvist LJ, Larsson BW, Hall-Lord ML. A grounded theory study of Swedish women’s experiences of inflammatory symptoms of the breast during breast feeding. Midwifery 2006;22:137-46.

9.??????????? Walker M. Conquering common breast-feeding problems. J Perinat Neonatal Nurs 2008;22:267-74.

10.????????? Hector D, King L, Webb K, Heywood P. Factors affecting breastfeeding practices: applying a conceptual framework. N S W Public Health Bull 2005;16:52-5.

11.????????? DiGirolamo A, Thompson N, Martorell R, Fein S, Grummer-Strawn L. Intention or experience? Predictors of continued breastfeeding. Health Educ Behav 2005;32:208-26.

12.????????? Moore ER, Anderson GC, Bergman N, Dowswell T. Early skin-to-skin contact for mothers and their healthy newborn infants. Cochrane Database Syst Rev 2012;5:CD003519.

13.????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of breastfeeding and infant growth. J Midwifery Womens Health 2007;52:571-8.

14.????????? Hall RT, Mercer AM, Teasley SL, et al. A breast-feeding assessment score to evaluate the risk for cessation of breast-feeding by 7 to 10 days of age. J Pediatr 2002;141:659-64.

15.????????? Arosarena OA. Cleft Lip and Palate. Otolaryngologic Clinics of North America 2007;40:27-60.

16.????????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

17.????????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

18.????????? Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.

19.????????? Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.

20.????????? Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.

21.????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

22.????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

23.????????? Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, DeFor TA. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1-7.

24.????????? da Costa SP, van der Schans CP, Zweens MJ, et al. The Development of Sucking Patterns in Preterm, Small-for-Gestational Age Infants. The Journal of Pediatrics 2010;157:603-9.e3.

25.????????? Hector D, King L. Interventions to encourage and support breastfeeding. N S W Public Health Bull 2005;16:56-61.

26.????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

27.????????? Olang B, Heidarzadeh A, Strandvik B, Yngve A. Reasons given by mothers for discontinuing breastfeeding in Iran. Int Breastfeed J 2012;7:7.

 

 

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 1)

นมแม่รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

นมแม่เป็นอาหารมาตรฐานสำหรับทารก ด้วยการศึกษาในปัจจุบันแสดงถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ของนมแม่ และองค์การอนามัยโลกได้แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนเพื่อให้บรรลุผลถึงการเจริญเติบโต พัฒนาการและสุขภาพที่ดีและเหมาะสม1 การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความจำเป็นเพื่อบอกแนวโน้มหรือทำนายความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามที่มีการแนะนำ บอกความเสี่ยงของมารดาและทารกที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยในกลุ่มนี้ต้องการการเอาใจใส่สนับสนุนจากทีมทางการแพทย์ให้สามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปนานที่สุดเท่าที่จะนานได้ อย่างน้อยหกเดือนหรือต่อเนื่องจนกระทั่งสองปีหรือมากกว่า อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดและปัจจัยอันหลากหลายที่มีผลในช่วงที่แตกต่างกันของระยะเวลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงมีการคิดเกณฑ์ประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้นหลายเกณฑ์โดยมีเป้าประสงค์ของการประเมินในรายละเอียดที่แตกต่างกัน เกณฑ์ที่ใช้อาจประเมินในทารก หรือประเมินจากทั้งมารดาและทารก ซึ่งเกณฑ์ที่มีการศึกษา วิจัยและใช้ในการให้บริการ ได้แก่

  1. Infant Breastfeeding Assessment Tool (IBFAT)
  2. Systematic Assessment of the Infant at Breast (SAIB)
  3. The Mother?Baby Assessment (MBA)
  4. LATCH assessment (LATCH)
  5. Lactation Assessment Tool (LAT)
  6. Mother?Infant Breastfeeding Progress Tool (MIBPT)

ในแต่ละเกณฑ์จะมีรายละเอียดที่ใช้วัด เกณฑ์ที่บ่งบอกถึงการกินนมแม่ของทารกได้ดีที่สุด คือ การได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนม2 ซึ่งเกณฑ์นี้จะมีในเกณฑ์การประเมินทุกเกณฑ์ยกเว้นใน infant breastfeeding assessment tool เกณฑ์ที่มีการประเมินในส่วนของมารดาและทารก ได้แก่ ?the mother-baby assessment, LATCH assessment และ mother-infant breastfeeding progress tool ส่วนเกณฑ์ที่มีการประเมินในส่วนของทารก ได้แก่ infant breastfeeding assessment tool, systematic assessment of the infant at breast และ lactation assessment tool2 รายละเอียดของแต่ละเกณฑ์ติดตามในตอนต่อไป

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

 

 

ผลของภาวะลิ้นติดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรงษ์

??????????? มีการศึกษาถึงผลของภาวะลิ้นติดต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยพบความสัมพันธ์ดังนี้

  1. การเจ็บเต้านม มีการศึกษาพบว่าทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุของการเจ็บเต้านมของมารดาร้อยละ 36-892,3 โดยเมื่อได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดแล้ววัดคะแนนการเจ็บเต้านมของมารดาที่ทารกมีภาวะลิ้นติดดีขึ้นราวร้อยละ 44-952,4-6 และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของค่าเฉลี่ยของคะแนนการเจ็บเต้านมก่อนและหลังทำการผ่าตัด3,6-8 นอกจากนี้อาการเจ็บเต้านมที่มีในสามสัปดาห์แรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีความเสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงร้อยละ 10-269,10
  2. การเข้าเต้าไม่ดี จากการศึกษาพบแพทย์เฉพาะทางโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยาร้อยละ 70 เชื่อว่าภาวะลิ้นติดทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อย แต่แพทย์ที่ให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร้อยละ 69 เชื่อว่า ภาวะลิ้นติดพบบ่อยที่ทำให้เกิดปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่9 การเข้าเต้าเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พบทารกที่มีภาวะลิ้นติดจะได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษาด้วยสาเหตุการเข้าเต้าได้ไม่ดีร้อยละ 64-842,3 มีรายงานเปรียบเทียบการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดกับทารกปกติ พบว่า ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีการเข้าเต้ายากร้อยละ 25 เทียบกับในทารกปกติพบร้อยละ 311 ?โดยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (infant breastfeeding assessment tool) และคะแนนการเข้าเต้าในทารกที่มีภาวะลิ้นติดก่อนและหลังได้รับการผ่าตัดรักษาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ5,6,12
  3. ทารกน้ำหนักขึ้นไม่ดี พบทารกที่มีภาวะลิ้นติดมีปัญหาเรื่องน้ำหนักขึ้นไม่ดีร้อยละ 162 ซึ่งเป็นปัญหามาจากการเข้าเต้าได้ไม่ดีและต้องใช้เวลานานเข้าเต้าทำให้ได้รับน้ำนมแม่น้อยหรือไม่เพียงพอ ในทารกที่มีภาวะลิ้นติดนี้ไม่พบปัญหาในการดูดนมขวด11 อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์มาก ดังนั้นการผ่าตัดแก้ไขจึงเป็นทางเลือกในรายที่มีปัญหานี้ มีรายงานทารกที่มีภาวะลิ้นติดหลังได้รับการผ่าตัดรักษามีน้ำหนักดีขึ้นร้อยละ 655
  4. การหยุดนมแม่เร็ว สาเหตุหนึ่งของการหยุดนมแม่เร็วคือ อาการเจ็บเต้านม อาการเจ็บเต้านมที่มีในสามสัปดาห์แรกของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ถึงร้อยละ 10-269,10 โดยพบความเสี่ยงในการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสัปดาห์แรกเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า13 อย่างไรก็ตามในการติดตามทารกหลังจากผ่าตัดรักษาภาวะลิ้นติดเมื่ออายุ 2 เดือนไม่พบความแตกต่างของการเจ็บเต้านมและคะแนนการเข้าเต้า รวมถึงไม่พบความแตกต่างในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่12 แนวโน้มของข้อมูลแสดงว่า ภาวะลิ้นติดน่าจะมีผลในช่วงระยะแรกหลังคลอดที่เริ่มเข้าเต้าและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????????? Hong P, Lago D, Seargeant J, Pellman L, Magit AE, Pransky SM. Defining ankyloglossia: A case series of anterior and posterior tongue ties. International Journal of Pediatric Otorhinolaryngology 2010;74:1003-6.

3.???????????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.

4.???????????? Hall DM, Renfrew MJ. Tongue tie. Arch Dis Child 2005;90:1211-5.

5.???????????? Gov-Ari E. Ankyloglossia: Effects of Frenulotomy on Breastfeeding Dyads. Otolaryngology – Head and Neck Surgery 2010;143:P111.

6.???????????? Srinivasan A, Dobrich C, Mitnick H, Feldman P. Ankyloglossia in breastfeeding infants: the effect of frenotomy on maternal nipple pain and latch. Breastfeed Med 2006;1:216-24.

7.???????????? Geddes DT, Langton DB, Gollow I, Jacobs LA, Hartmann PE, Simmer K. Frenulotomy for breastfeeding infants with ankyloglossia: effect on milk removal and sucking mechanism as imaged by ultrasound. Pediatrics 2008;122:e188-94.

8.???????????? Berry J, Griffiths M, Westcott C. A double-blind, randomized, controlled trial of tongue-tie division and its immediate effect on breastfeeding. Breastfeed Med 2012;7:189-93.

9.???????????? Segal LM, Stephenson R, Dawes M, Feldman P. Prevalence, diagnosis, and treatment of ankyloglossia: methodologic review. Can Fam Physician 2007;53:1027-33.

10.????????? Schwartz K, D’Arcy HJ, Gillespie B, Bobo J, Longeway M, Foxman B. Factors associated with weaning in the first 3 months postpartum. J Fam Pract 2002;51:439-44.

11.????????? Lalakea ML, Messner AH. Ankyloglossia: does it matter? Pediatric Clinics of North America 2003;50:381-97.

12.????????? Buryk M, Bloom D, Shope T. Efficacy of neonatal release of ankyloglossia: a randomized trial. Pediatrics 2011;128:280-8.

13.????????? Ricke LA, Baker NJ, Madlon-Kay DJ, DeFor TA. Newborn tongue-tie: prevalence and effect on breast-feeding. J Am Board Fam Pract 2005;18:1-7.

 

 

เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะลิ้นติด

รูปแสดงภาวะลิ้นติดจาก Block, SL.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การวินิจฉัยภาวะลิ้นติด มีเกณฑ์การวินิจฉัยหลากหลาย เกณฑ์ของ Hazelbaker ซึ่งใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการศึกษาและการวิจัย ประเมินลักษณะของลิ้นทารกโดยใช้ลักษณะ 5 อย่างร่วมกับการใช้หน้าที่การทำงานของลิ้นอีก 7 อย่าง การวินิจฉัยภาวะลิ้นติดเมื่อให้คะแนนลักษณะรวมแล้วได้ 8 หรือน้อยกว่า และ/หรือ คะแนนหน้าที่รวมแล้วได้ 11 หรือน้อยกว่า2 แสดงรายละเอียดดังตารางที่ 1

 

ตารางที่ 1 เกณฑ์การประเมินลักษณะและหน้าที่การทำงานของลิ้นของ Hazelbaker

คะแนนลักษณะ คะแนนหน้าที่การทำงาน
ลักษณะลิ้นเมื่อกระดกขึ้น การเคลื่อนที่ไปด้านข้างของลิ้น
? 2: มนหรือเหลี่ยม ? 2: สมบูรณ์
? 1: ปลายหยักเล็กน้อย ? 1: ไปเฉพาะตัวลิ้น ปลายไม่ไป
? 0: รูปหัวใจหรือตัว V ? 0: ไม่ได้เลย
ความยืดหยุ่นของ frenulum การกระดกลิ้น
? 2: ยืดหยุ่นมาก ? 2: ปลายลิ้นถึงกลางปาก
? 1: ยืดหยุ่นปานกลาง ? 1: แค่ขอบสองข้างถึงกลางปาก
? 0: ยืดหยุ่นเล็กน้อยหรือไม่เลย ? 0: ปลายอยู่แค่เหงือกล่างหรือกระดกได้ถึงเฉพาะเวลาเหงือกหุบ
ความยาวของ frenulum เมื่อลิ้นกระดก การแลบลิ้น
? 2: > 1 cm ? 2: ปลายลิ้นอยู่บนริมฝีปากล่าง
? 1: 1 cm ? 1: ปลายลิ้นอยู่บนเหงือกล่างเท่านั้น
? 0: < 1 cm ? 0: ไม่ใช่ทั้ง 2 อย่าง หรือส่วนปลายหรือส่วนกลางลิ้นนูนสูงขึ้น
การยึดของ frenulum กับลิ้น การแผ่ของส่วนปลายของลิ้น
? 2: ส่วนหลังของปลายลิ้น ? 2: บริบูรณ์เต็มที่
? 1: ที่ปลายเลย ? 1: ปานกลางหรือบางส่วน
? 0: ปลายลิ้นมีรอยหยัก ? 0: เล็กน้อยหรือไม่เลย
ตำแหน่งยึดของ frenulum กับขอบเหงือกล่าง การม้วนของขอบลิ้นเมื่ออมหัวนม(cupping)
? 2: ยึดติดกับพื้นปากหรือหลังต่อขอบเหงือก ? 2: ตลอดขอบ ม้วนอมได้กระชับ
? 1: ยึดหลังขอบเหงือกพอดี ? 1: ขอบข้างเท่านั้น กระชับปานกลาง
? 0: ยึดติดที่ขอบเหงือก ? 0: ไม่ดี หรือไม่กระชับเลย
การเคลื่อนไหวเป็นลูกคลื่นของลิ้น
? 2: สมบูรณ์ จากหน้าไปถึงหลัง
? 1: บางส่วน เริ่มจากส่วนหลังต่อปลายลิ้น
? 0: ไม่มี หรือเคลื่อนกลับทาง
การอมแล้วหลุด
? 2: ไม่เลย
? 1: เป็นครั้งคราว
? 0: บ่อยๆ หรือทุกครั้งที่ดูด

หมายเหตุ ข้อมูลแปลเป็นไทยโดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์วีระพงษ์? ฉัตรานนท์ จาก http://www.breastfeedingthai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=345949

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Block SL. Ankyloglossia: when frenectomy is the right choice. Pediatr Ann 2012;41:14-6.

2.???????? Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia: assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breastfeeding dyad. Pediatrics 2002;110:e63.