คลังเก็บป้ายกำกับ: การได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนม

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 4)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3

รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ Systematic Assessment of the Infant at Breast (SAIB)2 มีรายละเอียด ดังนี้

?

รายละเอียด

แนวการวางตัวของทารก (alignment) ทารกอยู่ในท่างอตัว ผ่อนคลาย ไม่มีการเกร็งแข็งของกล้ามเนื้อ
ศีรษะทารกและลำตัวอยู่ระดับเต้านม
ศีรษะทารกอยู่แนวเดียวกับลำตัว ไม่หันไปทางด้านข้าง ก้มหรือเงยจนเกินไป
แนวการวางตัวของทารกที่ถูกต้องจะอยู่ในแนวของเส้นสมมุติจากหู ไปไหล่และขอบกระดูกอุ้งเชิงกราน (iliac crest)
เต้านมของแม่จะต้องได้รับการประคองด้วยมือที่วางเป็นลักษณะรูปถ้วยในสองสัปดาห์แรกของการให้นมลูก
การอมคาบหัวนมและลานนม เห็นปากอ้ากว้าง ริมฝีปากต้องไม่ห่อ
มองเห็นริมฝีปากปลิ้นออก
ทารกประกบริมฝีปากพอดีกับเต้านมทำให้มีแรงดูดสุญญากาศมาก
ลานนมที่อยู่ต่ำจากหัวนมประมาณครึ่งนิ้วอยู่ตรงกลางปากทารก
ลิ้นจะวางอยู่บริเวณขอบด้านล่างของต่อมเต้านม (alveolar ridge)
ลิ้นจะเป็นรูปโค้งงอโอบรอบลานนมทางด้านล่าง
ไม่มีเสียงลมระหว่างการดูดนมของทารก
ไม่มีรอยบุ๋มบริเวณแก้มระหว่างการดูดนมของทารก
การกดบริเวณลานนม กรามของทารกจะเคลื่อนไหวอย่างเป็นจังหวะ
ถ้าจำเป็นต้องตรวจสอบ ทำได้โดยให้ทารกดูดนิ้วมือจะพบการเคลื่อนเป็นลูกคลื่นของลิ้นจากทางด้านหน้าไปทางด้านหลัง
การได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนม เสียงของการกลืนจะเงียบ
หลังการดูดหลายครั้งอาจได้ยินเสียง
เสียงอาจจะเพิ่มความถี่หรือความสม่ำเสมอขึ้นหลังการเกิดกลไกน้ำนมพุ่ง

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 4 ตัวแปรคือ แนวการวางตัวของทารก การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การกดบริเวณลานนม และการได้ยินเสียงกลืนน้ำนม ลักษณะของเกณฑ์พิจารณาอย่างเป็นระบบจากกลไกทางวิทยาศาสตร์ของการดูดนมของทารก ไม่มีการให้เป็นน้ำหนักคะแนน โดยมีความเชื่อว่าหากมีลักษณะตามกลไกเหล่านี้จะสัมพันธ์กับการดูดนมแม่ได้ดี จึงใช้ประโยชน์เป็นแนวทางในการสอนมารดาที่ไม่รู้วิธีในการเริ่มให้นมแม่3

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Shrago L, Bocar D. The infant’s contribution to breastfeeding. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 1990;19:209-15.

3.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

 

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 1)

นมแม่รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

นมแม่เป็นอาหารมาตรฐานสำหรับทารก ด้วยการศึกษาในปัจจุบันแสดงถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ของนมแม่ และองค์การอนามัยโลกได้แนะนำการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนเพื่อให้บรรลุผลถึงการเจริญเติบโต พัฒนาการและสุขภาพที่ดีและเหมาะสม1 การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความจำเป็นเพื่อบอกแนวโน้มหรือทำนายความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามที่มีการแนะนำ บอกความเสี่ยงของมารดาและทารกที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยในกลุ่มนี้ต้องการการเอาใจใส่สนับสนุนจากทีมทางการแพทย์ให้สามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปนานที่สุดเท่าที่จะนานได้ อย่างน้อยหกเดือนหรือต่อเนื่องจนกระทั่งสองปีหรือมากกว่า อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดและปัจจัยอันหลากหลายที่มีผลในช่วงที่แตกต่างกันของระยะเวลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงมีการคิดเกณฑ์ประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขึ้นหลายเกณฑ์โดยมีเป้าประสงค์ของการประเมินในรายละเอียดที่แตกต่างกัน เกณฑ์ที่ใช้อาจประเมินในทารก หรือประเมินจากทั้งมารดาและทารก ซึ่งเกณฑ์ที่มีการศึกษา วิจัยและใช้ในการให้บริการ ได้แก่

  1. Infant Breastfeeding Assessment Tool (IBFAT)
  2. Systematic Assessment of the Infant at Breast (SAIB)
  3. The Mother?Baby Assessment (MBA)
  4. LATCH assessment (LATCH)
  5. Lactation Assessment Tool (LAT)
  6. Mother?Infant Breastfeeding Progress Tool (MIBPT)

ในแต่ละเกณฑ์จะมีรายละเอียดที่ใช้วัด เกณฑ์ที่บ่งบอกถึงการกินนมแม่ของทารกได้ดีที่สุด คือ การได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนม2 ซึ่งเกณฑ์นี้จะมีในเกณฑ์การประเมินทุกเกณฑ์ยกเว้นใน infant breastfeeding assessment tool เกณฑ์ที่มีการประเมินในส่วนของมารดาและทารก ได้แก่ ?the mother-baby assessment, LATCH assessment และ mother-infant breastfeeding progress tool ส่วนเกณฑ์ที่มีการประเมินในส่วนของทารก ได้แก่ infant breastfeeding assessment tool, systematic assessment of the infant at breast และ lactation assessment tool2 รายละเอียดของแต่ละเกณฑ์ติดตามในตอนต่อไป

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.