ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 7

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 7

 

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 7

– เดือนที่เจ็ด การรู้สึกการเคลื่อนไหวของทารกจะแรงขึ้น ระยะนี้ควรเริ่มนับการดิ้นของทารกในครรภ์ หากทารกในครรภ์ดิ้นน้อย ควรไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อยืนยันสุขภาพทารกในครรภ์ ริ่มนับการดิ้นของทารกในครรภ์ หากทารกในครรภ์ดิ้นน้อย ควราวะราด และมักมีออกมามากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ไอ จาม หรือเบ่งปัสสาวะหรอาจมีการหดรัดตัวของมดลูกบางครั้งซึ่งมารดาอาจรู้สึกปวดเกร็งท้อง อาจปวดร้าวไปด้านหลัง บริเวณก้น รู้สึกท้องแข็ง อาจมีอาการบวมที่ขาและเท้า? อาจปวดหรือชาบริเวณมือ

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

แผ่นปิดผิวหนังคุมกำเนิด

แผ่นปิดผิวหนังคุมกำเนิด

? ? ? ? ? ??แผ่นปิดผิวหนังคุมกำเนิด ใช้สำหรับผู้ที่ไม่ค่อยชอบรับประทานยา แผ่นปิดผิวหนังคุมกำเนิดนี้ใช้ปิดผิวหนังได้ทั้งบริเวณหน้าท้อง สะโพก ต้นแขนด้านใน และลำตัว ขนาดของแผ่นใกล้เคียงกับบัตรเครดิตโดยการเริ่มปิดให้เริ่มภายใน? 5? วันนับจากวันแรกของการเริ่มต้นมีประจำเดือนในรอบปกติ จากนั้นเปลี่ยนสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ปิดแผ่นคุมกำเนิดไป 3 สัปดาห์ เว้น 1 สัปดาห์ ในระหว่างที่หยุดแผ่นปิด ประจำเดือนจะมาในช่วงนั้น ในบริเวณที่ติดแผ่นปิดสามารถอาบน้ำได้ตามปกติ อาการข้างเคียงเหมือนกับยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน แต่บางคนอาจมีผื่นแดงบริเวณที่ติดแผ่นปิดได้หากมีการแพ้ ประสิทธิภาพการคุมกำเนิดสูง

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 6

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 6

 

ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ระหว่างการตั้งครรภ์ เดือนที่ 6

– เดือนที่หก หน้าท้องของมารดาจะขยายมากขึ้นสูงกว่าระดับสะดือทำให้สังเกตการณ์ตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น ผิวที่หน้าท้องจะสีเข้มขึ้น อาจจะพบเส้นกลางลำตัวสีคล้ำขึ้นและเป็นแนวยาวจากลิ้นปี่ไปถึงหัวหน่าว ผิวที่หน้าท้องอาจพบมีผิวแตกลายได้ ในระยะนี้มารดาอาจรู้สึกอึดอัด ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย? ควรใส่เสื้อผ้าหลวมๆ โปร่งสบาย ระบายอากาศได้ดี การรู้การดิ้นของทารกในครรภ์จะแรงขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น การกระตุ้นพัฒนาการในครรภ์ อาจตั้งชื่อเล่นของลูกเพื่อทักทายหรือพูดคุยกับลูกในครรภ์เนื่องจากทารกเริ่มมีการพัฒนาในการได้ยินตั้งแต่อยู่ในครรภ์

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

คำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นคุณแม่

คำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็นคุณแม่

 

1. อายุเท่าไรนะ ที่เหมาะสมจะมีบุตร ?
? ? ? ? ? อายุที่เหมาะสมของสตรีคือ 20-30 ปี ปัจจุบันผู้หญิงจะแต่งงานช้าลงและมีบุตรเมื่ออายุมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้นการมีบุตรจะเกิดขึ้นยาก การแท้งจะพบสูงขึ้น และในผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปจะเสี่ยงต่อการมีบุตรที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ (Down?s syndrome) ซึ่งเป็นลักษณะของเด็กปัญญาอ่อนประเภทหนึ่งเกิดจากความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมซึ่งเป็นสารพันธุกรรม ความผิดปกติแต่กำเนิดชนิดนี้พบสูงขึ้นตามอายุมารดาที่เพิ่มขึ้น การตรวจน้ำคร่ำเป็นทางเลือกวิธีหนึ่งในการตรวจสอบความผิดปกติชนิดนี้ก่อนคลอดได้ สำหรับผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 18 ปี มักมีปัญหาเรื่องการให้กำเนิดทารกน้ำหนักตัวน้อยและทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากปัญหาเรื่องการไม่เตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ความไม่ต้องการมีบุตร ปัญหาเรื่องยาเสพติด และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 

2. รับประทานอาหารดี มีประโยชน์และเหมาะสมไหม ?
? ? ? ? ??คุณควรมีโอกาสที่จะมีการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์และมีบุตรที่แข็งแรงได้ หากเลือกรับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และกินผักผลไม้เป็นนิสัย พยายามรับประทานอาหารให้มีความหลากหลายและในปริมาณที่พอเหมาะ สำหรับในคนไทย การเพิ่มโปรตีนโดยเฉพาะจากเนื้อปลาที่ย่อยง่ายและการเพิ่มอาหารจำพวกนมเพราะค่าเฉลี่ยของการรับประทานนมในคนไทยยังน้อยยังมีความจำเป็น ส่วนผักผลไม้ในประเทศไทยมีค่อนข้างหลากหลายอยู่แล้ว งดอาหารดิบหรือปรุงไม่สุก หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ สำหรับผู้ที่รักษาสิวหรือลดความอ้วนควรงดยาที่ใช้ เพื่อหลักเลี่ยงอันตรายเมื่อเกิดการตั้งครรภ์

 

3. ออกกำลังเพียงพอหรือไม่ ?
? ? ? ? ??คุณควรพยายามออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสดชื่นแข็งแรง เพื่อให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ควรเลือกออกกำลังกาย เช่น ว่ายน้ำหรือวิ่งเหยาะๆ อาจพิจารณาออกกำลังกายโดยเลือกเล่นชนิดกีฬาที่ชอบก็ได้ โดยในการออกกำลังกายควรเลือกกีฬากลางแจ้งที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้แรงมากแต่มีกิจกรรมต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 20 นาทีและสัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าสามครั้ง เมื่อมีสุขภาพแข็งแรง เซลล์สืบพันธุ์ก็จะมีความสมบูรณ์ไปด้วย

 

4. มีโรคประจำตัวไหม ?
? ? ? ? ??ถ้าคุณมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์เสมอ เพราะการตั้งครรภ์ขณะที่โรคยังมีความรุนแรงอาจเป็นอันตรายแก่ทั้งมารดาและทารกในครรภ์ นอกจากนี้ ยาที่ใช้ในการรักษาอาจส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นการวางแผนในช่วงที่โรคไม่กำเริบและควบคุมอาการได้ดี ผลของการตั้งครรภ์ก็จะดีตามไปด้วย

 

5. ในครอบครัวของทั้งสองฝ่าย มีโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ ?
? ? ? ? ??จะรู้ได้อย่างไรว่ามีโรคทางพันธุกรรม อาจจะสังเกตได้จากคุณ สามี พ่อแม่ หรือญาติใกล้ชิดมีความผิดปกติหรือความพิการแต่กำเนิดอะไรบ้าง โดยโรคบางอย่างสามารถจะมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคธาลัสซีเมีย (โรคโลหิตจางชนิดหนึ่ง พบมากในภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของไทย) โรคผนังหรือลิ้นหัวใจรั่ว โรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรคฮีโมฟีเลีย (โรคที่มีความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด จะทำให้เลือดไหลไม่หยุด) เป็นต้น ถ้าคุณ สามี พ่อแม่หรือญาติใกล้ชิดเป็นโรคทางพันธุกรรม โรคดังกล่าวอาจถ่ายทอดมาสู่ลูกของคุณได้ จึงควรขอคำปรึกษาจากสูติแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์เพื่อรับทราบความเสี่ยง วางแผนการป้องกันและการตรวจสอบความพิการก่อนการคลอดได้อย่างเหมาะสม

 

6. ได้รับการฉีดวัคซีนหัดเยอรมันมาก่อนไหม ?
? ? ? ? ??หัดเยอรมัน อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการได้ โดยเฉพาะหากเป็นในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ดังนั้น ควรเข้ารับการตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันก่อนการตั้งครรภ์เสมอ แพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนถ้าพบว่ายังไม่มีภูมิคุ้มกัน และหลังจากฉีดวัคซีนควรคุมกำเนิดอีกอย่างน้อย 3 เดือน สำหรับผู้ที่จำไม่ได้ว่าเคยเป็นหัดเยอรมันหรือได้รับการฉีดวัคซีนแล้วหรือยัง สามารถเจาะเลือดตรวจหาภูมิคุ้มกันได้ โดยหากมีภูมิคุ้มกันแล้วจะมีอยู่ตลอดชีวิต

 

7. เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ ?
? ? ? ? ??โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะส่งผลทำให้เกิดอันตรายต่อมารดาและทารกในครรภ์ โรคบางชนิดแสดงอาการชัดเจน เช่น หนองใน แต่บางชนิดอาจไม่แสดงอาการ เช่น ซิฟิลิส (syphilis) พาหะไวรัสตับอักเสบบี การติดเชื้อไวรัสเอชไอวีหรือโรคเอดส์ ดังนั้น การตรวจเลือดก่อนการวางแผนการตั้งครรภ์จะทำให้สามารถรักษาและวางแผนการตั้งครรภ์ได้เหมาะสม

 

8. ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ไหม ?
? ? ? ? ??ถ้าอยากให้ลูกมีความสมบูรณ์แข็งแรง ต้องหยุดเหล้าและบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์ เพราะทั้งสองอย่างนี้มีผลต่อการเจริญเติบโต และความพิการของการทารกในครรภ์ได้ สำหรับยาเสพติดอื่นๆ ก็ไม่ควรใช้ในระหว่างการเตรียมตัวตั้งครรภ์เช่นเดียวกัน

 

9. คุณและครอบครัวมีความพร้อมทางด้านจิตใจและเศรษฐานะที่จะเป็นคุณแม่หรือไม่ ?
? ? ? ? ??เมื่อทุกอย่างพร้อม ต้องกลับมามองความพร้อมของครอบครัวในด้านจิตใจว่า คุณและสามีพร้อมที่จะเลี้ยงดูลูกที่จะเกิดขึ้นมาใหม่หรือไม่ มีเวลาที่จะให้กับการให้ความอบอุ่นและการเลี้ยงดูบุตรหรือไม่ สำหรับครอบครัวคนไทยปู่ย่าตายายก็มีบทบาทสำคัญในการเลี้ยงดูเด็ก พี่เลี้ยงอาจจะจำเป็นในยุคนี้ที่ผู้หญิงทำงานแต่หายากและมีค่าจ้างสูง จึงจะต้องมองสภาพแวดล้อมของครอบครัว ฐานะการเงินเพื่อจะได้วางแผนสร้างครอบครัวที่อบอุ่น สมบูรณ์และมีความสุข

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน

ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน

? ? ? ? ? ??ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน ?วิธีนี้นอกจากจะคุมกำเนิดยังช่วยในสตรีที่มีประจำเดือนมาไม่เสมอให้มีประจำเดือนมาตรง ลดปริมาณเลือดประจำเดือนและอาการปวดประจำเดือนได้ด้วย แต่จะเหมาะสมหรับผู้มีวินัยในการรับประทานยาคุมกำเนิด เพราะต้องรับประทานยาทุกวัน หากผู้ใช้เลือกเวลาที่สะดวกและทำเป็นประจำ ก็จะลดปัญหาด้านการลืมรับประทานยาได้ วิธีการรับประทานยาคุมกำเนิด ปัจจุบันที่นิยมใช้จะมี? 2? ชนิด? ชนิดแรกเป็นแผงมี? 21? เม็ด? ชนิดที่สองมี? 28? เม็ด? โดยการเริ่มรับประทานจะเริ่มยาภายใน? 5? วันนับจากวันแรกของการเริ่มต้นมีประจำเดือนในรอบปกติ? จากนั้นรับประทานวันละ? 1? เม็ดทุกวัน? ควรรับประทานยาในเวลาเดียวกันทุกวัน ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้? (เพื่อป้องกันการลืมรับประทานยาและทำให้ยามีระดับในกระแสเลือดสม่ำเสมอ)? สำหรับยาคุมกำเนิดชนิด? 21? เม็ด? หลังจากรับประทานยาจนหมดแผงแล้วเว้นช่วง? 7? วัน? จึงเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดต่อได้เลยโดยไม่ต้องรอประจำเดือน? (โดยปกติประจำเดือนจะมาในช่วงที่เว้นจากการรับประทานยาคุมกำเนิด? 3-4? วันอยู่แล้ว)? สำหรับยาคุมกำเนิดชนิด? 28? เม็ด? จะมียาบำรุงเสริมเข้ามาในช่วง? 7? เม็ด? หลัง ลักษณะสีของยาโดยมากมักจะทำสีแตกต่างกัน? การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดนี้หลังจากหมดแผงก็รับประทานยาแผงใหม่ต่อได้เลย? (โดยปกติประจำเดือนจะมาในช่วงที่รับประทานยาบำรุงในช่วง? 7? เม็ดสุดท้าย)? หากมีการลืมรับประทานยาคุมกำเนิด? 1? เม็ด? เมื่อนึกขึ้นได้ให้รับประทานยาทันที? และรับประทานยาคุมกำเนิดเม็ดต่อไปตามเวลาเดิม? หากมีการลืมรับประทานยาคุมกำเนิด? 2? เม็ด? เมื่อนึกขึ้นได้ให้รับประทานทันที? 1? เม็ด? และรับประทานยาคุมกำเนิด? 2? เม็ดในวันรุ่งขึ้น? โดยแบ่งรับประทานในช่วงเช้า ?1? เม็ด? และก่อนนอน? 1? เม็ดหากลืมรับประทานยามากกว่า? 2? เม็ด? ควรหยุดยาคุมกำเนิดแผงนั้นแล้วใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีอื่น? เช่น? ถุงยางอนามัย? รอจนกว่าประจำเดือนจะมาจึงเริ่มยาคุมกำเนิดแผงใหม่? อย่างไรก็ตามควรจัดเวลาของการรับประทานยาคุมให้เป็นเวลา? เพราะการลืมและความสม่ำเสมอในการรับประทานยาจะลดประสิทธิภาพการคุมกำเนิดลงได้ สำหรับการเลือกใช้ยาคุมกำเนิดแต่ละยี่ห้อนั้นมีให้เลือกมากมาย ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักเป็นชนิดฮอร์โมนต่ำเกือบทั้งหมดซึ่งมีอาการข้างเคียงน้อย ได้แก่ การคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ ซึ่งมักจะเป็นอยู่ในหนึ่งถึงสองเดือนแรกเท่านั้น จากนั้นจะหายไป นอกเหนือจากนี้ ในสตรีที่ให้นมบุตรยังสามารถเลือกรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดเฉพาะที่ให้นมบุตรได้

สำหรับยาคุมกำเนิดที่ใช้หลังมีเพศสัมพันธ์? ?ปกติไม่แนะนำให้ใช้เป็นประจำสำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิด จะมีที่ใช้เฉพาะมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน?? เช่น? มีการร่วมเพศโดยไม่มีการเตรียมป้องกันมาก่อน? ถุงยางอนามัยฉีกขาดระหว่างร่วมเพศ? หรือกรณีถูกข่มขืน? การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดนี้? จำเป็นจะต้องสั่งรับประทานยาให้เร็วที่สุดหลังจากเกิดการร่วมเพศ? และควรจะไว้รับคำปรึกษาจากแพทย์สูตินรีเวช? เนื่องจากอาจพบภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานยาชนิดนี้ได้? เช่น? เลือดออกกะปริบกะปรอยและประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ? อีกประการหนึ่งประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดโดยใช้ยาคุมกำเนิดหลังมีเพศสัมพันธ์นั้น? น้อยกว่าการรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดปกติ? การเลือกใช้จึงควรระมัดระวังและอยู่ในการดูแลของแพทย์

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)