ประจำเดือนคืออะไร?

?ประจำเดือนคืออะไร?

? ? ? ? ? ? ? ??

? ? ? ? ? เมื่อเด็กสาวอายุ? 12 ? 14? ปี? จะเริ่มมีประจำเดือน? มาดูกลไกการเกิดของประจำเดือนและเข้าใจว่าประจำเดือนนั้นคืออะไร? ?เริ่มต้นด้วยแต่ละรอบเดือนรังไข่จะผลิตไข่มีการเจริญเติบโต? และเกิดการตกไข่ครั้งละ? 1? ฟอง? ซึ่งจะเดินทางผ่านท่อนำไข่เข้าไปสู่โพรงมดลูก? ขณะที่ไข่กำลังเดินทางอยู่ในท่อนำไข่นั้น? มดลูกจะเริ่มสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้นและมีเส้นเลือดมาหล่อเลี้ยง? เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ได้รับการผสม? เพื่อหล่อเลี้ยงและให้อาหารแก่ทารก? แต่ส่วนใหญ่เมื่อไม่มีการร่วมเพศไม่เกิดการปฏิสนธิ? จะไม่มีฮอร์โมนมาหล่อเลี้ยงเยื่อบุโพรงมดลูกนี้ต่อ? เยื่อบุโพรงมดลูกเหล่านี้จึงขาดเลือดตาย??? มีเลือดออกและหลุดลอกออกมา? จากนั้นมดลูกก็จะเริ่มขับเอาเนื้อเยื้อไข่ที่ไม่ได้รับการผสมและเลือดที่ค้างอยู่ออกมาทางช่องเล็ก ๆ? ทางปากมดลูกและไหลผ่านช่องคลอดมาที่ปากช่องคลอดเรียก? ?เลือดประจำเดือน? หรือ ?ระดู? การขับเลือดออกจากร่างกายนี้ปกติจะใช้เวลา? 2 ? 7? วัน? (ขณะมีการขับเลือดนี้อาจจะมีการปวดท้องน้อยได้จากมดลูกบีบตัว)? โดยหลังจากนั้นก็จะมีการเริ่มของกลไกเหล่านี้ใหม่? ซึ่งแต่ละรอบจะกินเวลาประมาณ? 28 ? 30 วัน? โดยจะเป็นเช่นนี้เรื่อยไปจนกระทั่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทองในอายุเฉลี่ยประมาณ? 50? ปี? ซึ่งเกิดจากรังไข่หยุดสร้างฮอร์โมนเพศหญิงและหยุดการสร้างไข่

คราวนี้มาถึงคำถามที่น่าสนใจ? ?เลือดประจำเดือนจะไหลออกมาหมดแค่ไหนนะ? แล้วมันจะไหล? พลั่ก? พลั่ก? ออกมาหรือเปล่าก็ไม่รู้ซี?? คำตอบคือ ?ปริมาณของเลือดประจำเดือนมีระดับแตกต่างกันในแต่ละคน? โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่าง? 2? ปีแรกของการมีประจำเดือน? อาจจะมีน้อยแค่? 1? ช้อนโต๊ะ? หรือมากถึง? 6? ช้อนโต๊ะและในแต่ละครั้งเลือดอาจจะออกมาไม่หมดในทีเดียว?? โดยบางคนจะไหลออกมามากในวันสองสามวันแรก? และน้อยลงในวันต่อ ๆ?? ไป

??????????????? คำถาม? ?การปวดท้องขณะมีประจำเดือนเป็นอันตรายไหม? และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร?? คำตอบคือ? เนื่องจากอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือนเกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อมดลูกขับไล่เนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกและเลือดที่ค้างอยู่ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ไม่อันตราย? ความรุนแรงจะไม่เท่ากันในแต่ละคนแต่ส่วนใหญ่จะปวดไม่มาก? ถ้าปวดรุนแรงมากผิดปกติ? ทำงานไม่ได้ควรปรึกษาแพทย์? เพื่อตรวจสอบ? เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ? แอบแฝงอยู่? วิธีการช่วยผ่อนคลายอาการปวดท้องมีหลายวิธี? ได้แก่? การจับ ๆ? นวด ๆ? บริเวณท้อง? การอาบน้ำอุ่น? หรือดื่มอะไรร้อน ๆ? การออกไปเดินเล่น? หรือหันเหความสนใจไปสู่สิ่งอื่น ๆ? สุดท้ายการกินยาแก้ปวดพาราเซตามอลก็สามารถช่วยได้

??????????????? การมีประจำเดือนครั้งแรกของเด็กสาว? บางทีอาจทำให้ความรู้สึกภูมิใจ? แต่บางทีก็อาจทำให้รู้สึกอับอายได้ดังตัวอย่างต่อไปนี้

??????????????? ?เมื่อหนูมีประจำเดือนครั้งแรกหนูร้องไห้ตกใจมาก แม่ไปโพทนากับพี่ชาย คุณพ่อ และเพื่อนบ้านหมดเลย แม้กระทั่งเดี๋ยวนี้หนูยังรู้สึกอับอายทุครั้งที่หนูมีประจำเดือน?

??????????????? ?ที่บ้านของหนู วันนี้ได้จัดอาหารค่ำเป็นพิเศษ เพื่อเลี้ยงฉลองเนื่องในวันแรกที่หนูเริ่มมีประจำเดือน หนูรู้สึกอบอุ่นและภูมิใจที่จะได้เป็นสาว และทุกคนในบ้านก็รับรู้ถึงสิ่งนั้นและแสดงการต้อนรับอย่างอบอุ่นกับความเป็นสาวของหนู?

??????????????? ในช่วงเดือนแรก ๆ? หลังจากมีประจำเดือน? ร่างกายจะใช้เวลาหลายปีในการปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง? จนกระทั่งเกิดเป็นวงจรสม่ำเสมอ? จนเรารู้สึกคุ้นเคยกับมันโดยไม่รู้ตัว? ในปีแรกรอบเดือนอาจขาดหายไปบางเดือน? หรือมาผิดปกติเดือนละสองครั้ง? แต่เมื่อวงจรเริ่มเข้าที่เป็นปกติ? รอบเดือนจะมาสม่ำเสมอ? ราวทุก? 28? วัน? แต่เป็นเพียงการประมาณคร่าว ๆ? ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นเช่นนั้น? วิธีที่ดีวิธีหนึ่งของการสังเกตรอบเดือนคือ? การทำเครื่องหมายลงบนปฏิทินในวันที่มีประจำเดือนมาในครั้งหนึ่ง ๆ? จนกระทั่งถึงวันที่มีประจำเดือนครั้งต่อไป? การทำเช่นนี้จะทำให้รู้ว่ารอบเดือนของคุณนั้นกินเวลากี่วัน? ถ้าประจำเดือนของคุณไม่เคยมาเป็นปกติเลย? ควรรับการปรึกษาจากสูตินรีแพทย์

??????????????? ?ผ้าอนามัย? ปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นที่ใช้ในระหว่างมีประจำเดือน ผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยมีหลายชนิดให้เลือก จนบางครั้งทำให้รู้สึกลำบากใจในการเลือก มารู้จักชนิดของผ้าอนามัยกันก่อน

  1. ผ้าอนามัยแบบแผ่น? จะมีชนิดที่มีสายคาด? และชนิดที่มีแถบกาวเหนียวใช้ติดกับกางเกงในได้เลย
  2. ผ้าอนามัยแบบสอด? จะมีลักษณะเป็นสำลีอัดแผ่นเหมือนไส้กรอก? ปลายข้างหนึ่งของผ้าอนามัยจะมีเชือกผูกติดอยู่? วิธีใช้สอดผ้าอนามัยด้านตรงข้ามกับเชือกไปในช่องคลอด? โดยค่อย ๆ? คันเข้าไปจนหมดแท่ง? เหลือปลายเชือกห้อยยาวออกมาอยู่ที่ปากช่องคลอด? เมื่อต้องการเปลี่ยนอันใหม่ก็ดึงเชือกค่อย ๆ? ช้า ๆ? ผ้าอนามัยก็จะหลุดออกมา

การเลือกผ้าอนามัยไม่ว่าจะเป็นแบบแผ่นหรือแบบสอด? แนะนำให้เริ่มใช้ขนาดเล็กก่อน? เนื่องจากเมื่อเริ่มใช่ใหม่ ๆ? คุณอาจรู้สึกไม่มั่นใจ? เกรงว่าจะปรากฏร่องรอยออกมาและเห็นออกมาภายนอกและอาจรู้สึกเทอะทะ? รำคาญ? จากนั้นจึงปรับขนาดตามความเหมาะสมกับร่างกายเรา? สำหรับผ้าอนามัยแบบสอด? มักมีปัญหาในการสอดใส่? เนื่องจากความไม่คุ่นเคย? กับปากช่องคลอด? ซึ่งเป็นช่องที่จะใส่ผ้าอนามัยแบบสอดเข้าไป? แม้จะอ่านคำแนะนำและวิธีใช้จากข้างกล่อง? นอกจากนี้? บางคนยังกลัวว่า? ผ้าอนามัยแบบสอดจะหลุดเข้าไปในมดลูก? ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้? เพราะปากมดลูกนั้นเล็กเกินกว่าผ้าอนามัยจะผ่านเข้าไปได้? ความนิยมของผ้าอนามัยแบบสอดจึงน้อยกว่า? ?อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ผ้าอนามัยชนิดไหนขึ้นอยู่กับความสะดวกใจของผู้ใช้แต่ละคนนั่นเอง?

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

 

ยาฝังคุมกำเนิด

ยาฝังคุมกำเนิด

 

? ? ? ? ? ?ยาฝังคุมกำเนิด ใช้สำหรับผู้ที่ต้องการคุมกำเนิดนาน ยาฝังที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ ชนิด 6 แท่ง คุมกำเนิดได้ 5 ปี และชนิด 1 แท่งคุมกำเนิดได้ 3 ปี? ยาฝังคุมกำเนิดจะเป็นแท่งซิลิโคนเล็กๆ ขนาดของยาฝังประมาณหัวโลหะของปลายปากกา ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร การใส่ต้องเริ่มหลังประจำเดือนเหมือนวิธีอื่น การใส่ทำโดยแพทย์เจาะใส่แท่งยาฝังคุมกำเนิดไว้ที่ต้นแขนด้านในใต้ผิวหนังโดยผู้ที่ใส่ยาฝังคุมกำเนิดสามารถคลำตรวจสอบแท่งยาฝังคุมกำเนิดได้? เช่นกันเมื่อครบตามกำหนดการคุมกำเนิด ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อเจาะและนำแท่งยาฝังคุมกำเนิดออก โดยสามารถจะใส่ยาฝังคุมกำเนิดต่อได้ อาการข้างเคียงที่อาจพบได้แก่ ประจำเดือนกะปริบกะปรอยในบางราย หลังหยุดการคุมกำเนิดวิธีนี้โอกาสในการตั้งครรภ์จะกลับมาเป็นปกติ

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

ยาฉีดคุมกำเนิด

ยาฉีดคุมกำเนิด

? ? ? ? ? ??ยาฉีดคุมกำเนิด ใช้สำหรับผู้ที่ต้องคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน ยาฉีดคุมกำเนิด 1 เข็ม สามารถคุมกำเนิดได้ 12 สัปดาห์หรือประมาณ 3 เดือน การเริ่มยาฉีดเริ่มภายใน 5 วันนับจากวันแรกของการเริ่มต้นมีประจำเดือนในรอบปกติ วิธีฉีดยาจะฉีดยาเข้าสะโพก? หลังการฉีดยา? อาจพบมีประจำเดือนกะปริบกะปรอยในช่วงเดือนแรก ๆ? แต่หลังจาก? 6? เดือนแล้วส่วนใหญ่มักจะไม่มีประจำเดือน? เนื่องจากการที่ยาฉีดคุมกำเนิดออกฤทธิ์นาน? ดังนั้นหลังจากหยุดยาแล้วหากต้องการมีบุตร? อาจใช้เวลานาน? 6? เดือน? ถึง? 1? ปี? จึงจะเห็นว่ายาฉีดคุมกำเนิดอาจเหมาะสมสำหรับผู้ที่มีบุตรแล้วและต้องการคุมกำเนิดเป็นระยะเวลายาวนานมากกว่า อาการข้างเคียงที่อาจพบร่วมได้แก่ น้ำหนักเพิ่ม 1-2 กิโลกรัม เป็นสิวหรือฝ้าเพิ่มขึ้นในบางราย

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด

การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด

? ? ? ? ? หลังจากคุณแม่เข้าสู่ระยะเบ่งคลอดแล้ว ในกรณีที่มีความผิดปกติของท่าของทารก ทารกอยู่ในภาวะคับขัน ความผิดปกติของแรงเบ่งของแม่หรือแรงหดรัดตัวของมดลูก การคลอดอาจจำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอด โดยคุณหมอจะพิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องมือช่วยคลอดหรือไม่ร่วมกับปรึกษาคุณแม่และชี้แจงขั้นตอนการช่วยคลอดและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

?เครื่องมือที่ใช้ช่วยคลอดมี 2 ชนิดคือ

  1. คีมช่วยคลอด
  2. เครื่องดูดสุญญากาศ

เครื่องมือทั้งสองชนิดนี้ใช้ในกรณีที่คุณแม่ไม่มีแรงเบ่งหรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ไม่สามารถออกแรงเบ่งคลอดได้ เช่น ความดันโลหิตสูง? โรคหัวใจ เป็นต้น? หรือในกรณีที่ทารกอยู่ในภาวะคับขันจำเป็นต้องรีบให้คลอดในกรณีที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่แล้วและทารกลงมาอยู่ต่ำใกล้บริเวณปากช่องคลอด? การเลือกใช้เครื่องมือช่วยคลอดแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับ? ท่าของทารก? ความชำนาญของผู้ทำคลอด? และความเร่งด่วนที่จำเป็นต้องรีบทำคลอด

? ? ? ? ? การช่วยคลอดโดยใช้คีม? ก่อนที่จะช่วยคลอด แพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณอุ้งเชิงกราน แล้วสอดคีมเข้าไปด้านข้างของศีรษะทารกทีละข้าง? จากนั้นจึงทำการดึงอย่างนุ่มนวลผ่านช่องคลอด? คุณแม่อาจช่วยการคลอดได้โดยเบ่ง? เมื่อศีรษะเด็กเคลื่อนลงมาต่ำจึงทำการตัดฝีเย็บ? แล้วทำคลอดส่วนศีรษะ คลายคีมออก ทำคลอดส่วนลำตัวและแขนขาตามปกติ? ทารกที่คลอดโดยวิธีนี้ มักพบรอยแดงบริเวณคีมคีบ? ซึ่งจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน

? ? ? ? ? การช่วยคลอดโดยเครื่องสุญญากาศ? เช่นเดียวกันจะต้องทำการฉีดยาบริเวณอุ้งเชิงกราน? แล้วใส่โลหะกลมหรือยางซิลิโคนรูปร่างคล้ายถ้วยเล็กๆ เข้าไปดูดกับหนังศีรษะทารกจากนั้นดูดอากาศในถ้วยออกเพื่อให้เป็นสุญญากาศแล้วดึงให้ทารกเคลื่อนต่ำลงมาพร้อมกับแรงเบ่งของคุณแม่? เมื่อศีรษะลงมาต่ำ ตัดฝีเย็บ ทำคลอดส่วนศีรษะปิดเครื่องดูดสุญญากาศ ถ้วยจะหลุดออก แล้วทำคลอดส่วนที่เหลือของทารกตามปกติ? ทารกที่คลอดโดยวิธีนี้? มักมีศีรษะนูนเป็นลักษณะคล้ายจุก ซึ่งเกิดจากแรงดูดของเครื่องดูดสุญญากาศ ซึ่งปกติจะหายไปใน 2-3 วัน

การคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด? หากไม่พบภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่และทารก คุณแม่สามารถจะกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ในระยะเดียวกันกับการคลอดปกติ

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

รวมภาพงานวันแม่แห่งชาติและสัปดาห์นมแม่

รวมภาพงานวันแม่แห่งชาติและสัปดาห์นมแม่ รพ.ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ มศว.องครักษ์

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)